5 เม.ย. 2021 เวลา 09:58 • ความคิดเห็น
ต้นทุนวิชาชีพ คืออะไร??
หมูทอดชิ้นละ 400.- ถ้าคุณทอดเองไม่ได้ มันก็ไม่แพง
ค่าหมู 60.- ค่าที่ไม่รู้ว่าทอดยังไงอีก 340.- ยังไงล่ะ
เป็นเรื่องขึ้นมาเมื่ออาจารย์เชฟ Pattapol Yongsakulwanich โพสต์ตัดพ้อว่าวงการอาหารไทยจะพัฒนาขึ้น ถ้าผู้บริโภคเข้าใจและให้คุณค่ากับ “ต้นทุนวิชาชีพ”
4
ว่ากันตามจริงในประเทศเรา มักจะได้ยินบ่อยกับประโยคที่ว่า
🚨“เฮ๊ย!! อะไรอ่ะ ทำแป๊บเดียวทำไมแพงจัง!!??”🚨
2
ไม่ว่าจะวงการอะไรมักจะเจอกรณีแบบนี้ทั้งนั้น
ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์คิดค่าตรวจเช็คขั้นต้น 500 บาท
หมอตรวจคัดกรองโรค คิดค่าวินิจฉัยโรค 500 บาท
ทนายคิดค่าปรึกษาเบื้องต้น 1,000 บาท
1
ซึ่งผู้คนก็ค่อนขอดว่า ยังไม่ทันทำอะไร หรือ ไม่เห็นทำอะไรเลย ทำไมคิดเงินเสียแล้วล่ะ แต่หากคิดให้ลึกลงไป ก็จะเห็นว่า กว่าวิชาชีพแต่ละสาขา จะสามารถมานั่งตรวจเช็ควินิจฉัยให้คุณได้นั้น ก็ต้องผ่านการเล่าเรียนศึกษา เพิ่มพูนทักษะมาช้านานขนาดไหน ถึงจะมองแค่ปราดเดียวก็รู้ว่าคุณต้องซ่อม ต้องรักษา หรือต้องต่อสู้คดีอย่างไร
3
แต่สามอาชีพข้างต้นยังไม่ถูกต่อว่ามากเท่ากับอาชีพงานด้านศิลปะ ที่ผู้คนด้อยค่าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีการว่าจ้างให้ออกแบบ โปสเตอร์ ป้ายผ้า โบรชัวร์ โลโก้ กล่องผลิตภัณฑ์ ฯ จึงมักจะร้องโวยวายกับราคาที่สูงกว่าที่ตนเองตั้งไว้ในใจ
1
งานด้าน Graphic Design ก็มีต้นทุนอาชีพเช่นกัน ทั้งค่าเล่าเรียน ค่าโปรแกรม ค่าอุปกรณ์ ค่าการฝึกฝนทักษะมาอย่างยาวนาน กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ที่ลูกค้าค่อนขอดว่า “เห็นขยับเมาท์ไม่กี่ที ก็เสร็จแล้วนี่นา ทำไมตั้งสามพันบาท”
2
ก็เพราะการ “ขยับเมาส์ไม่กี่ที” ที่ลูกค้าว่า ต้องผ่านอะไรมามากมายนัก ใช่ว่าคนธรรมดาที่ไม่ได้ศึกษามาจะทำได้เสียเมื่อไหร่ ยิ่งคนที่ชำนาญมาก ๆ นั่นหมายความว่าฝึกใช้งานมามาก ฝึกการคิดวิเคราะห์มาอย่างโชกโชนว่า สีไหนใช้กับสีไหน สินค้าแบบนี้ควรออกแบบให้ขึงขังหรืออ่อนช้อย ฯ เหล่านี้เรียกว่า “ต้นทุนวิชาชีพ”
2
กลับไปที่ หมูทอดชิ้นละ 400.- หากตัดเรื่องค่าเช่าสถานที่ ค่าอุปกรณ์ในการทำ หรือในการรับประทานออกไป ค่าหมู 60.- เหลือค่าที่ไม่รู้ว่าทอดยังไงให้อร่อย 340.- นี่คือต้นทุนวิชาชีพที่เป็นเคล็ดลับการประกอบอาหารที่ใครก็ถอดสูตรได้ยากนัก มิเช่นนั้นก็คงมีการเลียนแบบและทำออกมาตัดราคากันมากมาย
2
