1 เม.ย. 2021 เวลา 11:30 • การตลาด
ถอดบทเรียนจากการทำธุรกิจชานม Sun Su ของ “Bearhouse” ที่ขาดทุน 17 ล้านทั้งที่ยอดขายสูงลูกค้าก็ชอบสินค้าเพราะ....?
5
ที่มา YouTube Channel  "Bearhug"
“ซารต์–ปัทมพร (Sunbeary)” และ “กานต์–อรรถกร” Youtuber ช่อง Bearhug ที่มีผู้ติดตามมากถึง 3.57 ล้านคน ประสบความสำเร็จอย่างมากกับการเปิดร้านชานมไข่มุก BEARHOUSE Fresh Boba Milk Tea ภายใต้ความหมาย “เรียบง่ายแต่แตกต่าง” (Simple but Significant) ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการวันที่ 14 มิ.ย.62 สาขาแรกอยู่สยามสแควร์ ริมถนนอังรีดูนังต์ ปัจจุบันมีทั้งหมด 8 สาขา
1
ด้วยความสำเร็จจากร้านชานมไข่มุกประกอบกับเป็นคนที่มองไกลมีวิสัยทัศน์กล้าที่จะลงมือทำ จึงได้ทำการเปิดธุรกิจเพิ่มขึ้นมาใหม่โดยทำการจำหน่ายผ่านช่องทางการขายที่มีมากที่สุดในประเทศที่ เซเว่น อิเลฟเวน ปัจจุบันมีมากกว่า 12,000 สาขา โดยที่ทั้งคู่ไม่มีประสบการณ์การขายผ่านช่องทางนี้มาก่อน ด้วยรสชาติรวมถึงคุณภาพของสินค้าทำให้ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้ยอดขายสูงเกิน 100 ล้านบาท
1
ในส่วนของข้อมูลที่มาของการขาดทุนในครั้งนี้ สามารถติดตามได้ที่
3
โดยส่วนตัวแล้ว “ยุคใหม่การตลาดของไทย” คลุกคลีอยู่กับห้างค้าปลีกและค้าส่งมามากกว่า 10 ปีในฐานะของฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งต้องขอบอกว่าฝ่ายจัดซื้อของห้างไม่ได้ทำหน้าที่เพียงซื้อสินค้าเพื่อเอามาขายเท่านั้น แต่จะต้องจัดการตั้งแต่ต้นทางในการผลิต เริ่มต้นจากการคัดเลือกสินค้า คัดเลือกผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่าย ซึ่งรวมถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบด้วย ตรวจสอบขบวนการผลิตสินค้าและมาตรฐานต่างๆ พิจารณาขบวนการการบริหาร จนไปถึงลูกค้าคนสุดท้ายที่ได้รับสินค้าไป และยังต้องทำการตลาดให้สินค้านั้นๆโดยประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฝ่าย และที่สำคัญที่สุดที่เป็นหัวใจของธุรกิจนั่นก็คือ การบริหารจัดการกำไรและที่มาของรายได้
3
ที่มา aday
นอกจากนี้ “ยุคใหม่ฯ” ก็มีโอกาสใกล้ชิดกับระบบการทำงานและวิธีคิดในการทำธุรกิจของ CP All ที่เป็นเจ้าของ 7 Eleven ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เพราะในช่วงหนึ่งได้มีโอกาสที่ไปเรียนต่อที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จึงทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบการทำงานของ 7 Eleven ด้วย ซึ่งเป็นระบบที่น่าภูมิใจที่มีการพัฒนาปรับปรุงโดยคนไทย ที่ถึงแม้ว่าจะซื้อสิทธิ์ในการเป็น Master Franchise มาก็ตามที แต่มีการต่อยอดพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างมากมาย
3
ที่มา  Event Banana
โดยพื้นฐานของความต้องการของห้างค้าปลีกหรือ Modern Trade ที่เป็นทั้งที่มีสถานที่การจัดจำหน่ายและการจำหน่ายแบบออนไลน์ ล้วนแล้วแต่มีความต้องการบนพื้นฐานเดียวกัน คือ
2
1. ความสม่ำเสมอของการส่งมอบสินค้า (Availability/Consistency) คือ การที่มีสินค้าให้ลูกค้าเมื่อต้องการในปริมาณที่เพียงพอ
1
2. คุณภาพคงที่ (Sustainable Quality) หมายถึง คุณภาพของสินค้าที่มีคุณสมบัติเหมือนที่เคยซื้อ
1
3. ราคาคุ้มค่า (Reasonable Price) หมายถึง สินค้าที่ลูกค้าซื้อไปแล้วใช้แก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา
2
4. ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (Quick Respond) ข้อนี้สำคัญมากในการทำการค้าในยุคโลกไร้พรมแดนและยุคของข้อมูลข่าวสาร ส่งมอบช้าก็มีโอกาสขายได้ช้า ส่งมอบเร็วก็ขายได้เร็วมีเงินเข้าสู่ธุรกิจเร็ว
