2 เม.ย. 2021 เวลา 10:19 • การศึกษา
แนะแนวสอบเข้าสาธิตประสานมิตร เอกภาษาญี่ปุ่นแบบละเอียดยิบ! (ยาว**)
ขอแนะนำตัวก่อน "พ" จากเอกภาษาญี่ปุ่น รุ่นกราฟ64ค่ะ💖 บล็อคนี้ก็จะแนะนำเกี่ยวกับการสอบเข้าม.4 เอกภาษาญี่ปุ่นค่ะ เอกภาษาอื่นๆ ก็สามารถอ่านได้นะคะ เพราะการเตรียมตัวสอบเข้าเอกภาษาส่วนมากคล้ายกันค่ะ
เราขอแจ้งคะแนนของเราไว้ตรงนี้ด้วยนะคะ เผื่อว่าดูไม่น่าเชื่อถือ555555555
คะแนนรวมของเราคือ
88.17/100 ค่ะ
อิ้ง 41.67/50
ญี่ปุ่น 21.50/25
สัมภาษณ์ 25/25 (คะแนนส่วนนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของแต่ละเอกนะคะ)
(เว่อวังมาก ตอนแรกเห็นเองยังตกใจ5555555)
fyi : ในปี64 ทุกคนที่สอบ ม.4 สามารถยื่นเรื่องขอดูคะแนนได้ค่ะ
ในส่วนของอัตราการแข่งขันเอกภาษาญี่ปุ่น อยู่ที่
ปี 64 สมัคร 161 รับ 29 คน (1:6)
ปี 63 สมัคร 115 รับ 24 คน (1:5)
(ขอบคุณข้อมูลจากopenchat
ขอแบ่งออกเป็น 8 session นะคะ เพราะเรื่องจะพูดเยอะม้าก วนใจหัวข้อไหนสามารถเลื่อนไปดูได้เลยนะคะ
1 เมคชัวร์ก่อนตัดสินใจ
2 เริ่มเตรียมตัว
3 แฟ้มสะสมผลงานใส่อะไรดี
4 สอบสัมภาษณ์
5 แนวข้อสอบเปเปอร์
6 เตรียมตัวลงสนามจริง
7 แนะนำหนังสือ
8 เสริมความมั่นใจก่อนลุย
1. เมคชัวร์ก่อนตัดสินใจ
ก่อนอื่นเลยหลังจากที่เรารู้ตัวว่า เออ อยากเรียนเอกนี้ๆๆๆ ที่ประสานมิตรจังเลย สิ่งแรกที่ต้องทำคือศึกษาค่ะ เอกนี้เรียนอะไร เข้าคณะอะไรต่อได้บ้าง? หน่วยกิต? ต่างๆ นานาเพื่อเมคชัวร์ว่า 'นี่แหละ ทางของเรา' เป็นสิ่งที่เราชอบจริงๆ และจะอยู่กับมันไปได้อีก 3 ปีถ้าเราสอบติดอย่างมีความสุข
พวกopenchat งาน openhouse (รอเจอนะ ถ้าไม่ติดโควิด) กระทู้ตามเว็บบอร์ด เพจโรงเรียน เว็บไซต์โรงเรียน ลุยเลยค่ะ! หาข้อมูลตรงนี้ไว้ เอาไปเสริมตอนที่สอบสัมภาษณ์ได้ด้วยนะ
ที่ย้ำตรงนี้ไว้เพราะว่านักเรียนเข้าใหม่ ม.4 เปลี่ยนวิชาเอกไม่ได้นะคะ** ดังนั้นตัดสินใจดีๆ เอาให้ชัวร์!
