12 เม.ย. 2021 เวลา 01:05 • การตลาด
รู้จัก Virtual KOL: KOL เสมือนจริง เทรนด์การตลาดยุคใหม่โลกอินเตอร์เน็ตจีนที่น่าจับตามอง
1
เมื่อการตลาด KOLs มาเจอกับเทคโนโลยี AI/AR
1
Credit Photo: jumpstartmag
ในวงการตลาดดิจิตอลปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศจีน การนำเอากลยุทธ์ KOLs มาใช้ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการกระตุ้นยอดขายหรือสร้าง engagement
KOLs ย่อมาจาก Key Opinion Leader ภาษาจีนในวงการจะใช้คำว่า 网红 (อ่านว่า หว่างหง) ย่อมาจาก 网络红人 (อ่านว่า หว่างลั้วหงเหริน) แปลตรงตัวก็คือบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางโลกอินเตอร์เน็ต และกลายมาเป็นความหมายของบุคคลผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบ้านเราอาจจะเรียกว่า Influencer หรือ net idol ผู้ที่มีคนติดตามมากจำนวนหนึ่งในโลกออนไลน์จนกลายเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดก็เป็นได้
แต่หากเกริ่นเรื่อง KOLs เพียงอย่างเดียวอาจจะเชยไปเสียแล้วเพราะปัจจุบันโลกของการตลาดดิจิตอลในหลายประเทศที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้งและไม่ได้หยุดที่การใช้แค่ “มนุษย์” แต่ก้าวข้ามไปถึงการใช้ Virtual KOL หรือ ผู้มีอิทธิพลต่อความคิด”เสมือนจริง” ซึ่งก็คือ “ไม่ใช่มนุษย์” นั่นเอง
อะไรคือ Virtual KOL หรือ KOL เสมือนจริง
Virtual KOL/Influencer คือการสร้างตัวละครขึ้นมาจากคอมพิวเตอร์กราฟิกและใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เพื่อสร้างตัวการ์ตูนหรือตัวละครอนิเมชั่น ที่เราสามารถสั่งให้มันเป็นหรือทำอย่างไรก็ได้เสมือนว่าเป็นของจริงมีตัวตนจริงๆ
Virtual KOL หรือ KOL ถือกำเนิดมาเมื่อไร อย่างไร
Virtual idol ที่โด่งดังไปทั่วโลกตัวแรกคือ idol ที่ถือกำเนิดในปี 2007 จากแดนซากุระที่มีชื่อว่า Hatsune Miku ฮัตสึเนะ มิกุ ปัจจุบันมียอดติดตามใน Youtube ประมาณ 1.5 ล้าน subscribers
ฮัตสึเนะ มิกุ เป็นตัวละครหญิงใน VOCALOID (โวคาลอยด์) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับ Virtual Vocalist ที่มีการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สังเคราะห์เสียง (Singing Synthesis Technology) พัฒนาโดยบริษัท Yamaha ในจีนก็มี Virtual idol เช่นนี้เหมือนกัน และที่มีชื่อเสียงมีชื่อว่า Luo Tianyi洛天依 อ่านว่า ลั่วเทียนอี
ประวัติ 洛天依 Luo Tianyi ลั่วเทียนอี
Credit Photo: wallpapersden
ลั่วเทียนอี เป็น Vocaloid เวอร์ชั่นจีนตัวแรก ออกสู่ตลาดในวันที่ 22 เดือนมีนาคม 2012 ลั่วเทียนอีถูกสร้างโดยบริษัทลูกของ Yamahaชื่อว่า Bplats แต่ปัจจุบันถูกย้ายสังกัดไปที่ Shanghai Henian Information Technology
ลั่วเทียนอี ถูกสร้างให้เป็นนักร้องเพศหญิง อายุ 15 ปี สูง 156 เซนติเมตร เกิด วันที่ 12 เดือนกรกฎาคม ราศีกรกฏ ปี 2012 เป็นปีที่เธอได้รับความนิยมอย่างมากภายในอุตสาหกรรม ACG (Anime, Comic and Games) หลังจากนั้นก็มีผลงานตามมาอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นแสดงในเวทีคอนเสิร์ต และถูกเชิญไปปรากฏตัวในหลากหลายแพตฟอร์ม ซึ่งถือเป็น Virtual idol ที่มีชื่อเสียงที่สุดในจีนในขณะนี้
การเติบโตของ Virtual KOL ในจีน
Virtual KOL มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น แต่เทรนด์นี้ก็แผ่อิทธิพลมาในประเทศจีนโดยเฉพาะในกลุ่ม audience ยุค Gen Z ที่เข้าถึงได้ในหลากหลายแพลตฟอร์ม อาทิ Bilibili (NASDAQ: BILI) แพลตฟอร์ม video-sharing ที่เน้นcontent แนว anime และ virtual idol แต่ปัจจุบันก็มีให้เห็นได้ในแพลตฟอร์ม Douyin (Tiktok เวอร์ชั่นจีน) และ Taobao Live เพราะในช่วงยุค Covid-19 ผู้เล่นในโลก eCommerce พยายามจะสรรหาวิธีใหม่ที่สอดรับไปรับเทรนด์นี้ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Virtual KOL มาใหม่ หรือร่วมมือกับ Virtual KOL ที่มีอยู่แล้วในตลาด
1
เครื่องมือการตลาดที่ได้รับความนิยมสำหรับการกระตุ้นยอดขายคือการทำ livestreaming ที่ผ่านมาเราจะได้ยินข่าวว่า KOL คนนั้นคนนี้ทำการไลฟ์สดแล้วขายของ5 นาที สินค้าขายเกลี้ยงเป็นแสนชิ้น หรือ หลายพันชิ้นในเวลาเพียงไม่ถึงนาทีเป็นต้น ซึ่งเมื่อการตลาดขยายมาสู่โลกเสมือนจริง การทำ livestreaming มีหรือจะไม่ขยายมาสู่การใช้ Virtual KOL ในการไลฟ์สด
1
ดังนั้น ช่วงเมษายน 2020 Luo Tianyi (洛天依) อ่านว่า ลั้วเทียนอี ได้จับมือทำเคมเปญการตลาดกับ KOLs นักไลฟ์สดขายของชื่อดังในจีน (คนจริงๆ) ที่ชื่อว่านาย Austin Li李佳琪 หลี่เจียฉี
Credit Photo: campaignasia
นอกจากนี้ Miku ก็ยังได้มาร่วมงานกับ แพลตฟอร์มliveสดของถาวเป่า (Taobao’s live-streaming platform)อีกด้วย เทศกาล 618 ความนิยมของมิกุยังนำแซงดาราชื่อดังอย่าง 王一博 หวางอีโป๋ที่มียอดชมกว่า 10ล้านครั้ง
การมาเลือกใช้ Virtual KOL ไม่ได้หมายความว่าเป็นทางเลือกที่ถูกกว่า เพราะ การสร้างโมเดล 3D ไม่ได้มีราคาต่ำเลย เผลอๆ อาจจะแพงกว่า KOL ตัวท็อปๆเสียด้วยซ้ำ แต่ในอนาคตหากเทคโนโลยีพัฒนาไปในระดับที่ขยายได้มากกว่านี้แน่นอนต้นทุนจะต่ำลงมาแน่นอน แต่ในแง่ของ engagement virtual KOL ให้อัตราการengagement ที่สูงกว่าแบบ KOL คนจริงถึง 3 เท่าตัว
ตามรายงานของ South China Morning Post กล่าวว่า ภายในปี 2023 ตลาด Virtual KOL ในประเทศจีนคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 1,500 ล้านหยวน ในขณะที่ตลาด Virtual KOL ปัจจุบันในประเทศจีนแค่เสี้ยวเดียวของตลาดKOLsที่มีมูลค่าถึง 100,000 ล้านหยวน ดังนั้นโอกาสและศักยภาพในการเติบโตก็ยังคงมีอยู่อย่างมหาศาล นอกจากนี้จากรายงานของ iQiyi พบว่า ในปี 2019 หนุ่มสาวชาวจีนที่มีอายุระหว่าง 14-24 ปี ติดตาม Virtual idol หรือ KOL เสมือนจริง ถึง 64% เลยทีเดียว
