Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sarakadee Lite
•
ติดตาม
1 เม.ย. 2021 เวลา 01:00 • ศิลปะ & ออกแบบ
ศิลปะคืออะไร ศิลปะเพื่อใคร ศิลปะรับใช้ใคร
นับตั้งแต่มนุษย์ได้รู้จักคำว่า “ศิลปะ” คำถามข้างต้นก็ถูกตั้งขึ้น ถกเถียง และโต้แย้งกันมาอย่างดุเดือดในทุกยุคทุกสมัย ผิดไหมหากศิลปะจะเลือกข้างนายทุนและพาณิชย์เพื่อการอยู่รอดของศิลปิน อย่างไหนกันแน่ที่เรียกว่าศิลปะเพื่อประชาชน ศิลปะควรเกิดมาเพื่อศิลปะ หรือศิลปะเกิดมาเพื่อชีวิต หรือเพื่อสนองบางสิ่งบางอย่างในจิตใต้สำนึกของศิลปิน...อะไรคือศิลปะที่แท้จริงกันแน่
Sarakadee Lite ชวนไปค้นหาความหมายคำว่าศิลปะจากทั้งศิลปิน นักเขียน นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักวิทยาศาสตร์ ผสมผสานบริบทในแต่ละยุคสมัย และแม้ว่าแง่มุมเหล่านี้จะไม่ได้รับการยืนยันว่าถูกหรือผิด แต่ก็เป็นมิติที่สะท้อนมุมมองทางศิลปะได้อย่างน่าสนใจ
ศิลป์ พีระศรี หรือ อาจารย์ศิลป์ หรือ อาจารย์ฝรั่ง ของชาวศิลปากรมักจะสอนลูกศิษย์ให้ขยันขันแข็งด้วยประโยค “นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร” รวมทั้งยังมักใช้สุภาษิตละติน “Ars longa, vita brevis” หรือ “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” มาสอนลูกศิษย์จนกลายเป็นคำขวัญของมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อให้ตระหนักว่าชีวิตเราแสนสั้นแต่การศึกษาหาความรู้ไม่มีวันจบ อาจารย์ศิลป์ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพัฒนาวงการศิลปะของไทยโดยเฉพาะศิลปะสมัยใหม่ อ่านเรื่องราวประวัติชีวิต และแนวคิดการทำงานศิลปะของอาจารย์ศิลป์เพิ่มเติม
https://bit.ly/3sBqj1G
ครั้งหนึ่งศิลปะคือโลกของศิลปินเพศชาย กระทั่งปรากฏชื่อของ จอร์เจีย โอคีฟ (Georgia O'Keeffe) พร้อมภาพดอกไม้ หัวกะโหลกสัตว์ ทะเลทราย ที่มีลายเส้นและสีสันเฉพาะก็ทำให้มุมมองของสังคมที่มีต่อศิลปินผู้หญิงเปลี่ยนไป
โอคีฟ มีความชัดเจนว่าเธออยากจะเป็นศิลปินตั้งแต่อายุ 13 ทว่าเมื่อเธอได้เรียนในโรงเรียนศิลปะอย่างที่ตั้งใจ เธอกลับไม่ชอบการเข้าห้องเรียนศิลปะเป็นที่สุด เธออายที่จะต้องวาดรูปนู้ดในวิชากายวิภาค แต่เธอกลับชอบท้องทุ่งและภูเขาใกล้โรงเรียนของเธอมากกว่า
สำหรับเธอแล้วดอกไม้คือวัตถุแห่งความงามที่ไม่ควรมองข้าม แต่ก็มีนักวิจารณ์จำนวนไม่น้อยที่บอกว่าภาพดอกไม้ของเธอเต็มไปด้วยเรื่องเพศและสัญลักษณ์ทางเพศ ทว่าโอคีฟเพียงโต้ตอบไปว่า พวกเขาเหล่านั้นล้วนหมกมุ่นในเรื่องตัวเองมากกว่า
ฟรีดริช นีตซ์เช (Friedrich Nietzsche) คือนักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้โด่งดังในศตวรรษที่ 19 เจ้าของวลีอมตะที่แหวกขนบความเชื่อของสังคม “God is dead” ทั้งยังเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดให้แก่นักคิด นักปรัชญารุ่นหลังมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในความคิดแบบ อัตถิภาวนิยม (existentialism)