เพิ่มเติมเรื่องเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ ปีล่าสุดกำหนดไว้ที่ gpax5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.00 ค่ะ
ถ้าหากว่าเกรดเฉลี่ยของเราไม่ถึง ถึงจะสอบเปเปอร์และสัมภาษณ์ผ่านก็จะโดนตัดสิทธิเรียนนะคะ
FAQ : เกรดเฉลี่ยเทอมที่6 ไม่นับใช่ไหม
ไม่นับในตอนที่ยื่นสมัครสอบค่ะ แค่ 5 เทอมถึงก็เพียงพอแล้ว แต่ว่าเกรดเฉลี่ยเทอมที่6 จะมีผลก็ในกรณีที่เราติด 0 มส หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้เกรด 6 เทอมเราไม่ออกค่ะ เพราะต้องใช้เกรด6เทอม ยื่นโรงเรียนหลังสอบติดน้า
ในส่วนของข้อมูลวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นนั้นอาจจะเขียนแยกขึ้นมาเป็นอีกบล็อคนึงเลย เนื่องจากเราเองก็ยังไม่ได้สัมผัสการเรียนการสอนจริงๆ ของโรงเรียนค่ะ(ฮา) ถ้ายังไงเนื้อหาตรงนี้ไว้เจอกันในแนะแนวเอกญี่ปุ่น pt.2 นะคะ
2.เริ่มเตรียมตัว
พอได้เป้าหมายที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้คือการหาข้อมูลค่ะ ว่าเอกของเราจะต้องเตรียม ต้องสอบอะไรบ้าง ขอให้ติดตามประกาศจากทางโรงเรียนเป็นปีๆ ไปนะคะ เพราะแต่ละปีรายละเอียดก็จะต่างกัน เราจะแนะนำในส่วนของปี 64 ให้ค่ะ
สำหรับเอกภาษาญี่ปุ่นนั้น สัดส่วนคะแนนคือ
ภาษาอังกฤษ(เปเปอร์) 50 คะแนน
ภาษาญี่ปุ่น(เปเปอร์) 25 คะแนน
สัมภาษณ์ + แฟ้มสะสมผลงาน 25 คะแนน
ไม่มีการสอบภาคปฏิบัติค่ะ
ในปีก่อนๆ โดยปกติแล้วทางโรงเรียนจะแบ่งการสอบออกเป็นสองรอบ คือรอบทฤษฎี และรอบสัมภาษณ์ เอกญี่ปุ่นจะสอบทฤษฎี คัดออก ไปสอบสัมภาษณ์ แล้วก็คัดออกอีกที เป็นรายชื่อนักเรียนจริงๆ
แต่ในปี64ที่ผ่านมามีการแก้ไขกำหนดการให้ทุกเอกสอบสัมภาษณ์ก่อน และสอบทฤษฎีต่อเลยโดยไม่มีการคัดออกค่ะ คือเราจะได้สอบทั้งสองส่วนและนับคะแนนรวมเลย
เท่ากับว่าเราจะต้องเตรียมสอบเปเปอร์ 2 วิชา คืออังกฤษ และญี่ปุ่น บวกกับเตรียมแฟ้มสะสมผลงานค่ะ
3.แฟ้มสะสมผลงาน ใส่อะไรดี
ข้อมูลในส่วนนี้เองก็เป็นอัปเดตของปี 64 นะคะ รุ่นต่อๆ ไปอย่าเพิ่งเริ่มทำและอิงตามนี้นะ ขอให้ติดตามประกาศจากทางโรงเป็นปีๆ ไปค่ะ
ในส่วนของปี 64 โรงเรียนกำหนดมาว่าไม่เกิน12หน้า รวมปกหน้าหลังแล้วนะคะ
