1 เม.ย. 2021 เวลา 14:20 • หนังสือ
วันนี้ผมจะมารีวิวและสรุปหนังสือที่มีชื่อว่า ‘พลังพิเศษของคนธรรมดา’
เล่มนี้เขียนโดยคุณ 'Elizabeth Gilbert'
นักเขียน Bestseller หลายเล่มเช่นเรื่อง Eat Pray Love
แปลโดยคุณ อาสยา ฐกัดกุล
เล่มนี้เป็นหนังสือจิตวิทยาที่ให้ความรู้สึกแตกต่างออกไปครับ
เพราะจะเป็นการเล่าเรื่องที่มาที่ไปของคุณ Elizabeth
และที่มาของหนังสือเล่มนี้
เป็นการเล่าเรื่องของเธอด้วยนั่นเองครับ
หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และความกลัวครับ
โดยผมจะมาสรุปสิ่งที่น่าสนใจในแต่ละรูปภาพครับ
4
โดยสรุปแล้วหนังสือเล่มนี้
ผมว่ามันคือการได้มองอะไรหลายๆอย่างในมุมที่แตกต่างออกไป
ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลงาน ความกลัวเป็นต้น
ที่ผมชอบมาก ๆ เลยของเล่มนี้ คือ
การที่เราสร้างสรรค์ผลงานอะไรก็ตาม
ให้เราคิดว่าทำเพราะเราอยากทำ หรือทำเพื่อให้เราสบายใจ
มีความสุขกับมันก็พอ
แล้วทุกอย่างจะดีเอง
เรื่องนี้ตรงกับผมมากครับ
เพราะก่อนที่ผมจะลงสรุปแต่ละเล่มหรือโพสแต่โพสไป
ก็มีความกลัวเหมือนกันครับ ทั้งจากว่า คนจะชอบหรือเปล่า แบบนี้จะดีไหม ฯลฯ
จากการอ่านเล่มนี้ทำให้ผมคิดว่า
ให้สรุปเพราะอยากสรุป(ตามชื่อเพจเลยครับ 555)
สรุปเพราะอยากทำให้ผมสบายใจ มีเนื้อหาที่ย่อยแล้วเก็บไว้อ่าน
แล้วนำสิ่งนั้นแบ่งปันให้กับคนอื่นครับ
แบบนี้นอกจากผมจะไม่กดดันในการทำสรุปมากแล้ว
ผมยังทำให้การที่กล้าจะสรุปสิ่งต่างๆออกมาจากหนังสือมีมากขึ้นด้วยครับ
11
ผมคิดว่า เล่มนี้ไม่ได้จำกัดแค่ว่าเราจะต้องไปทำงานเขียนหรืองานศิลปะครับ
ทุก ๆอย่างที่เราทำก็สามารถช่วยได้
เพียงเราทำสิ่งนั้นให้มีความสุข อยู่กับความกลัวให้ถูกวิธี
แล้วทำสิ่งนั้นไปเรื่อย ๆ จะเกิดสิ่งพิเศษหรือชั่วขณะมหัศจรรย์แน่นอนครับ 😄
3
เป็นหนังสือดี ๆ อีกเล่มหนึ่งที่แนะนำเลยครับ 👍
1 ความกล้า ในที่นี้เหมือนจะบอกให้เรากล้าที่สร้างสรรค์ผลงานออกมา
แต่ไม่ได้บอกให้เอาชนะความกลัว เพราะความกลัวมีทั้งแบบจำเป็นละไม่จำเป็น
ความกลัวที่จำเป็น เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีครับ
เพราะถ้าเราไม่มีเราคงจะไม่อยู่รอดตอนนี้แล้ว
เช่น เดินข้ามถนนเพราะไม่ต้องกลัวว่ารถชน
เอามือจับกระทะเพราะไม่กลัวร้อน เป็นต้น
ส่วนความกลัวที่ไม่จำเป็น เช่น
ความกลัวจากการกลัวว่าทำแบบนี้แล้วคนจะชอบหรือไม่
กลัวว่าจะไม่สำเร็จ เป็นต้น
แต่ถ้าอยากปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ออกมายังไงก็มีความกลัวออกมาด้วยครับ
คุณ Elizabeth บอกวิธีไว้ว่า
ให้คิดว่าเหมือนเราขับรถไปเที่ยวกัน 3 คน
มีเรากับความคิดสร้างสรรค์นั่งหน้า ให้ความกลัวนั่งหลัง
บอกความกลัวว่าทำได้ดีมาก ๆ ที่คอยบอกไม่ให้ทำสิ่งที่เป็นอันตรายกับชีวิต
แต่ตอนนี้เรากับความคิดสร้างสรรค์มีหน้าที่สำคัญในชีวิตเหมือนกัน
ให้ความกลัวทำตัวตามสบายที่เบาะหลังได้เลย พื้นที่กว้างๆ
ส่วนการตัดสินใจจะขึ้นกับเราและความคิดสร้างสรรค์ทั้งหมด
12
เป็นวิธีที่ ผมอ่านแล้วก็เอ้ มันทำแบบนี้ได้ด้วย 5555
