6 เม.ย. 2021 เวลา 02:16
#OKRsคือเครื่องมือการเปลี่ยนMindsetคนทำงาน
ตัวอย่าง
KPIs=>OKRs หน่วยงานวิจัยและพัฒนา
#KPIsแบบเดิม
✒️KPI - จำนวนรายการสินค้าใหม่ที่พัฒนา
✒️KPI - % การพัฒนาสินค้าใหม่ได้ตามแผนฯ
✒️KPI - จำนวนงานวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตีพิมพ์
✒️KPI - จำนวนรางวัลนวตกรรม
1
#ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นคือ
🔒- เสียเวลาพัฒนาสินค้าใหม่แต่ขายไม่ได้ ฝ่ายการตลาดไม่เอาไปขาย
🔓มัวแต่พัฒนาสินค้าตามที่การตลาดต้องการจนไม่มีเวลาวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ตามเทรนด์ของโลก
🔓- พัฒนาสินค้าใหม่เยอะมาก แต่วางตลาดน้อย
🔒- สินค้าใหม่ขายได้แค่ระยะสั้นไม่ค่อยมีสินค้าใหม่ที่ยั่งยืน
🔒- ลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่สูงมากแต่ผลที่ได้ไม่คุ้มค่า
🔒- เป้าหมายของการตลาดกับฝ่าย R&D มักจะมีส่วนที่ขัดแย้งกันอยู่บ่อยๆ
🔒- พัฒนาไปตั้งนานแต่ไม่ผ่านดัชนีของกลุ่มโฟกัส ไม่ผ่านความเป็นไปได้ทางการเงิน
🔒- แต่ละหน่วยงานทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง ไม่มีใครมาคิดภาพรวม
ฯลฯ
#กำหนดเป้าหมายแบบ OKRs
วัตถุประสงค์(Objective)
#สินค้าใหม่กำไรยั่งยืน
✅KR1- % จำนวนสินค้าใหม่ที่ทำเป็น Commercial ได้จริง
✅KR2 - % สินค้าใหม่ที่ประสบความสำเร็จเมื่อเทียบกับสินค้าใหม่ทั้งหมดที่วางตลาด
✅KR3 - % สินค้าใหม่ที่ขายได้และเติบโตต่อเนื่องติดต่อกันไม่น้อยกว่า.....ปี
🖍การกำหนดแบบ OKRs ที่ไม่จำกัดแค่ฟังก์ชั่นของคนทำงานด้าน R&D ถือเป็นการเปลี่ยนจากการกำหนด KPIs ของฝ่ายวิจัยและพัฒนาฯมาเป็นการกำหนดให้ธุรกิจเติบโตด้วยการวิจัยและพัฒนาฯ ไม่ได้มองว่าเป็นหน้าที่ของ R&D เท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กรที่จะต้องมาช่วยกันขับเคลื่อนเป้าหมายเรื่องนี้ให้เป็นจริงให้ได้ เพราะวัตถุประสงค์ของ OKRs แบบนี้ R&D ทำคนเดียวไม่ได้
🖍ดังนั้น การเปลี่ยนจาก KPIs มาเป็น OKRs ไม่ใช่แค่มีวัตถุประสงค์เพิ่มเข้ามาและปรับเปลี่ยนแค่ตัวชี้วัดผลงานเท่านั้น แต่คือการเปลี่ยน Mindset ของการทำงานในองค์กรใหม่ ที่เปลี่ยนจากการทำงานตามฟังก์ชั่น(หน้าที่ใครหน้าที่มัน)มาเป็นการทำงานแบบโซลูชั่น(Business Solutions) ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นจะเลือกงานไหนขึ้นมาเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
หากต้องการนำเอา OKRs ไปใช้จริงๆ
อย่าเน้นแค่รูปแบบและตัวชี้วัด
แต่ต้องส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
Mindset ใหม่ของคนทำงานในองค์กร
เผื่อมีประโยชน์บ้างครับ
ณรงค์วิทย์ แสนทอง
#วิทยากรที่ปรึกษาด้านการบริหารคนและผลงาน
Line ID : narongwits
โฆษณา