ส่วนรายละเอียดในเล่มของพอร์ตโรงเรียนไม่ได้กำหนดเป็นพิเศษ ก็ทำตามปกติก็ได้ค่ะ มีประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ผลงาน กิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับเอกของเรา จะไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นก็ได้นะคะ เพียงแค่อยู่ในกลุ่มสาระภาษาไทยหรือต่างประเทศก็ได้ค่ะ เกียรติบัตรต่างๆ และกิจกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับตัวเราที่อยากนำเสนอคุณครูค่ะ
สำหรับพอร์ตของเรา ถ้าอยากเห็นสามารถดูได้ตามลิ้งค์ drive ล่างหัวข้อนี้นะคะ เราใส่หัวข้อไปตามนี้
-ปกหน้าหลัง แนะนำให้ใส่ชื่อภาษาไทยด้วยนะคะ
-คำนำ
-ประวัติส่วนตัว และประวัติการศึกษา
-ผลการเรียน 5 เทอม
-เกียรติบัตร ในและนอกโรงเรียน
-ชิ้นงาน ผลงานเก่าๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
-กิจกรรม งานแข่งขัน ค่าย
-หน้าที่รับผิดชอบ จิตอาสา
พวกผลงาน ให้เน้นผลงานกิจกรรมในช่วงมัธยมต้นเป็นหลักค่ะ แต่ถ้าเป็นงานใหญ่ๆ ก็ลุยได้เลยค่ะ
แล้วก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องมีหน่วยงานมีอะไรมารับรองนะคะ ส่วนตัวเราใส่นิยายออนไลน์ที่แต่งเองไปด้วยค่ะ55555555555 แสดงความเป็นตัวเองไปเลย เอาให้เด่นกว่าอีก200คนที่มาสอบ แบบวันสอบอาจารย์จำหน้าเราได้ (ล้อเล่นนะคะ)
เว็บไซต์ที่เราใช้คือ canva ค่ะ เห็นบางคนก็ทำใน procreate กัน เราเอาแม่แบบมาปรับเองให้เข้ากับตัวเรามากขึ้น ปีเป็นการส่งทางอีเมลค่ะ ไม่ต้องทำเป็นรูปเล่มนะ
นี่เป็นตัวอย่างพอร์ตของเรา ถ้าไฟล์เปิดไม่ได้หลังไมค์มาขอได้นะคะ ทาง blockdit หรือ ig shanyakoo ค่า
((รบกวนไม่นำlink ไปโพสที่อื่นนะคะ ส่งบล็อคนี้ไปก็ได้ค่ะในกรณีที่ต้องการแชร์))
tips💡 : ยังไม่ต้องรีบจัดทำก็ได้ ถ้ายังไม่มีรายละเอียดจากทางโรงเรียน แต่แนะนำให้รวบรวมเอกสาร เกียรติบัตรต่างๆไว้ก่อนค่ะ จะได้สะดวกรวดเร็วตอนเราจะทำ
4.สอบสัมภาษณ์
อันที่จริงแล้วเป็นครั้งแรกของเราเลย รุ่น64เป็นการสัมภาษณ์ทางออนไลน์ค่ะเนื่องจากติดโควิด ผ่านทางmicrosoft teams พอถึงคิวเราอาจารย์ก็จะดึงเราเข้าในห้องสัมภาษณ์ค่ะ
พอเข้าไปอาจารย์ก็บอกให้เราแนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่น (เตรียมไปก็ดีนะคะ เพราะส่วนมากโดนถาม) มาจากโรงเรียนอะไร ชื่ออะไรก็ว่าไปค่ะ ส่วนคำถามอื่นๆ ก็พวกแนวสัมภาษณ์ธรรมดาค่ะ ทั่วไปเลย
ทำไมถึงอยากเรียนที่นี่ ทำไมไม่ต่อที่เดิม สิ่งที่ภูมิใจที่สุดในชีวิต บอกความเป็นตัวเองใน3คำ จุดเด่นที่ทำให้ที่นี่ต้องรับเรา ถ้าเรามีพื้นฐานอยู่แล้ว มาเริ่มเรียนใหม่ที่นี่เลยจะเบื่อไหม
ถามเป็นภาษาไทยค่ะ อาจารย์น่ารักใจดี ไม่ต้องกังวลนะคะ อาจารย์น่าร้ากกกกกกกกกก <3
พยายามตอบให้อาจารย์เห็นความตั้งใจ สปิริต ความอยาก หรืออะไรก็ตามไปเยอะๆ เลยค่ะ หาเหตุผลมาสนับสนุน 'ความตั้งใจ' ของเรา จะพูดถึงหลักสูตร โรงเรียน อะไรก็จัดเต็มไปเลยค่ะ
ทริคคือยิ้มสู้ไว้ถึงเราจะตอบไม่ได้ก็ตาม เราสัมภาษณ์แค่ 4 นาทีกว่าๆ เองค่ะ (ในประกาศบอกว่าไม่เกิน10 นาที) น่าจะเพราะคนเยอะด้วย แนะนำให้พยายามสร้างความประทับใจไว้ค่ะ ลองดูแนววิธีตอบคำถามสัมภาษณ์ในเน็ตก็เป็นประโยชน์ดีค่ะ
อ้อ เราไม่โดนถามพวกประวัติผู้ก่อตั้ง หรือประวัติโรงเรียนนะคะ ลองหาของปีก่อนๆ ก็ไม่เจอนะคะว่ามีถาม
ในขั้นตอนนี้จะมีการทำแบบประเมินสุขภาพจิตด้วย เป็น google form ให้เราติ๊กค่ะ
5.แนวข้อสอบทฤษฎี
ในปี 64 เอกภาษาญี่ปุ่น(และเอกภาษาต่างประเทศอื่นๆ) จะสอบเปเปอร์ทั้งหมด 2 วิชา ได้แก่วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาเอกค่ะ ซึ่งส่วนมากค่ะเป็นภาษานั้นๆ
แต่ในปีก่อนๆ จะมีการสอบภาษาไทยด้วยค่ะ เป็นสอบเปเปอร์ 3 วิชา ซึ่งปีต่อๆ ไป ข้อสอบภาษาไทยจะกลับมามั้ยก็ยังไม่มีใครทราบนะคะ ต้องรอติดตามกันไป ในบล็อคนี้เราก็เลยให้แนวภาษาไทยไม่ได้นะคะ เพราะไม่เคยสอบค่ะ5555555 ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มกันเลย
5.1 ภาษาอังกฤษ : 60ข้อ ให้เวลา 60นาที
-vocab รูปแบบคล้าย meaning in context ของข้อสอบgat
-cloze test เลือกคำไปเติมในบทความ part นี้จะวัดเราทั้งสกิล vocab และ grammar เลย
-grammar choice ให้ประโยคมาแล้วให้เราเลือกchoice ไปเติม
-conversation พื้นฐาน ระวังกาผิดค่ะ55555 ข้อสอบอยู่หน้าหนึ่ง choice อยู่อีกหน้าหนึ่ง เราทำไปเสียวไป
-error 5 ข้อ (ไม่ได้ออกยากค่ะ เก็บคะแนนตรงนี้ได้จะดีมาก)
-passage reading มี 3 บทความค่ะ ศัพท์ระดับเดียวกับpart vocabค่ะ ไม่ได้ใช้สำนวนซับซ้อนอะไร ถ้ารู้ศัพท์ก็อ่านแล้วเข้าใจได้เลย
grammar ออกพื้นฐานเลยค่ะ สำหรับเราแล้วค่อนข้างเบสิคนะคะ ความยากประมาณ o-net ม.3 ค่ะ เน้นquantifier, passive voice,tense ที่ใช้หลักๆ ,if-clause ,reported speech ,หน้าที่ของ adj.- adv. สำหรับเราแล้ว ข้อสอบไม่ได้ยาก แต่วัดสติมากกว่า ว่าเราพร้อมแค่ไหน เคยฝึกทำข้อสอบบ้างหรือเปล่า หลายคนในห้องสอบก็ทำไม่ทัน ให้เตรียมตัวมาดีๆ ค่ะ