เป็นการบอกวิธีที่จะให้เราอยู่กับความกลัว
ที่น่าสนใจมาก ๆครับ
3
บทที่ 2 คือ มนตรา
ในที่นี้มันคือเวทมนตร์ที่เหมือนกับชื่อหนังสือนี้ครับ
และเป็นส่วนหนึ่งของชื่อหนังสือด้วย
พลังพิเศษของคนธรรมดา
บทนี้จะมีการเปรียบเทียบในแง่มุมที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนนั่นคือ
ไอเดียนั้นจับต้องไม่ได้ แต่มีความรู้สึกนึกคิด และมีจุดมุ่งหมายของตนเอง
ไอเดียต้องการเพียงอย่างเดียว คือ การปรากฏตัว
และจะปรากฏตัวได้ ผ่านการร่วมมือกับเรานั่นเอง
ตัวอย่างจากคุณ Elizabeth เลยคือ
เธอเคยจะเขียนนิยายขึ้นมาจากที่ได้ยินจากแฟนของเธอเกี่ยวกับป่าอเมซอน
เธอก็เขียนๆๆไปเรื่อยๆ จนไปให้กับสำนักพิมพ์อ่าน
และทำสัญญากัน แต่ด้วยเหตุการณ์ในชีวิตมากมาย
ทำให้เธอไม่ได้เขียนต่อ นิยายเรื่องนี้จึงถูกพับเก็บไป
แต่เรื่องราวความมหัศจรรย์ของเวทมนตร์ของเธอ
เริ่มจากการไปที่งานเลี้ยงแล้วไปเจอนักเขียนตนหนึ่งชื่อ ‘แอนน์ แพต’
เธอทำความรู้จักกันและติดต่อกันผ่านจดหมาย
เนื่องจากอยู่คนละรัฐแถมไม่ชอบเล่นโซเชียลมีเดียทั้งคู่
เมื่อกลับมาเจอกันอีกครั้ง
ก็พูดคุยตามคนรู้จักเหมือนเดิมและ
ได้คุยกันเกี่ยวกับงานเขียนใหม่ของแอนน์ แพตเชตต์
ความมหัศจรรย์มันเกิดตรงนี้ครับ
เรื่องราวหรือพล็อตของเรื่องในนิยายแทบจะเหมือนกันเป๊ะเลยครับ ทั้งเนื้อเรื่อง ตัวละครต่าง ๆ
ต่างกันแค่เวลาที่เกิด คนละสมัยกันเท่านั้น
1
คุณ Elizabeth ได้อธิบายไว้ว่า
ที่มันเป็นแบบนั้น เพราะตัวไอเดียเอง
พร้อมจะมาหาเราและพร้อมจะไปจากเราเสมอ
เมื่อเธอไม่เขียนเรื่องนั้นแล้ว ไอเดียจะตามหาเพื่อนร่วมงานคนใหม่ที่จะสร้างสรรค์ผลงานออกมา
ดังนั้นเรื่องนี้ได้บทเรียนว่า
ไอเดียอยากปรากฏตัวตลอดเวลา
ถ้าเราเจอไอเดียนั้นแล้วไม่ทำต่อ ไม่ร่วมมือกับไอเดีย
ไอเดียก็พร้อมจะไปหาเพื่อนร่วมงานคนอื่นได้เหมือนกัน
2
เตรียมพร้อมตลอดเวลาเพื่อที่จะรอไอเดียปรากฏตัวครับ
4
บทที่ 3 การขออนุญาต
ในบทนี้จะบอกว่า
มนุษย์เราเป็นพวกที่ชอบสร้างสรรค์อยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาอนุญาตเรา
เพื่อจะใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์
และมีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าคิดของคุณ Elizabeth
1 เธอบอกไว้ว่า ‘เราไม่ได้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อใคร
แต่เพื่อตัวเราเองเท่านั้น’
เพื่อความสุข เพื่อความสบายใจของเราเอง
ไม่ว่ามันจะคือ เรื่องอะไร
ทำเพราะว่ารักในการทำสิ่งนั้น ๆ ก็พอ
2
2 อย่าไปกังวลเรื่องคำจำกัดความของผลงานที่ดีและการตัดสินของคนอื่น
แค่ทำแล้วเผยแพร่มันออกไปก็พอ ยังไงคนก็วิจารณ์เราอยู่ดี
แม้คนจะวิจารณ์หรือตัดสินว่าเราเป็นอย่างไร
สุดท้ายแล้วเราก็แค่บอว่า ‘ฉันรักผลงานของฉัน’
และทำสิ่งที่เรารักไปเรื่อย ๆก็พอ
6
บทที่ 4 ไม่ลดละ
บทนี้จะบอกเราว่า การที่คุณ Elizabeth เขียนหนังสืออย่างไรจนมาถึงตอนนี้
และเราจะนำไปปรับใช้อย่างไรได้บ้าง
1 แซนด์วิซไส้อึ มันคืออะไร?
ทุกงานนั้นมีบางส่วนที่เราไม่ชอบ หรือมันเฮงซวยเสมอ
ขึ้นอยู่กับว่า เรายอมรับมุมที่ไม่ดีของงานที่เราหลงใหลนั้นได้หรือไม่
ยอมกินแซนด์วิซไส้อึของสิ่งๆนั้นได้หรือไม่
คุณ Elizabeth ยกตัวอย่างคือ ถ้าคุณอยากมีลูก ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะแพ้ท้อง
ถ้าอยากท่องโลกกว้าง ก็ต้องยอมเสี่ยงที่จะโดนล้วงกระเป๋าตังบนรถไฟ เป็นต้น
3
2 ในช่วงที่คุณ Elizabeth อายุประมาณ 20 ต้น ๆได้พบกับ
ผู้หญิงที่เก่งมาก ๆ คนหนึ่งอายุ 70 เธอได้บอกคุณ Elizabeth ว่า
คนอายุ 20-30 มักจะพยายามทำให้สมบูรณ์แบบที่สุด
จนเข้าอายุ 40-50 เราจะเริ่มเป็นอิสระเพราะเริ่มไม่สนว่าคนอื่นจะคิดยังไง
แต่จะได้เป็นอิสระจริงๆช่วง 60-70 เธอได้บทเรียนว่า
ไม่มีใครมานั่งคิดถึงเรื่องของเราอยู่หรอก
ฉะนั้นอยากเป็นอะไรก็เป็นตามที่ใจต้องการจะดีกว่า
12
บทที่ 5 ความไว้ใจ
เรื่องสั้นเรื่องแรกของคุณ Elizabeth คือเรื่อง ‘Pilgrims’
เป็นการหยิบจากต้นฉบับของบรรณาธิการซึ่งชอบมาก เตรียมพร้อมลงในนิตยสาร
แต่แล้วสปอนเซอร์ก็มายกเลิก ทำให้ต้องลดจำนวนหน้าลง
ซึ่งมีผลต่องานของเธอด้วย เธอมีทางเลือก 2 ทาง
คือ ยอมรอฉบับต่อไปแต่บางทีอาจจะไม่ได้ตีพิมพ์
จากที่มีแววที่บรรณาธิการคนนี้จะลาออก
กับ ยอมตัดเนื้อหา 30 %
เธอบอกว่ามันตัดสินใจยากมาก แต่เธอเลือกที่จะตัดเนื้อหาออกดีกว่า
และเธอก็คิดถูกจริง ๆ
เพราะเดือนต่อมาบรรณาธิการคนนั้นลาออกจริง ๆ
เธอจึงบอกว่า ถ้าวันนั้นไม่ตัดสินใจตัดเนื้อหา
(ซึ่งการตัดเนื้อหานั้นเรื่องนั้นแทบจะเป็นเรื่องใหม่เลย)
แต่การกลายเป็นเรื่องใหม่มันไปเตะตาอีกสำนักพิมพ์นึง
จนเรียกเข้าไปทำเซ็นสัญญา
คำแนะนำจากเรื่องนี้ คือ ไม่ให้คิดว่าผลงานตนเองคือลูก
เพราะถ้าคิดว่าเป็นลูกเธอจะไม่ยอมตัดเนื้อหามันแน่
เธอคิดว่า มันคืองานชิ้นหนึ่งที่สร้างขึ้น
ซึ่งเธอก็รักผลงานนั้น
แม้ปรับโครงสร้างไป ก็รักผลงานเหมือนเดิม
7
คำแนะนำของคุณ Elizabeth อีกอย่าง คือ
ให้สนใจที่ความอยากรู้อยากเห็นมากกว่าความหลงใหล(Passion)
เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าความหลงใหลของตัวเองคืออะไร
แล้วถ้ามีคนบอกว่าให้ทำตามสิ่งที่หลงใหล
เราก็ทำตามนั้นไม่ได้อยู่ดี
ดังนั้นความอยากรู้อยากเห็นจึงสำคัญ
เพียงแค่เราถามตัวเองตอนนี้ว่า
‘ตอนนี้มีอะไรที่เราสนใจบ้างหรือเปล่า’
สิ่งนั้นมันจะคือ เบาะแส สำหรับตัวเอง
เราก็มีหน้าที่ตามเบาะแสนั้นด้วยความไว้ใจ
จนมันอาจจะพาเราไปสู่สถานที่มหัศจรรย์จนคุณคาดไม่ถึง
เช่น วิธีนี้ลองโดยคุณ Elizabeth แล้ว
ในตอนนั้นเธอสนใจเรื่องทำสวนขึ้นมา เธอจึงค่อยๆทำสวนแบบนั้นไปเรื่อย ๆ
ผ่านอะไรมากมาย
จนเธอได้ไอเดียไปเขียนหนังสืออีกเล่มเลยครับ
6
และที่สำคัญอีกอย่างคือ ความหลงใหลมันมีวันหมดได้ครับ
แต่ความอยากรู้อยากเห็นทำให้เราลงมือทำเสมอครับ
5
คลิปเพิ่มเติมจาก Readery Podcast ครับ
ผมเชื่อมโยงและเข้าใจหนังสือเล่มนี้มากขึ้นจากคลิปนี้เลยครับ 😀🙏
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
โฆษณา