6 เม.ย. 2021 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
การก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร
เหตุการณ์ระเบิดพลีชีพ ณ กลางเมืองแมนเชสเตอร์ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2017 มันเกิดอะไรขึ้น ใครเป็นคนร้าย แล้วแรงจูงใจคืออะไร ผมขอเรียบเรียงมาให้ผู้อ่านได้ทราบกัน
(มือระเบิด)
'ซัลมาน รามาดาน อะเบดิ' (Salman Ramadan Abedi) ชายอายุ 22 ปีชาวอังกฤษมุสลิมเชื้อสายลิเบีย เขาเกิดในเมืองแมนเชสเตอร์ประเทศอังกฤษจากครอบครัวของผู้อพยพชาวลิเบีย
1
เพื่อนบ้านกล่าวว่าครอบครัวของซัลมานนั้นเคร่งศาสนามากๆ พวกเขามักจะไปเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาที่มัสยิดเป็นประจำ
ซัลมานเคยเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ณ The Manchester College โดยอาจารย์ที่เคยสอนเขานั้น ให้ความเห็นเกี่ยวกับตัวของซัลมานไว้ว่า "เป็นคนเรียนรู้ได้ช้า ไร้การศึกษา และชอบเก็บตัว"
หนังสือพิมพ์ของประเทศอังกฤษ(The Times) ก็ยังเคยระบุถึงตัวซัลมานว่า เป็นหนึ่งในกลุ่มนักเรียนในช่วงมัธยมที่เคยกล่าวหาอาจารย์ว่าเป็นพวก 'เหยียดศาสนาอิสลาม' จากการถูกอาจารย์ถามความเห็นต่อ'มือระเบิดพลีชีพ'
ซัลมานยังถูกระบุอีกว่า เขาเคยบอกเพื่อนว่าการเป็น'มือระเบิดพลีชีพ'นั้นเป็นเรื่องที่'OK' นั่นจึงทำให้เพื่อนๆของเขาเป็นกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวซัลมานเป็นอย่างมาก
1
ซัลมานเคยสมัครเรียนที่ University of Salford อีกด้วย ก่อนที่จะดรอปเรียนในเวลาต่อมา ภายหลังตำรวจเชื่อว่าเขาสมัครเรียนแค่เพราะจะเอา'ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา'ไปใช้เป็นทุนทรัพย์ในการเรียนรู้วิธีการทำระเบิดในประเทศลิเบีย
หลังจากที่ซัลมานกลับมาจากประเทศลิเบีย เขาได้หาซื้ออุปกรณ์ต่างๆเพื่อมาทำระเบิดด้วยตนเอง ระเบิดที่ซัลมานทำขึ้นมานั้น มีส่วนผสมของ 'acetone peroxide' เป็นหลัก ซึ่งเป็นระเบิดที่นิยมใช้กันมากในหมู่ผู้ก่อการร้าย ISIS (เพราะฉนั้นเรียนมาจากใคร ข้อมูลนี้น่าจะพอบอกได้)
1
(แรงจูงใจ)
เป็นที่ไม่ทราบแน่ชัดว่าซัลมานนั้นมีแรงจูงใจในการลงมือจากอะไร แต่พยานคนสำคัญอย่างน้องสาวของซัลมานเอง ได้เปิดเผยเรื่องนี้กับ Wall Street Journal ว่า
" อาจจะเป็นเพราะเขาเห็นเด็กมุสลิมถูกฆ่าตายในทุกที่ และอยากจะแก้แค้นคืน"
1
น้องสาวของซัลมานอ้างอิงถึงเหตุการณ์เครื่องบินของสหรัฐอเมริกาที่ทำการทิ้งระเบิดในสงครามซีเรีย
อย่างไรก็ดี พยานอีกท่านหนึ่งที่เป็นครอบครัวของเพื่อนซัลมานกล่าวในภายหลังว่า ซัลมานเคยสาบานในงานศพเพื่อน(ชาวมุสลิม)ที่ตายเพราะถูกแก๊งอันธพาลแทงในปี 2016 ว่าเขาจะแก้แค้นให้เพื่อน
จึงอาจจะสรุปได้ว่าการลงมือครั้งนี้มาจากความโกรธแค้นที่มองว่าชาวมุสลิมนั้นถูกกระทำก่อน
การทิ้งระเบิดของกองทัพสหรัฐในสงครามซีเรีย
(เหตุระเบิด)
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2017 ณ สถานที่ Manchester Arena เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้มีการจัดงานคอนเสริ์ตของศิลปินเพลงชื่อดังอย่าง Ariana Grande คาดว่ามีผู้มาร่วมงานครั้งนี้มากถึง 14,200 คน
หลังงานคอนเสิร์ตเวลาประมาณ 22:15 เจ้าหน้าที่พบเห็นชายผู้ต้องสงสัย(ซัลมาน)ใส่เสื้อผ้าสีดำทั้งตัวพร้อมกับกระเป๋าสะพายใบใหญ่ เจ้าหน้าที่ไม่ได้เข้าตรวจสอบตัวชายผู้ต้องสงสัยคนนี้เพราะเกรงว่าความสงสัยของเขาจะผิด และถ้าเป็นแบบนั้นเขากลัวว่าจะถูกตราหน้าเป็นพวกเหยียดเชื้อชาติ
เมื่องานคอนเสิร์ตจบลง ผู้ชมเริ่มทยอยออกจากงาน บางคนก็ยืนรอให้ผู้ปกครองมารับ ณ บริเวณทางออกของอาคาร
ในเวลาต่อมา ประมาณ 22:33 ชายต้องสงสัย(ซัลมาน)กดระเบิดพลีชีพตนเอง ณ บริเวณทางเข้าออกของอาคาร แรงระเบิดเป็นวงกว้างและไปไกลกว่า 20 เมตร
การระเบิดครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 22 คน (23 คนรวมผู้ก่อเหตุ) และมีผู้บาดเจ็บกว่าอีก 800 ราย
(ตามล่าผู้เกี่ยวข้อง)
1 วันหลังจากนั้น (23 พฤษภาคม) ตำรวจนำกองกำลังติดอาวุธครบมือ บุกไปยังที่พักของซัลมาน ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 1 คน
จากนั้นตำรวจบุกไปยังสถานที่อีก 2 แห่ง พวกเขาจับกุมผู้ต้องหาเพิ่มได้อีก 3 ราย
ตัดไปที่ประเทศลิเบีย น้องชายคนเล็ก(ฮาเช็ม)ของซัลมานนั้น ถูกตำรวจลิเบียจับตัวได้
ทางสหราขอาณาจักร (UK) เรียกร้องไปทางประเทศลิเบียให้ส่งตัวผู้ร้าย(ฮาเช็ม)ข้ามแดน เพื่อจะนำตัวขึ้นศาลในข้อห้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
1
(การสอบสวน)
เริ่มแรกของการสอบสวนนั้น ตำรวจคาดว่าเป็นการกระทำโดยเครือข่ายผู้ก่อการร้าย แต่ในภายหลังตำรวจพบว่า ซัลมานนั้นเป็นคนจัดทำระเบิดเอง พวกเขาจึงเปลี่ยนความเชื่อว่า ซัลมานเป็นผู้ลงมือเพียงผู้เดียว ไม่ได้เป็นเครือข่ายผู้ก่อการร้ายอย่างที่คิดในตอนแรก
มีการเปิดเผยภายหลังว่า ซัลมานและฮาเช็ม(น้อยชาย)มีการพูดคุยกันทางโทรศัพท์ก่อนที่จะเกิดเหตุระเบิด 15 นาที นั่นจึงนำมาซึ่งการสอบสวนฮาเช็ม
จากการสอบสวน พบว่าฮาเช็มนั้นมีการติดต่อกับซัลมานจริง และ ตัวเขาเองก็ทราบถึงแผนการระเบิดพลีชีพของพี่ชายดี หนำซ้ำเขายังเป็นคนช่วยพี่ชายในการทำระเบิดอีกด้วย
ผู้ต้องสงสัยคนอื่นๆได้รับการปล่อยตัวทั้งหมดในเวลาต่อมาเนื่องจากไม่พบความเกี่ยวข้องกับมือระเบิด ยกเว้นตัวของฮาเช็ม
(คำตัดสินของศาล)
ฮาเช็มถูกนำตัวขึ้นศาลของประเทศอังกฤษด้วยข้อหา ฆาตกรรม พยายามฆาตกรรม และสมรู้ร่วมคิดนำมาซึ่งเหตุระเบิด
เขาถูกตัดสินให้มีความผิดฐานฆาตกรรมจำนวน 22 ข้อหา เนื่องจากมีส่วนในการช่วยเหลือพี่ชายจัดหาวัตถุในการทำระเบิด
ฮาเช็มถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 55 ปีแทนที่จะเป็นการจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากขณะนั้นเขามีอายุเพียง 20 ปี (โทษจำคุกตลอดชีวิตจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำผิดมีอายุ 21 ปีหรือมากกว่า)
(ผลที่ตามมา)
เทเรซ่า เมย์ (Theresa May) นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรในขณะนั้นออกมาประนามการโจมตีครั้งนี้ว่า "เป็นอุดมการณ์ที่ชั่วร้ายของลัทธิอิสลามหัวรุนแรง และ เป็นการบิดเบือนคำสอนของศาสนาอิสลาม"
ควีน อลิซาเบธ ที่สอง แสดงความเห็นใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้
ตำรวจรายงานว่ามีเหตุอาชญากรรมที่มีลักษณะ 'เกลียดชังคนอิสลาม' เพิ่มสูงขึ้นถึง 500% ภายใน 1 เดือน
'ปฏิบัติการณ์เทมเพอเรอร์' ถูกอนุมัติใช้งานเป็นครั้งแรก เป็นการใช้กำลังทหารกว่า 5,000 นาย กระจายไปตามจุดสำคัญของเมืองทั่วประเทศเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย
(บทส่งท้าย)
ศิลปินนักร้อง Ariana Grande (ศิลปินภายในงานวันที่โดนระเบิด) จัดคอนเสิร์ตเพื่อการกุศลขึ้นภายในเมืองแมนเชสเตอร์ในอีกหลายวันต่อมา ภายใต้ชื่อว่า 'One Love Manchester' เพื่อเป็นการรวมใจของผู้คนภายในเมืองแมนเชสเตอร์อีกครั้งหลังจากผ่านเหตุการณ์ที่เลวร้ายมา
1
หนึ่งใน Highlight ที่สำคัญที่สุดในงานคอนเสิร์ตคือการเชิญศิลปินท่านอื่น (คริส มาร์ติน จากวง Coldplay) ขึ้นมาร่วมเล่นเพลง Don't Look Back in Anger ของวง Oasis
สำหรับชาวเมืองแมนเชสเตอร์แล้ว วง Oasis เป็นดั่งฮีโร่ของพวกเขา เป็นวงดนตรีที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองทุกคน (ยกเว้นว่าถ้าคุณเป็นแฟนแมนยูไนเต็ด) และคงจะไม่มีการให้กำลังใจกันที่ดีไปกว่าการร่วมร้องเพลงของ'ฮีโร่'ให้แก่กันและกัน
1
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยเพลง Don't Look Back in Anger
(อย่ามองย้อนกลับไปด้วยความโกรธแค้น..)
โฆษณา