แต่ถ้าถามว่ายากน้อยกว่า - มากกว่าเตรียมแค่ไหน ขอบอกว่าเราให้คำตอบไม่ได้นะคะ ไม่สู้กับการตื่นตีสี่ไปอิมแพคจริงๆ ค่ะ555555555 แต่เห็นมิตรสหายท่านหนึ่งที่ไปสอบเตรียมมาบอกว่าreadingสบายกว่าค่ะ ของเตรียมอะไรไม่รู้
5.2 ภาษาญี่ปุ่น : 50 ข้อ 30 นาที
ข้อสอบแบ่งเป็น 2 part เป็นข้อกาทั้งหมด คำถามและ choice เป็นภาษาไทย/โรมันจิค่ะ (ยกเว้นpartประเภทตัวอักษร)
— ความรู้ภาษาญี่ปุ่น
• ประเภทตัวอักษร (ฮิรางานะ คาตากานะ คันจิ) ถ้าแยกออกก็สบายค่ะ จุดเด่นหน้าที่ของแต่ละประเภท • วรรคอักษรของฮิรางานะ ตัวอักษรควบ
• การนับเลข ให้โจทย์เลขมาบวกลบคูณหารแล้วตอบ คิดเลขขั้นเดียวค่ะ แต่ระวังผิด
• คำพูดพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
• ศัพท์พื้นฐานนิดหน่อย
— ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น
• รัชสมัยปัจจุบัน
• จักรพรรดิ
• นายกคนปัจจุบัน
• สนามบิน/สายการบินนานาชาติ
• เกาะหลักของญี่ปุ่น
• กีฬาประจำชาติ
• ชนิดเหรียญ
• ชื่อการสอบวัดระดับภาษา
• อายุวีซ่า
• เทศกาล
• ความเชื่อต่างๆ
• ความสูงภูเขาไฟฟูจิ/tokyo sky tree
•ภูมิศาสตร์
•ความต่างเวลา
•มาสคอตจังหวัด
ของปีเราประมาณนี้ค่ะ แต่แอบเห็นรุ่นพี่บอกว่ายากกว่าปีก่อน รุ่นต่อไปก็อาจจะbeyondไปกว่านี้ 👉🏻👈🏻
แต่ขนาดนี้เราก็นั่งจุดธูปในห้องสอบละนะ
ทางโรงเรียนมีเครื่องเขียนให้นะคะ ดินสอ กบเหลา และยางลบ เราเตรียมไปแค่บัตรประชาชนหรือบัตรนักเรียนที่มีรูปเราในการยืนยันตัวเข้าห้องสอบ และสติก็เพียงพอค่ะ อาหารเที่ยงก็มีให้นะคะ ถึงเอกเราจะสอบเสร็จตั้งแต่สิบโมงครึ่งก็ตาม รวมอยู่กับค่าสอบค่ะ
6.การเตรียมตัวก่อนลงสนาม
ส่วนนี้จะเป็นการแนะนำการเตรียมตัวค่ะว่าเราทำอะไรบ้าง ตั้งแต่รู้ตัวว่าอยากเรียนที่นี่ยันไปสอบ เผื่อว่าจะเป็นแนวทางให้ได้ค่ะ
เรารู้ตัวเมื่อช่วงเดือนกันยายนค่ะ สอบเดือนมีนาคม เรามีเวลาเตรียมตัวประมาณ 6 เดือนค่ะ แต่ถ้ารู้ตัวช้ากว่านั้นก็ไม่เป็นไรนะคะ ให้ใช้เวลาที่มีอยู่ให้เต็มที่ค่ะ รู้ตัวก่อนไม่ได้หมายความว่าจะเตรียมตัวได้ดีกว่า และรู้ตัวช้าไม่ได้แปลว่าไม่ทันแล้ว
6 เดือนของเรา ตอนแรกเหมือนจะนาน แต่เวลามันผ่านไปเร็วนะคะ555 ดังนั้นรีบเก็บเกี่ยวไว้นะ! ไม่อยากให้ประมาทค่ะ
6.1 ภาษาอังกฤษ สำหรับเราแล้วเนื้อหาวิชานี้ไม่ได้ยากค่ะ ด้วยความที่มันไม่ได้ยากมากเนี่ยแหละ เราจึงควรจะผิดให้น้อยที่สุด ยิ่งผิดน้อยยิ่งดีค่ะ
— ส่วนตัวเราไม่ได้เทคคอร์สกับติวเตอร์ที่สถาบันไหนนะ แต่เรียนกับพี่ที่รู้จักกัน ถ้าอยากเรียนแนะนำเป็นคอร์สติวเข้าเตรียมค่ะ แต่คิดว่าไม่ได้จำเป็นขนาดนั้นนะ ถ้าแม่นgrammarพื้นฐานแล้ว เอาเวบาไปฝึกทำโจทย์ ทำข้อสอบดีกว่า
— เราเคยเข้าไปติวฟรีกับ 'เรียนเถอะอยากสอน' ของพี่ดาวอยู่สองครั้งค่ะ เป็น open chat ที่มีติวฟรีทุกเดือน เสิร์ชหาได้ในไลน์เลยนะคะ
— ที่จริง ติวฟรี คลิปสอน grammar มีทั่วไปเลยค่ะ หาดูได้ใน youtube สอนศาสตร์ก็สอนดีนะคะ หรือครูพี่ต่างๆ ที่เค้าอัดคลิปสอนในอินสตาแกรมก็มีประโยชน์ค่ะ
— พอเราแม่นในส่วนของเนื้อหาที่จะออกแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็เป็นการฝึกฝนค่ะ หัดทำแบบฝึกหัด ทำข้อสอบจับเวลา ดูสถิติ ผลคะแนนไว้ว่าตรงไหนที่เรามักจะพลาด จากนั้นก็ปรับปรุงแก้ไขไปเรื่อยๆ อนาคตที่สดใสรอเราอยู่แน่ค่ะ
— นอกจากนี้อีกเรื่องที่จำเป็นคือ vocab ค่ะ เพราะออกในทุกๆ partเลยทั้งcloze test, reading, และ vocabเอง แนะนำศัพท์4หน้า ของครูสมศรีค่ะ เข้าไปโหลดได้ในเพจของคุณครูเลย อยากบอกว่าศัพท์ตรงมากกกกก ค่ะ ถ้าท่องได้หมด vocab เธอชิวแล้ว เราทำเป็น flash card เพื่อทบทวน รู้สึกว่าจำได้มากกว่าท่องเป็นใบๆ ค่ะ ทำไปควบคู่กับการอ่าน grammar และทำข้อสอบนะ
6.2 ภาษาญี่ปุ่น
— part ของประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เราเรียนจากอินสตาแกรมค่ะ มีคนสอนภาษาญี่ปุ่นเยอะมากๆ จะลิสต์ที่เราติดตามไว้ให้บางส่วนนะคะ
risakojasmine , nihongadekita , ilovejapanth (เพจนี้ของไทยค่ะ พวกcultureเยอะดี)
— ลองหาพวก handbook เวลาคนจะไปญี่ปุ่นดูค่ะ จะมีข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียด แต่ระวังสลับกับหนังสือแนะนำที่เที่ยวนะคะ
— ช่วงใกล้สอบจะมีคนทำสรุปขายค่ะ แต่จริงๆ หาตามพวก youtube หรือในเน็ตก็ค่อนข้างเหลือเฟือแล้วนะ แต่ถ้าอยากเมคชัวร์ ฉันต้องได้คะแนน ก็จัดเลยค่ะ
7.แนะนำหนังสือ
ขอเริ่มจากหนังสือเรียนก่อนนะคะ หนังสือจะมีส่วนของเนื้อหาด้วย บวกกับแบบฝึกหัดค่ะ
