7 เม.ย. 2021 เวลา 08:59 • สุขภาพ
การแพร่ระบาดรอบใหม่นี้อาจจะเกิดจากเชื้อสายพันธุ์อังกฤษ ติดง่าย ตายง่ายกว่าเดิม
3
อ. น.พ. ยง ภู่วรวรรณ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ทางศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลีนิค คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการตรวจพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จากตัวอย่างของสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อกลุ่มคลัสเตอร์ทั้งกลุ่มบางแค (2 เคส) และทองหล่อ (24 เคส)
2
ผลการตรวจขั้นต้นด้วยวิธี Specific Probe RT-PCT พบว่า เชื้อไวรัสจากกลุ่มผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ทองหล่อมีลักษณะทางพันธุกรรมเป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 (ซึ่งแพร่ระบาดในประเทศอังกฤษ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563) ซึ่งน่าจะยังต้องรอการยืนยันอย่างเป็นทางการ และการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ติดเชื้อรายอื่นๆ
3
เชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.1.7 นี้มีอัตราการระบาดสูงว่าสายพันธุ์ปกติสูงถึง 1.7 เท่า และผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีปริมาณไวรัสสูงมาก ทั้งๆ ที่อาจจะไม่มีการแสดงอาการแต่อย่างใด
8
ซึ่งหากเป็นจริง ก็น่าจะอธิบายได้ว่า ทำไมการระบาดรอบใหม่ครั้งนี้ถึงไม่ได้มีการตรวจพบก่อนหน้านี้ เพราะผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่มีอัตราการติดเชื้อที่ง่ายกว่าเดิมมาก จึงทำให้การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว
2
ผลการวิจัยของ Nicholas Davies, Karla Diaz-Ordaz, and Ruth Keogh, London School of Hygiene and Tropical Medicine ซึ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดเชื้อ 2.2 ล้านคน กับผู้เสียชีวิต 17,452 คน ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 14 กุมภาพันธ์นี้ มีเคสประมาณครึ่งหนึ่งที่สามารถตรวจพบได้ว่าผู้เสียชีวิต มีการติดเชื้อจากสายพันธุ์ใด
5
ซึ่งจากข้อมูลชุดดังกล่าว นักวิจัยพบว่า ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ B1.1.7 มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 55% ในขณะที่ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน British Medical Journal ซึ่งศึกษาคนไข้ประมาณ 100,000 ราย ก็พบอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าปกติถึง 64%
2
ข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่น่าสนใจมาจาก CDC ประเทศสหรัฐอเมริกา จากกราฟ จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของผู้ติดเชื้อใหม่จากสายพันธุ์ B1.1.7 นี้ เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนคิดเป็น 27.2% ของผู้ติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งๆ ที่เชื้อนี้เพิ่งมีการแพร่ระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปลายปีที่ผ่านมานี้เอง นั่นเป็นการแสดงให้เห็นถึงความน่ากลัวในการแพร่เชื้อของเชื้อสายพันธุ์นี้
1
แต่ อ. น.พ. ยง ภู่วรวรรณ ยืนยันว่า เชื้อสายพันธุ์นี้ยังสามารถป้องกันได้โดยวัคซีนที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการฉีดให้กับประชาชน และวัคซีนมีความปลอดภัยสูง คือ แทบจะต่ำกว่า 1 ใน 1 แสนเคส ส่วนกรณีที่มีความเสี่ยง มักจะเกิดกับเพศหญิง อายุต่ำกว่า 55 ปี ซึ่งอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนเพศหญิง
3
โฆษณา