การตีความหมายของศิลปะดังกล่าวคือส่วนหนึ่งของหนังสือ “ศิลปเพื่อชีวิต” ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ เขียนเล่มนี้ในนามปากกา “ทีปกร” ทั้งนี้ “ศิลปเพื่อชีวิต” เป็นงานเขียนที่มีเจตนา “ฟอกความคิดเก่า” เกี่ยวกับการมองศิลปะโดยอธิบายไว้ถึงการค้นคว้าครอบคลุมตั้งแต่ศิลปะคืออะไร ศิลปะเพื่อชีวิตในนิยามของจิตรคืออะไร และได้ปูไปถึงงานนำเสนอเล่มสำคัญของจิตรอย่าง “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน”
อ่านเพิ่มเติม 5 หนังสือ แทนเสียงก้องของสามัญชนในนาม จิตร ภูมิศักดิ์
https://bit.ly/3czzgmm
ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) นักเขียนชาวรัสเซีย เจ้าของผลงาน What is art? ฉบับแปลภาษาไทยชื่อ "ศิลปะคืออะไร" (แปลโดย สิทธิชัย แสงกระจ่าง) รวมทั้งผลงานสร้างชื่อ สงครามและสันติภาพ (War and Peace) และ อันนา คาเรนินา (Anna Karenina) ซึ่งถือเป็นวรรณกรรมอมตะที่ยิ่งใหญ่ของโลก
เฟื้อ หริพิทักษ์ (พ.ศ.2453-2536) เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกศิลปะแนวอิมเพรสชันนิสต์ในเมืองไทยและอุทิศตนในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะงานอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก ที่วัดระฆังโฆษิตารามที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นงานบูรณะที่มีรูปแบบของการอนุรักษ์ศิลปกรรมที่สมบูรณ์ที่สุด
ตั้งแต่วัยหนุ่มอาจารย์เฟื้อมีวิญญาณขบถและแนวทางศิลปะของตัวเองชัดเจน เขาเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างถึงปีที่ 5 แต่ไม่จบเพราะไม่ยอมวาดรูปตามหลักสูตรของโรงเรียน อาจารย์เฟื้อเคยกล่าวไว้ว่า
“ผมก็ไม่ได้วิเศษอะไรหรอก ผมแหกคอกออกมา อารมณ์ตอนนั้นมันรุนแรง เพาะช่างเขามีแนวของเขา มีแบบแผนชัดเจน ตามแนวการสอนของโรงเรียนที่ต้องการผลิตนักเรียนให้เป็นครูสอนศิลปะตามโรงเรียน แต่ผมไม่ยอม ผมอยากได้ศิลปะจริงๆ”
ศิลปินที่ทำให้ทั้งโลกในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ต้องลุกขึ้นมาถกเถียงความหมายของศิลปะกันยกใหญ่ได้แก่ มาร์เชล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) กับผลงาน โถส้วม หรือ โถฉี่ หรือ Fountain (1917) อันโด่งดัง
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เป็นผู้ยกประเด็นกามารมณ์ของศิลปินกับการสร้างสรรค์งานศิลปะขึ้นมา เขากล่าวว่า กลไกของงานเขียนและการสร้างสรรค์เป็นกลไกเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างจินตนาการในผู้เป็นโรคฮีสทีเรีย พร้อมกันนี้ฟรอยด์ยังตั้งข้อสังเกตว่า ศิลปินจะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการผิดหวังอย่างรุนแรงเพื่อให้ได้วัตถุดิบมาใช้ในการสร้างสรรค์หรือระบายออก
อริสโตเติล นักปรัชญาชาวกรีกผู้มีชีวิตอยู่ก่อนคริสต์ศักราช 384-322 ได้เคยค้นหาความหมายของศิลปะด้วยเช่นกัน
เฮเกล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel) ได้เสนอทัศนะต่อศิลปะว่า
“...ศิลปะ ศาสนา และปรัชญา เป็นปรากฏการณ์ขั้นสูงสุดแห่งความสมบูรณ์ของจิตร ซึ่งปรากฏตัวออกเป็นความงามทางสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสบางส่วน ความงามที่ปรากฏในศิลปะจะเป็นสิ่งที่มีจริงสูงสุด มิใช่สิ่งละม้ายคล้ายคลึง ศิลปะคือ การที่จิตเอาชนะวัตถุ ความคิดแทงทะลุออกมาเป็นศิลปะ...”
2 บันทึก
3
5
1
2
3
5
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย