6 เม.ย. 2021 เวลา 13:44 • ความคิดเห็น

อย่ากังวลไป เริ่มจากภาพใหญ่ก่อน ค่อยลงภาพเล็ก

เรียนรู้งาน Fixed Asset Accounting ได้อย่างรวดเร็ว
โดยทั่วไปงานบัญชีทรัพย์สินก็จะเป็นงานดูแลและควบคุมทรัพย์สินทั้งหมดในบริษัท ให้สอดคล้องกับมาตราฐานการบัญชี นโยบายบริษัท และข้อกำหนดการควบคุมภายในของบริษัท
 
งานบัญชีทรัพย์สินจะต้องดูแลและควบคุมทรัพย์สินนั้นๆ จนกว่าจะถูกตัดจำหน่ายออกไป ถึงจะตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้ว ก็ยังคงต้องดูแลกันต่อ
ในมุมมองของเรา คนที่จะเป็นบัญชีทรัพย์สินนั้น จะต้องใส่ใจกับงานมากๆ ทุกครั้งที่ทำงานเราอยากให้นึกถึงว่า หากไม่ใช่เรา คนอื่นจะเข้าใจหรือไม่ การลงรายละเอียดทรัพย์สินให้ชัดเจนที่สุดในปัจจุบัน ก็จะทำให้ง่ายต่ออนาคตที่จะค้นหา และการทำงาน
สิ่งที่เราจะต้องได้ข้อมูลงานบัญชีทรัพย์สิน เพื่อให้ทำงานต่อได้ไวและสะดวกที่สุดคือ
1.Policy นโยบายบริษัทในส่วนของบัญชีทรัพย์สิน
2.Authority กำหนดการของผู้มีอำนาจอนุมัติรายการทรัพย์สินบริษัท
3.Flowchart สรุปผังงานบัญชีทรัพย์สิน
4.Asset Class and Depreciation ตารางผังบัญชีทรัพย์สิน ค่าเสื่อมราคา การคิดอายุการใช้งานทั้งทางบัญชีและภาษี รายการนี้อาจจะอยู่ในนโยบายบริษัท ถ้าไม่มีก็ต้องขอเพิ่ม
5.Cost center ตารางศูนย์ต้นทุนของทุกแผนก จะได้รู้ว่าบริษัทเรามีกี่แผนก กี่ส่วนงาน และจะใช้ตอน Capitalization ว่าจะเอาต้นทุนค่าเสื่อมไปอยู่ที่ Cost center ไหน
6.Site Map แผนผังโรงงานและเครื่องจักร จะได้รู้จักทุกสถานที่ไวขึ้น
7.Product ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัท เพื่อเชื่อมโยงกับทรัพย์สินที่ใช้ในการผลิต ถ้าไม่มี ให้ขอจากแผนกบัญชีต้นทุน
8.Contact Person ชื่อ ตำแหน่ง เบอร์ติดต่อของทุกแผนก ถ้ามีรูปด้วยยิ่งดี อย่างน้อยควรได้ข้อมูลของผู้จัดการของแต่ละแผนก และทีม planning Capex เพราะเราจะต้องประสานงาน
9.Chart signature ตัวอย่างลายเซ็นของผู้จัดการแผนก หรือเจ้าของทรัพย์สินแต่ละแผนก ที่มีอำนาจในการอนุมัติรายการทรัพย์สินและลงนามในใบแจ้งหนี้ เพราะเวลาเราตรวจเอกสารใบแจ้งหนี้ที่เป็นทรัพย์สิน จะได้รู้ว่าคนที่เซ็นคือใคร
10.TB and Reconcile งบทดลองเดือนล่าสุด และรายงานกระทบยอดทรัพย์สินเดือนล่าสุด
11.Report รายงานของบัญชีทรัพย์สินที่ต้องทำ
12.Fixed Asset Register เอกสารและทะเบียนทรัพย์สินเดือนล่าสุด
13.Fixed Asset Disposal เอกสารและทะเบียนทรัพย์สินที่ถูกตัดจำหน่าย
14.Fixed Asset Impairment เอกสารและทะเบียนทรัพย์สินที่ด้อยค่า
15.Fixed Asset Transfer เอกสารทรัพย์สินที่ย้ายแผนก
16.Physical Count เอกสารและข้อมูลการตรวจนับทรัพย์สิน
17.Asset under Construction เอกสารและข้อมูลทรัพย์สินระหว่างก่อสร้างหรือติดตั้งเดือนล่าสุด พร้อมข้อมูลความคืบหน้าของงาน
18.รายงานทรัพย์สิน ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากรายจ่ายเพื่อการลงทุนอีก 1 เท่า ตาม พรฏ ฉบับที่ 604 พ.ศ.2559 และ อีก 0.5 เท่า ตาม พรฏ ฉบับที่ 642 พ.ศ.2560 รายการนี้ต้องรู้ว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้างที่ได้สิทธิ และใช้สิทธิยกเว้นกับกรมสรรพากรไปแล้วกี่ปี และเหลือกี่ปี
19.Asset Catalog แคตาล็อกทรัพย์สิน รูปถ่าย สถานที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
20.Timeline กำหนดการทำงานและส่งงาน
**เพิ่มเติม**
21.Location of asset สถานที่ที่ทรัพย์สินถูกใช้งาน
22.Key control of fixed asset process ข้อปฏิบัติในการควบคุมการทำงานควบคุมทรัพย์สิน มีกี่ข้ออะไรบ้าง เช่น มีการตรวจนับทรัพย์สินหรือไม่, การขึ้นทะเบียน-การโอนย้าย-การตัดจำหน่าย ได้ถูกอนุมัติครบและถูกต้องหรือไม่, Tracking purchase CIP, Review DP before run depreciation
23.รายงานการตรวจสอบหรือประเด็นจาก Internal audit, External audit ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง และ expect to complete จะได้ทำการแก้ไข
24.หมายเหตุประกอบงบการเงินปีล่าสุด เพื่อใช้ประกอบการทำหมายเหตุฯ ในปีถัดไป
**แบ่งปัน: หากคุณต้องรับผิดชอบงาน project improvement process เรามีความจำเป็นต้องรู้ข้อมูล overview และ deep detail ในทุก process เพื่อเจาะว่าสาเหตุที่ทำให้ process สะดุดและมีปัญหาคืออะไร จากนั้นควรให้ solution แก้ไขในระยะสั้นและระยะยาวด้วยค่ะ
สิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติม คือ
1.มาตราฐานบัญชีเกี่ยวกับทรัพย์สิน
มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 16 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 23 ต้นทุนการกู้ยืม
มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 38 ทรัพย์สินไม่มีตัวตน
มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์
2.กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 138
3.ประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ วงเล็บ 2 3 4 5
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65ตรี วงเล็บ 5 15 17
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 145
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 243
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 315
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 375
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 385
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 473
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 504
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 505
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 604 พ.ศ.2559
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 642 พ.ศ.2560
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 266
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 300 (เพิ่มเติมฉบับที่ 266)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 51
คำสั่งกรมสรรพากร ป.3/2547
คำสั่งกรมสรรพากร ป.58/2538
คำสั่งกรมสรรพากร ป.132/2548
ข้อมูลที่เราให้ข้างต้นนั้น เป็นข้อมูลกลางๆ มาจากประสบการณ์ของเราที่เคยทำบัญชีทรัพย์สินโรงงานผลิตเครื่องดื่ม เราเข้าใจความรู้สึกของคนที่ไม่เคยทำงานนี้ เมื่อเรามีความรู้ เราจึงอยากบอกเล่าประสบการณ์นี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับใครได้บ้าง ไม่มากก็น้อย หรืออยากปรึกษาเกี่ยวกับงานบัญชีทรัพย์สิน ก็สามารถอินบล็อกมาได้นะ เราไม่ได้เก่งอะไรมาก แต่พอเอาประสบการณ์มาแนะนำได้จ้า และหากใครได้อ่านแล้วมีข้อแนะนำเรา ก็ยินดีและขอบคุณมากๆเลยค่ะ
เราอยากให้คุณมีความสุขกับการทำงาน
แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
บัญชีขาลุย Fixed Asset Accountant
สิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติม คือ
1.มาตราฐานบัญชีเกี่ยวกับทรัพย์สิน
มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 16 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 23 ต้นทุนการกู้ยืม
มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 38 ทรัพย์สินไม่มีตัวตน
มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์
2.กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 138
3.ประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ วงเล็บ 2 3 4 5
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65ตรี วงเล็บ 5 15 17
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 145
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 243
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 315
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 375
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 385
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 473
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 504
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 505
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 604 พ.ศ.2559
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 642 พ.ศ.2560
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 266
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 300 (เพิ่มเติมฉบับที่ 266)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 51
คำสั่งกรมสรรพากร ป.3/2547
คำสั่งกรมสรรพากร ป.58/2538
คำสั่งกรมสรรพากร ป.132/2548
เมื่อไหร่ที่เราสบายใจ ความกังวลจะหายไป สุดท้ายเราจะทำงานได้ดีโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลที่เราให้ข้างต้นนั้น เป็นข้อมูลกลางๆ มาจากประสบการณ์ของเราที่เคยทำบัญชีทรัพย์สินโรงงานผลิตเครื่องดื่ม เราเข้าใจความรู้สึกของคนที่ไม่เคยทำงานนี้ เมื่อเรามีความรู้ เราจึงอยากบอกเล่าประสบการณ์นี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับใครได้บ้าง ไม่มากก็น้อย หรืออยากปรึกษาเกี่ยวกับงานบัญชีทรัพย์สิน ก็สามารถอินบล็อกมาได้นะ เราไม่ได้เก่งอะไรมาก แต่พอเอาประสบการณ์มาแนะนำได้จ้า และหากใครได้อ่านแล้วมีข้อแนะนำเรา ก็ยินดีและขอบคุณมากๆเลยค่ะ
เราอยากให้คุณมีความสุขกับการทำงาน
แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
บัญชีขาลุย Fixed Asset Accountant
โฆษณา