4 เม.ย. 2021 เวลา 11:41 • ประวัติศาสตร์
บ้านเราพอหน้าแล้ง ก็จะมีประเพณีแห่นางแมวเพื่อขอฝน
แต่ชาว Banyuwangi ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ก็มีพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอฝน และขอพรเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของการเก็บเกี่ยว
ประเพณีที่เรียกว่า
Kebo-Keboan
Sunday with weird culture
Kebo(คีโบ)ในภาษาชวาแปลว่าควาย คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะใช้ควายทำนา และพิธีกรรมนี้ก็จะใช้ควาย แต่อย่างไรก็ตาม ควายในที่นี้จะไม่ได้ใช้ควายจริงๆ แต่จะเป็นคน ที่จะแต่งตัวและแสดงท่าทางเหมือนควายในทุ่งนา
พิธีกรรมของ Kebo-keboan จัดขึ้นปีละครั้งในเดือน Muharram หรือ Suro (ในปฏิทินชวา) เดือนนี้คนชวาเค้าเชื่อกันว่ามีพลังวิเศษ พิธีกรรมนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ใน Banyuwangi ซึ่งประเพณี kebo-keboan นี้ได้รับการอนุรักษ์ให้ยังคงมีอยู่ ไว้2แห่งคือในหมู่บ้าน Alasmalang เขต Singojuruh และหมู่บ้าน Aliyan เขต Rogojampi ในเมือง Banyuwangi
1
ที่มาของพิธีกรรม kebo-keboan ตามเรื่องเล่าในหมู่บ้าน Alasmalang ได้บันทึกไว้ว่า พิธีกรรมนี้เริ่มขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโรคร้ายลึกลับที่ชื่อ Pagebluk เกิดขึ้นกับหมู่บ้าน ในเวลานั้นประชาชนทุกคนมีโรคภัยไข้เจ็บ ศัตรูพืชบุกไร่นาของชาวบ้านเสียหาย หลายคนอดอยากและเสียชีวิตจากอาการเจ็บป่วยอย่างลึกลับ ในสภาวะที่วิกฤติเช่นนี้ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านชื่อ Mbah Karti นั่งสมาธิอยู่บนเนินเขา ในระหว่างการทำสมาธิเขาก็มีนิมิต เลยนำมาบอกชาวบ้านให้จัดพิธีบูชา kebo-keboan และเชิดชูเทวีศรีหรือเทพีศรี (ตามความเชื่อของชาวฮินดูในเกาะชวา) เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองและเป็นผู้ดูแลรักษาข้าว
ความมหัศจรรย์เกิดขึ้นเมื่อผู้คนถือพิธีกรรม ชาวบ้านที่เจ็บป่วยกะทันหันก็หายขาด ศัตรูพืชที่ทำร้ายต้นข้าวก็หายไป ตั้งแต่นั้นมาพิธีกรรมของ kebo-keboan ก็ได้จัดอย่างต่อเนื่องขึ้นทุกปี เพื่อขอพร และปกป้องชาวบ้านจากเหตุร้ายที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา
ซึ่งกิจกรรมของพิธีนี้ค่อนข้างดูสนุกสนาน และเต็มไปด้วยความอบอุ่นของชาวบ้าน ที่ร่วมมือร่วมใจกันจัดงานขึ้นมา
#Obsoletearticles
โฆษณา