3 เม.ย. 2021 เวลา 16:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เปลี่ยนนิยามหน่วยวัดในรอบ 58 ปี
ในปี 2503 (ค.ศ. 1960) ได้มีการสถาปนาระบบปริมาณระหว่างประเทศ (Inter-national System of Quantities, SIQ) และระบบหน่วยระหว่างประเทศ หรือ เอสไอ (International System of Units, SI) ขึ้น เพื่อให้เป็นระบบปริมาณและระบบหน่วยที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ร่วมกัน ประกอบด้วย
1.มวล (mass) หน่วยเป็น กิโลกรัม (kilogram, kg)
2.ความยาว (length) หน่วยเป็น เมตร (metre, m)
3.เวลา (time) หน่วยเป็น วินาที (second, s)
4.กระแสไฟฟ้า (electric current) หน่วยเป็น แอมแปร์ (ampere, A)
5.อุณหภูมิอุณหพลวัต (thermodynamic temperature) หน่วยเป็น เคลวิน (kelvin, K)
6.ความเข้มของการส่องสว่าง (luminous intensity) หน่วยเป็น แคนเดลา (candela, cd)
7.ปริมาณสาร (amount of substant) หน่วยเป็น โมล (mole, mol)
นิยามของหน่วยฐานมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับตามการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ทำให้สามารถออกแบบและสร้างการทดลองที่แสดงพฤติกรรมที่คงที่เหมาะสมกับการนำมาใช้นิยามหน่วยฐานกล่าวคือ สะดวกในการใช้งาน และมีสภาพทวนซ้ำได้สูง (SI ปัจจุบัน - หน่วยฐานแต่ละตัวได้รับการนิยามอย่างอิสระแม้นิยามของหน่วยฐานบางหน่วยจะเชื่อมกับแรง หรือกิโลกรัม)
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยการชั่ง ตวง วัด (The General Conference on Weights and Measures,CGPM) ครั้งที่ 26 ณ เมืองแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติให้ยกเลิกนิยามของหน่วยฐานทั้ง 7 หน่วยที่ใช้อยู่ ณ วันประชุม และกำหนดค่าเชิงตัวเลข (numerical value) ให้กับค่าคงตัวทางฟิสิกส์ (physical constant) 7 ตัว โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ถือเป็นการปรับเปลี่ยนปรัชญา หรือแนวคิดในการนิยามหน่วยฐานครั้งใหญ่และสำคัญยิ่ง เป็นการนำความรู้จากฟิสิกส์เชิงควอนตัมและทฤษฎีสัมพันธภาพมาประยุกต์ทั้งระบบ
The revised SI มีหน่วยฐานที่ได้รับการนิยามจากค่าคงตัวทางฟิสิกส์ซึ่งมีหน่วยเชื่อมโยงกัน ดังต่อไปนี้
สรุป : เหตุผลหลักของการเปลี่ยนแปลงนิยามหน่วยวัด คือ ให้นิยามเดิมหลุดพ้นจากการอ้างอิงของสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติอยู่เสมอนั้นเอง
โฆษณา