เทรนด์นี้เติบโตไปด้วยกันกับเทคโนโลยี AI/AR ที่ช่วยผนวกโลก online เข้ากับ offline ด้วยกัน ซึ่งจริง ๆชาวเน็ตได้ยอมรับการมีอยู่ของ virtual cartoon หรือ คาเรกเตอร์เสมือนจริงอยู่แล้วในโลกอนิเมชั่นและเกมส์ออนไลน์ แต่ปัจจุบัน AR และ AI กำลังทำให้โลกเสมือนจริงมาบรรจบกันกับโลกโซเชียล บันเทิง โฆษณาและการตลาดดิจิตอลมากยิ่งขึ้น กลายเป็น อาณาเขตใหม่ที่ character เสมือนจริงจะทำลายกำแพงเก่าๆและเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโลกออนไลน์
Virtual KOL ไม่ได้เป็นแบบสไตล์การ์ตูนอย่างเดียวนะ มีเป็นแบบเสมือนคนจริงๆก็มี
ด้านซ้าย ชื่อว่า หลิง Virtual KOL แบบ Realistic เหมือนคนจริง  ด้านขวา ชื่อว่า โอว Virtual KOL แบบการ์ตูน
翎 LING หลิง: Virtual KOL ที่พัฒนาโดย AI ตัวแรกของจีน
LING ถูกสร้างร่วมกันระหว่างบริษัทสตาร์ทอัพ AI สัญชาติจีนที่ชื่อว่า Xmov Information Technology (มี Sequoia Capital ให้เงินทุน) และบริษัท Beijing Cishi Culture Media
นักพัฒนาได้ใช้เทคโนโลยี full-stack end-to-end AI ต้องการสร้างหลิงให้เหมือนมนุษย์มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกทางสีหน้า แววตา ท่าทาง และจะนำมาใช้งานในหลากลายกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นการ endorsement ทางธุรกิจ การทำ live-streaming รวมถึงกิจกรรมทั้งบนแพลตฟอร์มทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์
2
ตัวอย่าง Virtual KOL กับการสร้างแบรนด์ในจีน
ดูเหมือนเรื่องนี้อาจจะไม่ได้มาเล่นๆเสียแล้ว เมื่อหลากหลายแบรนด์ได้เลือกที่ใช้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ในการสื่อสารกับชาวเน็ตจีน
1
L’Oréal 欧莱雅 (อ่านว่า โอวหลานหยา) ก็มีการสร้างKOL แบบเสมือนจริงเป็นของตัวเองสำหรับการทำการตลาดในจีน KOL ตัวนี้มีชื่อว่า Mr Ou (นายโอว)
ประวัตินายโอว: นายโอวเป็นหนุ่มผู้มีความสามารถและสนใจหลากหลายด้าน อายุ 24 ปี ลูกครึ่งจีน-ฝรั่งเศส เป็นทั้งผู้ประกอบการ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้สนใจเรื่องสุขภาพผิวที่ทำงานในวงการความงาม
นายโอวแบบการ์ตูนแบบ2มิติ
นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายแบรนด์ในประเทศจีน ได้มีการนำเอาเครื่องมือ Virtual KOL มาใช้ในการทำการตลาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Perfect daily แบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำสัญชาติจีน แบรนด์ต่างชาติต่างๆอาทิ MAC, LUX, KFC เป็นต้น
เรื่องนี้ถือว่าเป็นที่น่าสนใจแต่ก็ต้องจับตามองต่อไปว่าการใช้ Virtual KOL จะรุ่งต่อไปนานแค่ไหนหรือไม่นานก็ร่วง? และถ้าไม่ร่วง จะเป็นไปในทิศทางใด
โฆษณา