ที่มา  Lamunee Review
เรามาลงลึกเป็นข้อๆที่จะได้เห็นว่าทำไม Bear House จึงขาดทุน ทั้งมีมีความพร้อมทั้งด้านการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
1
1. ความสม่ำเสมอของการส่งมอบสินค้า (Availability/Consistency)
เรื่องนี้คือเรื่องที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจกับห้างค้าปลีก เพราะหากขาดเรื่องนี้ไปข้ออื่นๆต่อให้ได้คะแนนเกินร้อยก็ไม่สามารถทำธุรกิจต่อได้ Bear House แม้ว่าจะมีการจัดการเตรียมการผลิตได้เป็นอย่างดีมีโรงงานผลิตที่มีมาตรฐานสูงรองรับ แต่สิ่งที่ไม่ได้เตรียมการนั่นก็คือการส่งมอบสินค้าที่สม่ำเสมอ เพราะเรื่องนี้ต้องทำการวิเคราะห์ขอมูลความต้องการของ 7 Eleven ล่วงหน้าว่าจะมีการสั่งซื้อเท่าไร รายการสินค้าอะไรบ้าง ส่งสินค้าที่ไหน จำนวนเท่าไร ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เป็นทั้งค่าใช้จ่ายทางตรงและการสนับสนุนการขาย
2
Credit:  Click&Cloud
ข้อมูลทั้งหมดมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมาทำการวางแผนการผลิต ที่ต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ แค่เพียงจัดซื้อเกินกว่าความต้องการมากก็ขาดทุนได้แล้ว ถึงแม้ว่าจะใช้วัตถุดิบร่วมกับโรงงานผลิตก็ตามที ยังไงก็ต้องมีแผนการจัดซื้อล่วงหน้าที่ชัดเจน เพราะสั่งซื้อมากอาจจะทำให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากการที่ต้นทางต้องเพิ่มกำลังการผลิตเฉพาะให้ ส่วนการจัดซื้อน้อยกว่าความต้องการยิ่งแย่ไปใหญ่ เพราะนอกจากจะทำให้ส่งมอบไม่ทันยังทำให้เสียโอกาสการขายได้อีก และที่สำคัญอาจถูกปฏิเสธ์การนำสินค้าเข้าไปขายจากฝ่ายจัดซื้อได้เพราะไม่สามารถปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข
5
เรื่องนี้ทำให้ Bear House ต้องประสบการขาดทุนอย่างชัดเจน แม้ว่าจะมียอดขายที่สูงมากและยังได้รับความนิยมจากลูกค้าก็ตาม ในส่วนของการวางแผนการผลิตจะต้องทำอย่างไรให้เกิดการหมุนเวียนสินค้าให้เร็วที่สุดให้มีสินค้าคงคลังในจำนวนที่เหมาะสมที่สุด เพื่อที่จะไม่ให้เกิดต้นทุนสูงขึ้นจากเงินทุนที่ใช้เพราะอาจจะต้องนำหาเงินทุนมาเพิ่มเพื่อมาผลิตให้ได้ตามยอดการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ถ้ามีเงินของตัวเองก็ดีไปแต่โดยส่วนมากแล้วน้อยรายมากๆที่จะใช้เงินตัวเอง ส่วนมากแล้วจะไปกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างๆ แต่หากเป็นกรณีที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงินต้องกู้มาด่วนมีโอกาสขาดทุนเต็มๆได้เลย
3
ที่มา Lazada
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการจัดการเรื่องการส่งมอบสินค้าที่ต้องผลิตแล้วส่งให้เร็วที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงจากอายุของสินค้า การวางแผนกับโรงงานผลิตที่ไม่ได้ผลิตให้ Bear House รายเดียว จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะต้องคำนึงถึงกำลังการผลิตของโรงงานด้วย ทั้งต้องผลิตแล้วรีบส่งมอบและการผลิตที่ให้มีสินค้าค้างคลังน้อยที่สุด ฝ่ายวางแผนการจัดซื้อและวางแผนการผลิตจึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องทำหน้าที่นี้อย่างมีประสิทธิภาพ
2
หากผู้ประกอบการรายใดพบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องนี้ การจัดหาช่องทางการจำหน่ายช่องทางอื่นเป็นเรื่องที่ต้องรีบเร่งทำอย่างด่วนๆ กรณีนี้ Bear House ได้เปลี่ยนมาจัดจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ ทำให้สามารถควบคุมปัจจัยข้างต้นได้ดีขึ้น ซึ่งต้องแลกมากับยอดขายที่ลดลงอย่างมาก แต่เราต้องมาประเมินศักยภาพความพร้อมของตนเองก่อนว่าจะเหมาะกับช่องทางนั้นหรือไม่ เรื่องนี้เชื่อว่าทางฝ่ายจัดซื้อของ 7 Eleven คงได้ทำการแจ้งให้ Bear House ทราบก่อนแล้ว เพียงแต่เป็นการมองในแง่โอกาสทางการขายเลยทำให้ละเลยเรื่องนี้ไป จึงทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา
3
2. คุณภาพคงที่ (Sustainable Quality)
เรื่องนี้ต้องบอกว่า Bear House ดำเนินการอย่างถูกต้อง ที่ไม่ลดคุณภาพแล้วหาสารทดแทนเพื่อทำให้ต้นทุนลดลง แต่เรื่องนี้ก็มีส่วนทำให้ขาดทุนได้เช่นกัน เพราะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ทางออกของเรื่องนี้คือการเข้ามาลงลึกในต้นทุนที่เกิดขึ้น ว่าจะสามารถทำได้อย่างไรได้บ้าง
1
เรื่องนี้มีกรณีศึกษาจากวิธีคิดของตะวันตกกับญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ที่ทางตะวันตกบอกว่าของดีราคาถูกไม่มีจริง แต่ญี่ปุ่นบอกว่าของดีราคาถูกต้องมีสิ สุดท้ายแล้วญี่ปุ่นเป็นฝ่ายถูก สามารถจัดหารถยนต์ที่มีคุณภาพดีแต่ราคาถูกกว่าตะวันตกได้ โดยการใช้วิธี Just In Time ในการลดต้นทุนการผลิตได้
Credit:  Sustainable Facilities Management Services (SFMS)
3. ราคาคุ้มค่า (Reasonable Price)
1
ไม่ได้หมายถึงราคาถูกหรือแพง เป็นราคาที่ลูกค้าเป้าหมายจับต้องได้ สินค้าเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า ราคาที่ 35 บาทก็ถือว่าเป็นราคาต่อหน่วยที่อยู่ในระดับสูงของสินค้ากลุ่มนี้ เพราะเรื่องนี้ต้องคำนึงถึงกำลังการซื้อของลูกค้า 7 Eleven ต่อใบเสร็จ ว่าส่วนมากแล้วลูกค้าซื้อเป็นจำนวนเงินเท่าไรต่อครั้งและมีกี่รายการ กลุ่มรายการสินค้าที่ใกล้เคียงกันมีการซื้อเท่าไรบ้าง และยังมีข้อมูลเชิงลึกในเรื่องนี้อีกมากที่ต้องนำมาพิจารณา
โดยส่วนมากแล้วห้างจะให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตรายนั้น ที่สำคัญต้องมีสัญญาเรื่องการไม่นำข้อมูลไปเปิดเผยและมีค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งต้องนำเข้าไปรวมกับต้นทุนสินค้า
Credit:  Shutterstock
4. ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (Quick Respond)
ข้อนี้สืบเนื่องมาจากข้อที่ 1 เพราะการตอบสนองส่วนมากแล้วก็จะเป็นเรื่องของการส่งสินค้าตามความต้องการให้ได้ตรงตามเวลานั่นเอง แต่ก็มีเรื่องอื่นๆที่สำคัญไม่แพ้กันอาทิ การตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของลูกค้า การดำเนินการพัฒนาสินค้าร่วมกันเพื่อเพิ่มยอดขาย หรือการร่วมกันวางแผนการทำรายการส่งเสริมการขายต่างๆร่วมกับ 7 Eleven เป็นต้น ซึ่ง Bear House จะต้องมีคนที่พร้อมสำหรับเรื่องนี้และที่สำคัญคือต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจได้ด้วย เชื่อการขาดทุนในครั้งนี้เรื่องนี้ก็น่าจะมีผลกระทบไม่น้อยเลย
Credit:  NationalTenders
ทั้งหมดนี่ก็คือสาเหตุการขาดทุนของชานม Sun Su ของ Bear House ในมุมของช่องทางการจัดจำหน่าย แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องขอชื่นชมทั้งคู่ที่ออกมาแบ่งปันเรื่องราวในครั้งนี้ผ่านช่อง YouTube “Bearhug” ที่ทำให้อีกหลายธุรกิจต้องกลับมาประเมินความพร้อมของตนเองก่อนที่จะทำการค้ากับ 7 Eleven และ Modern Trade รายต่างๆ
อีกอย่างทำให้ประทับใจคือวิธีคิดของทั้งคู่ที่ไม่ได้เอาอุปสรรคครั้งนี้มาหยุดยั้งตนเอง นำเรื่องที่เกิดขึ้นมาเรียนรู้แล้วก้าวไปต่อด้วยรอยยิ้มของนักสู้
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
1
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สำหรับท่านที่สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
Facebook Page: โรคเบาหวานเป็นได้ก็หายได้
1
สนใจตัดต่อคลิปวีดีโอ
สามารถติดต่อได้ที่:
Inbox หรือที่ Email:
โฆษณา