Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวจากของเก็บ
•
ติดตาม
1 เม.ย. 2021 เวลา 05:23 • ประวัติศาสตร์
วันนี้เมื่อ 116 ปีที่แล้ว ประกาศพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124 ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท
พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ การเลิกทาส
วันที่ 21 สิงหาคม พุทธศักราช 2417 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ "พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย" แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ ให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุ 20 ปี ครั้นอายุได้ 21 ปี ทาสผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ พระราชบัญญัตินี้มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2411 เป็นต้นไป ทั้งห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปีเป็นทาสอีก
ต่อมา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2448 โปรดเกล้าฯ ให้ออก "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124" ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พุทธศักราช 2448
นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว ทั้งยังเตรียมการให้ผู้ที่พ้นจากความเป็นทาสได้มีความรู้ และมีเครื่องมือทำมาหากินเลี้ยงตัวเองได้อีกด้วย
การเลิกทาสในครั้งนี้ พระองค์ทรงดำเนินการด้วยความสุขุมคัมภีรภาพนับแต่ปีพุทธศักราช 2417 จนถึงพุทธศักราช 2448 รวมเวลายาวนานกว่า 30 ปี จึงสำเร็จเสร็จสิ้นโดยไม่มีความขัดแย้งรุนแรงดังที่เกิดขึ้นในบางประเทศ
เพื่อเป็นที่ระลึกครบ 100 ปี การเลิกทาสในประเทศไทย จึงได้จัดพิมพ์ดวงตราไปรษณียากร ชุด 100 ปี แห่งการเลิกทาสในประเทศไทย
วันแรกจำหน่าย 23 ตุลาคม 2548
พิมพ์ที่ Thai British Security Printing Public Company Limited, Thailand
แสตมป์ชุด 100 ปี แห่งการเลิกทาสในประเทศไทย
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
3 บาท 1,000,000 ดวง 6 บาท 2 บาท
เกร็ดความรู้
ทาส หมายถึง บุคคลซึ่งถูกนับสิทธิเสมือนสิ่งของของผู้อื่น ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิต และมีหน้าที่รับใช้ผู้อื่นโดยมิได้รับการตอบแทนจากนายทาส หากไม่เชื่อฟังคำสั่ง อาจถูกลงโทษได้ตามแต่นายทาสจะกำหนด ยกเว้นเป็นการกระทำอันทำให้ถึงแก่ความตาย
ทาส มี 7 ประเภท ได้แก่
ทาสสินไถ่
เป็นทาสที่มีมากที่สุดในบรรดาทาสทั้งหมด โดยเงื่อนไขของการเป็นทาสชนิดนี้ คือ การขายตัวเป็นทาส เช่น พ่อแม่ขายบุตร สามีขายภรรยา ดังนั้น ทาสชนิดนี้จึงเป็นคนยากจน ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวหรือตนเองได้ จึงได้เกิดการขายทาสขึ้น โดยสามารถเปลี่ยนสถานะกลับไปเมื่อมีผู้มาไถ่ถอน
ทาสในเรือนเบี้ย
เด็กที่เกิดขึ้นระหว่างที่แม่เป็นทาสของนายทาส ทาสชนิดนี้ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้
ทาสที่ได้รับมาด้วยมรดก
ทาสที่ตกเป็นมรดกของนายทาส เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อนายทาสคนเดิมเสียชีวิตลง และได้มอบมรดกให้แก่นายทาสคนต่อไป
ทาสท่านให้
ทาสที่ได้รับมาจากผู้อื่น
ทาสที่ช่วยไว้จากทัณฑ์โทษ
ในกรณีที่บุคคลนั้น เกิดกระทำความผิดและถูกลงโทษเป็นเงินค่าปรับ แต่บุคคลนั้น ไม่มีความสามารถในการชำระค่าปรับ หากว่ามีผู้ช่วยเหลือให้สามารถชำระค่าปรับได้แล้ว ถือว่าบุคคลนั้น เป็นทาสของผู้ให้ความช่วยเหลือในการชำระค่าปรับ
ทาสที่ช่วยไว้ให้พ้นจากความอดอยาก
ในภาวะที่ไพร่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้ประกอบอาชีพได้แล้ว ไพร่อาจขายตนเองเป็นทาสเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากนายทาส
ทาสเชลย
ภายหลังจากได้รับการชนะสงคราม ผู้ชนะสงครามจะกวาดต้อนผู้คนของผู้แพ้สงครามไปยังเมืองของตน เพื่อนำผู้คนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.pattanakit.net/รวมบทความสาระน่ารู้/สกู๊ปพิเศษ-ครบรอบ-100-ปี-การเลิกทาสในไทย.html
ขอบคุณที่ติดตามครับ
บันทึก
9
2
1
9
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย