4 เม.ย. 2021 เวลา 06:38 • การศึกษา
นักพัฒนาการศึกษา
ด้วยจิตวิญญาณ​ จะห่วงคุณภาพเด็ก
เป็นเป้าหมายสูงสุด...ก่อน
ครูบนพื้นดิน​ พื้นปูน​ พื้นหญ้า
จะคิดความสบายใด...
ให้นึกถึงครูบนดอย​ / ถิ่นทุรกันดาร
บ้าง...
ถ้าครูเหล่านั้นนึกถึงแต่ความสบาย
ก็คงไม่ต้องไปลำบากลำบนขนาดนั้น
นั่นนะ.. เขาเรียกทำงานด้วยจิตวิญญาณ
สำหรับครูที่มักบอกว่า
ครูมีภาระทางเอกสารเยอะ...
ให้อ่านข้อความด้านล่างนี้​ ตั้งแต่
บรรทัดแรก​ ยันบรรทัดสุดท้าย​
2​ รอบ​ แล้วจงพินิจพิเคราะห์...
ทุกประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตไว้เพื่อ
ตอบโต้จากข้อเท็จจริง
และโปรดช่วยโต้ตอบตามหัวข้อ.
ที่ตนเอง​ อยากชี้แจงข้อเท็จจริง
ด้วย.. เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา
การศึกษา...
คำตอบของท่าน​ คือ​ หนทางการ
แก้ปัญหาของเรา
เน้นนะ​
1.​ ดูคุณภาพ​การศึกษา
ให้วัดจากผลงานเด็ก...
แล้ววัดผลงานครูจากอะไร..
จากคำบอกเล่ารึ...หรือ​ นั่งทางใน​ เอา
ก็ไม่พ้นเอกสารบานตะไท..อยู่ดี
เวลาประเมินครู... ไปเฟ้นเอกสาร
มาแต่ไหนกัน...กองพะเนินเทินทึก...
บางคนมีเยอะ​ บางคนก็ไม่มีเลย
ไหนบอกว่า​ ครูไม่ชอบเอกสาร...ไง
แต่พอใครมาประเมิน​ทีไร เอกสารนี่
พรั่งพรูมาเลย... เอามาจากไหนกัน
2.​ ถามจริง... ครูเคยนำผลการประเมิน
ไปต่อยอดกันไหม...
เคยอ่านเนื้อใน​การประเมิน​ สมศ.
ไหม...
ลองอ่านดู... บางสิ่งบางอย่างที่ได้
ผลการประเมิน​ พอใช้​ / ปรับปรุง​ /
ปรับปรุงเร่งด่วน มันคือ​ ข้อบกพร่อง
ของ​ ศพด.​
ควรใส่ใจ​ และนำไปสู่การปรับปรุง
แก้ไข...
อย่านึกแต่ความสบาย...
ควรนึกถึงประสบการณ์...
3.​ ถ้าเอาแต่เน้นสอน...
ถามจริง​ ครูเคยอ่านหลักสูตรจน
แตกประเด็น​ ทำตามหลักสูตร
ทุกข้อไหม...
เจตนารมณ์ตามหลักสูตรมีว่า
อย่างไรมั่ง... ตอบ ให้เวลา​ 5 นาที
5.​ เมื่อวิเคราะห์ได้เป้าหมายในการ
พัฒนาเด็ก​ แล้ว
ค่อยไล่ว่า​ จะพัฒนาครูอย่างไร
เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของเด็ก
เหมือนเป้าหมายจะเดินทางไป​ โคราช
เป้าหมายคือ​ โคราช...
ก็ค่อยมาดูว่า​ จะมีวิธีการใดที่จะไป
โคราชโดยปลอดภัย​ เช่น
1.​ ศึกษาเส้นทาง
2.​ นอนให้เพียงพอ
3.​ เช็คสภาพรถ
4.​ ขับรถด้วยความระมัดระวัง
เท่านี้​ ก็จะถึงโคราช​ โดยปลอดภัย
6.​ เหตุใด​ รมต.คนนี้​
จึงมีมุมมองเพียงเท่านี้
แค่นโยบายยังไม่ประทับใจเลย...
ทั้งที่ปัญหาเด็กและเยาวชนขณะนี้
ถือว่า​ เป็นปัญหาใหญ่...
มีความคิดจะยกเลิกหลักสูตร..
ความคิดก็อันตรายแล้ว...
การสอนตามศตวรรษที่​ 21
ก็ต้องอาศัยหลักสูตรเป็นกรอบ
แนวทางในการขับเคลื่อน....
อย่าคิดเอาตัวเองเป็นใหญ่...
ก็จะจบเร็ว
7.​ ทักษะตามศตวรรษที่​ 21
เปรียบเสมือนฟัน​ ที่จะขบเคี้ยว
อาหาร​ นำพาไปสู่ทางเดินอาหาร
สู่กระเพาะอาหาร​ เพื่อดูดซึมอาหาร
ไปเลี้ยงร่างกาย...
เหงือก​ และลิ้นเปรียบเสมือนหลักสูตร
การศึกษา​ ที่จะช่วยกำหนดทิศทาง
ว่า​ จะมีส่วนส่งเสริมให้​ ฟันทำหน้าที่
ขบเคี้ยว​อาหาร​ ขับเคลื่อนทาง
การศึกษาได้ดี​ มีประสิทธิภาพ
เพียงใด...
เมื่อฟันไม่มีเหงือก​และลิ้น คอยพึ่งพาอาศัย
ฟันจะอยู่อย่างไร... ไม่มีแนวทาง​ /
ทิศทางคอยกำกับ...
ทักษะตามศตวรรษที่​ 21​ ดีทุกข้อ
แต่อยู่ที่การบริหารจัดการ​ที่ต้อง
อาศัยหลักบูรณาการ...
ซึ่งเป็นถึง​ รมต.ไม่รู้จักใช้​ หรือ
ให้ความสำคัญในการบูรณาการ
หรืออย่างไร
โฆษณา