7 เม.ย. 2021 เวลา 04:32 • ประวัติศาสตร์
นักโบราณคดีได้วิเคราะห์แผ่นหินในยุคสำริดที่พบในฝรั่งเศส ว่าเป็นแผนที่ 3 มิติที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป
แผ่นหินแผนที่นี้มีขนาด 2 เมตร คูณ 1.5 เมตร ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1900 และพบอีกครั้งในห้องใต้ดินในปราสาทแห่งหนึ่งในฝรั่งเศสในปี 2014 นักโบราณคดีที่ศึกษารูปแบบที่สลักบนหินอายุ 4,000 ปีเชื่อว่าแผ่นหินดังกล่าวเป็นแผนที่แบบ 3มิติของพื้นที่เมือง Brittany ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส
ชิ้นส่วนของหินที่เรียกว่า Saint-Bélec Slab เชื่อกันว่ามีอายุตั้งแต่ต้นยุคสำริดระหว่าง 1900 ปีก่อนคริสตกาลถึง 1650 ปีก่อนคริสตกาล ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1900 ระหว่างการขุดที่ฝังศพในเมือง Finistère ทางตะวันตกของ Brittany โดยนักโบราณคดีท้องถิ่น Paul du Chatellier
หลังจากที่นักวิจัยได้วิเคราะห์เครื่องหมายต่างๆและการแกะสลักบนหินแล้ว นักวิจัยก็สงสัยว่าแผ่นหินนี้ อาจเป็นแผนที่ จากรูปแบบของลวดลายซ้ำๆ ที่ต่อกันด้วยเส้นบนพื้นผิว บ่งชี้ถึงรูปแบบพื้นที่ของเมือง Finistère ในขณะที่เส้นหลายเส้นดูเหมือนจะแสดงถึงตำแหน่งของสายแม่น้ำ Odet ของพื้นที่
ตามตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เผยให้เห็นอาณาเขตที่แสดงบนแผนที่โบราณนี้ พบว่ามีความแม่นยำถึง 80% สำหรับพื้นที่รอบๆ แม่น้ำที่ทอดยาวไป 18 ไมล์
ซึ่งจริงๆแล้วมีแผนที่หลายฉบับที่แกะสลักด้วยหินในทุกมุมทั่วโลก แต่ส่วนมากเป็นเพียงการตีความทั่วไปว่าเป็นแผนที่ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้พบแผนที่ ที่แสดงรายละเอียดในส่วนพื้นผิวเป็นระดับพื้นต่ำสูง แบบ 3 มิติเสมือนจริง
นักวิจัยเชื่อว่า แผนที่ 3 มิตินี้ อาจเป็นวิธียืนยันความเป็นเจ้าของดินแดนโดยเจ้าชายหรือกษัตริย์ในช่วงเวลานั้น
#Obsoletearticles
โฆษณา