— ถ้ารู้สึกว่ายังไม่ค่อยแม่นแต่ไม่อยากลงคอร์สเรียนเราแนะนำ grammar เล่มม่วง ของดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญ เป็นเนื้อหาเบสิคที่ค่อนข้างครอบคลุมข้อสอบค่ะ ข้อเสียคือไม่มีเฉลยละเอียด เค้าแปลโจทย์และคำตอบมาให้เฉยๆ ไม่ได้อธิบายว่าทำไมถึงตอบข้อนั้นๆ มีให้เฉพาะpartที่เป็นข้อสอบรวมค่ะ
cr. ภาพจาก allonline
— อีกเล่มที่อยากแนะนำคือ จับตาย วายร้าย GAT & Admission : Grammar & Sentence Structures เล่มสีแดงลายๆ ค่ะ เป็นระดับที่สูงขึ้นมาอีก ถ้ากลัวเล่มม่วงอย่างเดียวไม่พอ อธิบายดี ใช้อ่านได้ยันสอบgatค่ะ แต่ข้อสอบไม่ลึกเท่านี้ค่าไม่ต้องกังวล
cr. ภาพจาก se-ed
— outstanding เล่มนี้เป็นหนังสือที่เราใช้เรียนวิชาเสริมที่โรงเรียนเก่าค่ะ เราว่าดีเลยนะ ครอบคลุมทั้ง conversation reading grammar แล้วก็ vocab เราเคยใช้เล่ม 2กับ3 ค่ะ แต่เราไม่รู้เลยว่าหาซื้อได้ที่ไหนบ้าง ขอโทษที่ไม่มีข้อมูลตรงนี้นะคะ😭
ต่อไปจะเป็นหนังสือข้อสอบค่ะ เราทำอยู่ 2 เล่มด้วยกัน
— อังกฤษ 15 พ.ศ. เป็นข้อสอบentrance เก่าตั้งแต่ปี 254X ค่ะ แก่กว่าเราอีก5555555555555555 เป็นระดับมหาลัยก็จริงแต่มันเก่าแล้วค่ะ ไม่ได้ยากเกินไปมาก ข้อสอบเยอะดีค่ะ ชุดละ100ข้อ เกือบ20ชุด (มีgatกับonetด้วย) รูปแบบออกคล้ายๆ ของประสานมิตรเลย ฉบับที่เราใช้เป็นปกเก่าสีเขียวๆ ค่ะ เฉลยผิดค่อนข้างเยอะ ไม่รู้ว่าปัจจุบันจะแก้ไขหรือยังนะ
ฉบับที่เราใช้ cr. ภาพจาก shopee
ฉบับล่าสุด cr. ภาพจาก shop.kku.ac.th
— gatเล่มแดง(ปกเก่าเป็นสีเหลือง) ของดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญ เล่มนี้ยากกว่าข้อสอบจริงนะคะ แต่เหมาะกับการเอามาทำจับเวลาค่ะ ถ้าได้สัก40+ข้อก็สบายแล้ว หลังเล่มมีเก็งศัพท์ให้เพิ่มด้วยด้วย
cr. ภาพจาก se-ed
— อีกแหล่งข้อสอบที่เราเข้าถึงได้ฟรีคือเฟซบุ้ค gat eng thailand ค่ะ มีข้อสอบ gat ทั้งฉบับจริงย้อนหลัง แล้วก็mock up ให้เข้าไปโหลดทำได้ฟรี พร้อมเฉลยละเอียด ชัดเจนดีมากๆ ค่ะ ระดับความยากเดียวกับเล่มข้างบนค่ะ
— เพิ่มเติมหนังสือภาษาญี่ปุ่นอีก 1 เล่ม เล่มนี้เป็นเล่มที่รุ่นพี่แนะนำมาแต่เราหาซื้อไม่ทันค่ะ5555
ญี่ปุ่นเล่มเดียวรู้เรื่อง cr.ภาพจาก se-ed
tips💡 : สำหรับคนที่ไม่อยากควักกระเป๋า
1. ห้องสมุดโรงเรียน เราค่อนข้างโชคดีที่โรงเรียนเก่าเรามีหนังสือเยอะ ส่วนมากเลยจะยืมจากห้องสมุดมาอ่าน มาทำ ไม่ได้ควักเงินซื้อเองเท่าไหร่ค่ะ