ผู้เขียนเคยทำงาน Software house เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว ทางบริษัทรับเทคโอเวอร์โปรแกรม Database ของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งมา เมื่อมีปัญหา เจ้านายจะส่งผู้เขียนไปค้นหา Bug แล้วแก้ที่หน้างานเลย
1
ด้วยประสบการณ์แก้ Bug ที่ทำมานาน การค้นหาต้นตอ Error และแก้ไขจึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งแค่นั่งจุ่มก้น แล้วจิ้ม Keyboard ไม่กี่มาน้อย ทุกอย่างก็กลับมา Run ได้ตามปกติ ทางบริษัทเรียกเก็บเงินในการเข้าไปแก้เร่งด่วนแบบนี้ครั้งละ 2,000 บาท
ผู้เขียนเคยถามเจ้านายครั้งนึงว่า “ไม่แพงไปเหรอพี่ หนูนั่งทำแค่แป๊บเดียวเอง” เจ้านายตอบกลับด้วยคำถามว่า “เอ็งทำงานนี้มากี่ปีแล้ว นั่งแก้ Bug คนอื่นมากี่พันครั้ง ไม่ใช่ทุกคนหรอกนะที่จะแก้ Error ได้อย่างเอ็ง” ตั้งแต่นั้นมาผู้เขียนก็เข้าใจคำว่า “ต้นทุนทางวิชาชีพ” อย่างถ่องแท้
4
เมื่อเติบโตขึ้นทางมหาวิทยาลัยชื่อดังมาติดต่อให้ผู้เขียนไปสอนพิเศษในวิชา Web Design ซึ่งในตอนนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในมหาวิทยาลัยเท่าไหร่นัก เอาเป็นว่าตอนส่งโปรเจคจบปริญญาตรีด้วยหัวข้อ Web Design ด้วยการสร้างเว็บไซท์ธรรมดา ยังหาอาจารย์มาสอบโปรเจคของผู้เขียนไม่ได้เลย
ดังนั้นเมื่อแจ้งกับทางมหาวิทยาลัยไปว่า หากต้องการว่าจ้าง ขอคิดค่าตัวชั่วโมงละ 1,000 บาท ทางมหาวิทยาลัยก็พร้อมตกลงทันที ทั้ง ๆ ที่เรทการว่าจ้างสอนเมื่อยี่สิบปีที่แล้วไม่สูงขนาดนี้ แต่เนื่องจากเป็นโครงการพิเศษ และหาผู้สอนไม่ได้นั่นเอง
เมื่อประสบกับตัวเอง ทำให้ผู้เขียนมองเรื่อง “ต้นทุนวิชาชีพ” อย่างเข้าอกเข้าใจมากยิ่งขึ้น ไม่เคยต่อรองราคากับงานที่ต้องใช้ทักษะ และเต็มใจที่จะจ่ายราคานั้นโดยไม่บ่น ไม่ว่าจะเป็นงาน Design การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือเข้าไปรับประทานอาหารในราคาสูง
โดยมีคติประจำใจเสมอว่า “ถ้าเราทำไม่ได้ ก็ต้องจ่ายในราคาที่เค้าบอกมา” แต่ถ้ามีประสบการณ์ชีวิตมายาวนานพอ ก็จะประเมินราคาของ “ต้นทุนวิชาชีพ” ของแต่ละสายงานได้เก่งขึ้นเอง เพราะในโลกใบนี้ก็มีบางคนที่ประเมินต้นทุนทางวิชาชีพของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง
3
ขอปิดท้ายด้วยเรื่องเล่าจากคอมเม้นท์ในโพสต์ดังกล่าว
1
รถเสียแล้วช่างมาซ่อมให้ เพียงแค่ขันน๊อตตัวเดียวนิดหน่อย แล้วค่าคิดค่าซ่อม 500 บาท เจ้าของรถเลยถามว่า ทำไมแพงจังแค่ขันน๊อตตัวเดียว ช่างเลยบอกว่า ค่าขันน๊อต 50 บาท ที่เหลือเป็นค่าที่รู้ว่า ต้องขันน๊อตตัวไหน
6
อ้างอิงโพสต์ต้นทาง จากเฟสบุ๊ค แอคเคาท์
Pattapol Yongsakulwanich
1
🙏❤️
โฆษณา