ดังตฤณ : เมื่อจิต มีความเป็นผู้รู้อ่อนๆ
หากจิตยังไม่ตั้งมั่น
อย่าพยายามทำอะไรเพิ่ม จะเสียหมด ..
ที่ยังไม่ได้ก็จะไม่ได้ต่อไป
ส่วนที่ได้ไปแล้ว เช่น ที่จิตเกิดความรู้สึกว่าง
เป็น ผู้รู้ ผู้ดู กองลมทั้งปวงอยู่เฉยๆ
ถ้า ณ เวลานั้น ไปทำอะไรเพิ่ม
ก็จะกลายเป็น ‘คิด’ จะไม่ใช่ ‘รู้’
.
เลื่อนจากฐานของกาย มาเป็นฐานของความคิด
พร้อมจะฟุ้งซ่าน ซึ่งมีแต่เสียกับเสีย
เป็นการพยายามเพิ่มเติม
โดยอาศัยความฟุ้งซ่านมาเป็นตัวนำ
.
ถ้าหากรู้ลมหายใจ โดยการอยากเพิ่มเติม
ทำอะไร ที่ก้าวหน้าขึ้น
จะทำให้จิต แปรสภาพ
จากผู้รู้ลมหายใจ กลายเป็นผู้คิด
เพื่อเอาดีเข้าตัว เอาความก้าวหน้าเข้าสู่ตัวตนของผู้ปฏิบัติ
มีตัวตนขึ้นมา ซึ่งผิดจุดประสงค์ในการทำอานาปานสติ
.
การทำอานาปานสติ หากสามารถพอจะรู้
ว่ามีแต่ลมผ่านเข้าผ่านออกๆ จิตเป็นผู้ดูอยู่
สิ่งที่จะต้องทำก็คือ ดูไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะรู้สึกถึงความตั้งมั่นของจิต
.
ความแตกต่างระหว่าง จิตตั้งมั่น อยู่ในอาการรู้
กับ จิตที่มีความรู้อ่อนๆ พร้อมกลับมาคิดฟุ้งซ่าน
มีข้อสังเกตง่ายๆ
.
จิตที่พร้อมกลับไปคิดฟุ้งซ่าน จะไม่ดูลมหายใจเฉยๆ
(แต่) จะคิดว่า ทำอย่างไรจะก้าวหน้า
ที่ทำอยู่ ถูกหรือเปล่า มีอะไรต้องทำให้มากขึ้นไหม
อย่างนี้ คือ รู้ครึ่ง คิดครึ่ง
.
ไม่เป็นไป เพื่อการสังเกตลมหายใจ
ไม่เป็นไป เพื่อการแยกจิตออกมา เป็นผู้รู้แบบบริสุทธิ์
.
จิตที่พร้อมจะรู้ทั่ว เป็นอย่างไร?
.
จิต เห็นความไม่เที่ยงของลมหายใจ และตั้งมั่นอยู่เฉยๆ
ไม่เกิดความรู้สึกยินดียินร้าย แม้กระทั่งความสุขที่เกิดขึ้น
รสชาติความสุข จากจิตที่นิ่ง เกิดจากใจที่สบาย
ก็เห็นเป็นแค่ภาวะหนึ่ง ไม่ได้ตื่นเต้น ยินดี
ไม่ได้มีความอยากจะหวงไว้
รู้อยู่เฉยๆ ไปเรื่อยๆ
.
จะรู้ให้ถึงไหน?