(จะเห็นว่าส่วนมากไม่ได้ถ่ายภาพเอง เพราะหนังสือไม่ได้อยู่กับเราค่ะ5555)
2. หนังสือมือสอง มีขายในทวิตเตอร์ หรืออินสตาแกรมเยอะแยะเลยค่ะ ราคาจะถูกลงมาก แต่ให้ดูร้านดีๆ นะคะ มิจฉาชีพมันเยอะเนอะ ส่วนตัวเราซื้อในทวิตบ่อยๆ ค่ะ
8. เสริมความมั่นใจก่อนลุย
— ภาษาอังกฤษ แนะนำว่าถ้ามีเวลามากพอแนะนำให้ปริ้นท์ answer sheets มาทำ ทำไปฝนไป เหมือนกับข้อสอบจริงๆ เลยค่ะในช่วงฝึกทำข้อสอบ 60ข้อ จับเวลา พยายามให้ไม่เกิน45นาทีได้จะเก่งมาก
เวลาที่เหลือในห้องสอบ ให้เราอ่านโจทย์และตรวจทานอีกรอบว่าฝนครบมั้ย ฝนอะไรผิดไปหรือเปล่า และย้อนกลับมาทำข้อที่ข้ามไปค่ะ เพื่อเก็บคะแนนให้ได้มากที่สุด
ภาษาญี่ปุ่นเองก็เหมือนกันนะคะ อย่าจมอยู่กับข้อที่ไม่แน่ใจ วงไว้ก่อนแล้วค่อยวนกลับมาทำนะ เพราะต้องทำเวลาให้ดีค่ะ ข้อนึงเรามีเวลาไม่ถึงนาที
— เป็นทริคของเราเองข้อนี้ นอกจากทำข้อสอบ อ่านในหนังสือแล้ว เราก็โหลดพวกแอปพลิเคชันติดโทรศัพท์ไว้ด้วยค่ะ เนื่องจากเป็นคนติดโทรศัพท์ ก็เลยเอาสิ่งที่ต้องอ่านไปใส่ไว้ในโทรศัพท์เลย เลยจะมีแนะนำแอปที่เราใช้ค่ะ
8.1 สอบติด อย่างแรกเลยคือชื่อแอปมงคลดีค่ะ โหลดเลยไม่คิดมาก เป็นข้อสอบระดับ ม.6 ค่ะ gat,9สามัญ, onet สะดวกตรงที่ทำที่ไหนก็ได้ค่ะ เลือกหมวดได้ด้วย เช่น conver vocab แต่บางข้อไม่มีเฉลยละเอียดค่ะ
cr. ภาพจาก thereporter asia
8.2 toeic zombie แอปนี้ออกแนวเกมคำศัพท์ค่ะ สนุกก เราต้องเลือกคำศัพท์ให้ตรงกับคำแปลที่ให้มาก่อนซอมบี้จะเดินมาถึงเรา
cr. รูปจาก teachXcite
8.3 english grammar test, grammar test เอาไว้สอบgrammar หาจุดบกพร่องของเราค่ะ เราชอบเล่นตอนแปรงฟัน555555555555555555555555
cr. ภาพจาก apppage.net
cr. ภาพจาก google playstore
8.4 renshuu สอนประโยคญี่ปุ่นง่ายๆ เอาไปใช้ทำข้อสอบได้ค่ะ ค่อนข้างพื้นฐานนะ
หน้าตาแอปเป็นแบบนี้ค่ะ น่าร้ากกกกก cr.ภาพจาก twitter @renshuu
ก็ครบทั้ง 8 หัวข้อแล้วนะคะ ยาวมาก /ปาดเหงื่อ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันน้องๆ รุ่นต่อไปไม่มากก็น้อยนะคะ ขอให้ได้มาเป็นกราฟ 65 66 67 กันทุกคนเล้ยยย อาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ขอให้ความพยายามของทุกคน ผลิดอกออกผลสวยงามค่ะ 💖
มีอะไรทักมาถามทางไอจี shanyakoo ได้นะคะ
โฆษณา