8 เม.ย. 2021 เวลา 12:04 • ประวัติศาสตร์
ราชวงศ์ฮัชไมต์อ้างว่า ต้นตระกูลของครอบครัวนี้คือ ปู่ทวดของศาสดามุฮัมหมัด และเป็นตระกูลผู้ปกครองนครศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนาอิสลาม คือ นครมักกะห์ และนครเมดินาที่อยู่ในแคว้นเฮจาซภายใต้อำนาจของอาณาจักรออตโตมานมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
4
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ชารีฟ ฮุสเซน บินอาลี ผู้นำของตระกูลฮัชไมต์ และผู้ปกครองแคว้นเฮจาซได้ตกลงที่จะช่วยอังกฤษรบกับอาณาจักรออตโตมาน และเยอรมนีโดยได้รับสัญญาว่าเขาจะได้เป็นกษัตริย์แห่งชาวอาหรับทั้งมวล ซึ่ง ชารีฟ ฮุสเซน บินอาลี ก่อกบฏต่อต้านการปกครองของออตโตมานใน พ.ศ.2459 โดยทางอังกฤษส่ง พันเอกทอมัส เอ็ดเวิร์ด ลอว์เรนซ์ (ลอว์เรนซ์แห่งอาระเบีย) พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ร่วมมือกับฝ่ายอาหรับต่อสู้กับอาณาจักรออตโตมานอย่างเต็มที่ ครั้นสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงโดยฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏว่าทางอังกฤษได้ทำสัญญาลับกับฝรั่งเศส โดยยกซีเรียให้กับฝรั่งเศสทำให้ลูกชายคนหนึ่งของ ชารีฟ ฮุสเซน บินอาลี ชื่อ ไฟซาล ผู้ร่วมรบกับพันเอก ทอมัส เอ็ดเวิร์ด ลอว์เรนซ์ มาโดยตลอดไม่ยอม และเข้ายึดครองซีเรียด้วยกำลัง แต่ถูกกองกำลังของฝรั่งเศสขับไล่ออกจากซีเรีย
5
ทำให้ทางอังกฤษแก้ไขปัญหาด้วยการยกดินแดนประเทศอิรักให้ไฟซาลเป็นกษัตริย์ปกครอง ส่วนดินแดนปาเลสไตน์ส่วนหนึ่งอังกฤษก็ยินยอมให้ยิวเข้าครอบครองตั้งเป็นประเทศอิสราเอล และดินแดนปาเลสไตน์ ส่วนที่เหลือก็ยกให้ อับดุลลาห์ (ลูกชายอีกคนหนึ่งของชารีฟ ฮุสเซน บินอาลี เป็นกษัตริย์ปกครองเป็นประเทศจอร์แดนในปัจจุบัน
กษัตริย์อับดุลลาห์ (คนที่ 2 จากซ้าย) และเจ้าชายฮุซัยน์มกุฎราชกุมาร (ริมขวา)
สำหรับตัว ชารีฟ ฮุสเซน บินอาลี ก็ตั้งลูกชายคนโตคือ อาลีเป็นกษัตริย์แห่งเฮจาซ จนกระทั่ง พ.ศ.2466 ก็ถูกกษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบียใช้กำลังทหารขับไล่ออกไปจากเฮจาซ ส่วนที่อิรัก กษัตริย์ฮัสซันหลานชายของไฟซาลก็ถูกทหารทำการรัฐประหาร และถูกสังหารไปใน พ.ศ.2501
5
ในที่สุดราชวงศ์ฮัชไมต์ยังคงปกครองดินแดนอาหรับที่เหลือเพียงแห่งเดียวคือ ประเทศจอร์แดน โดยมีกษัตริย์ฮุสเซนทรงปกครองจอร์แดนมายาวนานเกือบ 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2495 จนถึง 2542 เมื่อกษัตริย์ฮุสเซนแห่งจอร์แดนสวรรคตเมื่อปี 2542 มกุฎราชกุมาร อับดุลลาห์ บิน อัลฮุสเซน ก็ขึ้นครองราชย์แทนโดยตั้งน้องชายต่างมารดาคือ เจ้าชายฮัมซาห์ บิน ฮุสเซน เป็นมกุฎราชกุมารตามคำขอร้องของกษัตริย์ฮุสเซนผู้เป็นบิดา เพราะพ่อรักลูกชายคนนี้มาก แต่ใน พ.ศ.2547 กษัตริย์อับดุลลาห์ก็ปลดเจ้าชายฮัมซาห์ บิน ฮุสเซน ออกจากตำแหน่งมกุฎราชกุมาร เพื่อแต่งตั้งลูกชายของตนเอง คือ เจ้าชายฮุซัยน์ บิน อับดุลลาห์ ขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารแทน
4
ครับ! เกิดวิกฤตการณ์ในจอร์แดนเกิดขึ้นในวันเสาร์ที่ 3 เมษายนที่ผ่านมานี้ คือ มีการจับกุมตัว นายบาสเซม อาวาอัลเลาะห์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตหัวหน้าเจ้าหน้าที่ราชสำนักฮัชไมต์ของกษัตริย์ อับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดน นอกจากนี้ นายบาสเซม อาวาอัลเลาะห์ ยังเป็นที่ปรึกษาของ เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบียอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมี นายชาริฟ ฮัสซัน บิน ซาอิด สมาชิกราชวงศ์จอร์แดน และเป็นพระญาติห่างๆ ของอับดุลเลาะห์ที่ 2 อีกด้วยในข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร
5
เจ้าชายฮัมซาห์ บิน ฮุสเซน อดีตมกุฎราชกุมาร
มีรายงานข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ และหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า เจ้าชายฮัมซาห์ บิน ฮุสเซน อดีตมกุฎราชกุมารก็ถูกกักบริเวณ เพื่อสืบสวนข้อหาที่ว่าพระองค์กำลังวางแผนโค่นอำนาจกษัตริย์ อับดุลเลาะห์ด้วยการกระตุ้นให้มีการลุกฮือประท้วงของประชาชน โดยมีพวกชนเผ่าต่างๆ ในจอร์แดนสนับสนุน และทางการจอร์แดนกำลังสอบสวนด้วยว่ามีชาวต่างชาติเข้าร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งเจ้าชายฮัมซาห์ได้ เปิดเผยว่า พระองค์ถูกกักบริเวณจริง แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการโค่นอำนาจกษัตริย์อับดุลเลาะห์เลย ถึงแม้ว่าพระองค์จะเคยวิจารณ์การคอร์รัปชั่นในรัฐบาลจอร์แดนอย่างเผ็ดร้อนก็ตาม
2
เจ้าชายฮัมซาห์ยังแจ้งว่า พระองค์ถูกกักตัวแล้วบรรดาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยส่วนพระองค์ก็ถูกปลดทั้งหมดพร้อมกับระบบการสื่อสารทั้งหมด รวมถึงอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์ก็ถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง แล้วบรรดาพระสหายของพระองค์จำนวนหนึ่งก็ถูกจับกุมไปด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่าทางการซาอุดีอาระเบีย อียิปต์, เลบานอน, บาห์เรน, อิรัก, คูเวต และกาตาร์ ต่างก็ประกาศว่า พวกตนให้การสนับสนุนเต็มที่ต่อกษัตริย์อับดุลลาห์ และการตัดสินพระทัยของพระองค์เพื่อรักษาความมั่นคง และเสถียรภาพรัฐบาลจอร์แดน ส่วนกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาแถลงว่า
กษัตริย์จอร์แดนทรงเป็นหุ้นส่วนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคตะวันออกกลาง และสหรัฐอเมริกาสนับสนุนพระองค์อย่างเต็มที่
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
1
โฆษณา