9 เม.ย. 2021 เวลา 10:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ถามจริงๆ ซื้อหุ้นตามบทวิเคราะห์แม่นจริงไหมครับ ❓ <<มีคำตอบ>>
ในชีวิตการเป็นนักลงทุนของทุกท่าน เชื่อว่าคงต้องมีสักครั้งที่ตัดสินใจเลือกซื้อหุ้นตามบทวิเคราะห์ และก็คงมีบ่อยครั้งที่เรามักอุทานขึ้นมาในทำนองที่ว่า “เห้ย! บทวิเคราะห์แนะนำซื้อ ทำไมมันลงวะ” หรือจะเป็น ”ทำไมราคาไม่วิ่งเลย ทั้งที่เป้าสูงลิบ” จนทำให้เกิดความสงสัยว่า สรุปแล้วบทวิเคราะห์ใช้งานได้จริงหรือไม่ ?
ซึ่งนี้คงเป็น 1 ในคำถามที่นักลงทุนอยากรู้คำตอบมากที่สุด เพราะบทวิเคราะห์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของการลงทุน โดยเฉพาะสำหรับมือใหม่ ที่จำเป็นต้องหวังพึ่งประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นจุดยึดเหนี่ยวในการตัดสินใจ
ดังนั้น เราจะขออาสาชวนทุกคนมาหาคำตอบ รวมถึงแสดงวิธีใช้งานบทวิเคราะห์ไปพร้อมกันผ่านบทความนี้
 
อ่านบทวิเคราะห์อย่าดูแต่ราคาเป้าหมาย
สังเกตไหมครับ ว่าแทบทุกบทความหรือบรรดากูรูต่าง ๆ เวลาให้ความเห็นเกี่ยวกับการอ่านบทวิเคราะห์ มักจะมีประโยคเท่ๆทั้งตอนจั่วหัวหรือปิดท้ายว่า
“ห้ามดูแต่ราคาเป้าหมาย” พร้อมอธิบาย+ยกตัวอย่างด้วยการแกะสมมุติฐานและใส่ความเห็นของตัวเองลงไปว่า “ใช้แบบนี้ไม่เหมาะสม”
โดยการกระทำแบบนี้มันก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการ Discredit ว่าผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นกำลังมีมุมมองที่ผิดพลาด และที่สำคัญก็ไม่มีอะไรมาการันตีว่า ความเห็นที่เราแก้ไปนั้นมันจะถูก
1
ดังนั้นแล้วหากถ้าทุกคนมีความเชื่อว่า โบรกเกอร์เขาได้จัดหาบุคลากรคุณภาพมาเป็นนักวิเคราะห์แล้ว ราคาเป้าหมายที่ประเมินได้ก็มาจากสมมุติฐานที่สมเหตสมผลที่สุด และการดูเพียงแค่ราคาเป้าหมายก็สามารถใช้งานได้ ซึ่งจะเป็นแบบนั่นจริงหรือไม่ ? เราจะมาพิสูจน์คำตอบกัน
ตารางแสดงราคาเป้าหมายเฉลี่ยของหุ้นทั้งหมดที่อยู่ใน SET50 วันที่ 5 ก.พ. 64 (2 เดือนก่อน)
1
เราได้ทำการเก็บรวบรวม “ราคาเป้าหมายเฉลี่ย” ของหุ้นทุกตัวใน SET50 มาทำการ Ranking เพื่อเปรียบเทียบดูว่าหุ้นตัวไหนที่ยังเหลือ Upsize จากราคาตลาดมากที่สุด
เพื่อให้นักลงทุนทุกท่านใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อขาย ซึ่ง Template นี้เป็น 1 ในข้อมูลที่ได้รับกระแสตอบรับค่อนข้างดีมาก แต่ทุกอย่างจะดูแย่ลงทันที … หากเมื่อเวลาผ่านไปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น “มันไม่ได้ผล”
ดังนั้น เราจะมาดูกันว่าจากข้อมูลในตาราง ณ วันที่ 5 ก.พ. ผ่านมาจนถึงในปัจจุบัน (5 เม.ย.) รวมเป็นเวลา 2 เดือน ราคาหุ้นของแต่ละตัวมีการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง
รูปแสดง%การเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดปัจจุบันกับ 2 เดือนก่อนหน้าโดยเรียงตาม %Upside
จากรูปเมื่อพิจารณาเฉพาะ 15 อันดับหุ้นที่มี Upside สูงสุด-ต่ำสุด จะพบว่า Zone ที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าเหลือ Upside สูง มีหุ้นแค่ 2 ตัวที่มีผลตอบแทนติดลบ โดยตัวที่ลบหนักสุด คือ BTS เพียงแค่ 1% เท่านั้น
1
ในขณะที่ Zone ที่ถูกประเมินว่าเหลือ Upside ต่ำ(หรือติดลบ) กลับมีถึง 7 ตัว หรือครึ่งนึงที่มีผลตอบแทนติดลบ !
นี่จึงเป็นข้อสรุปได้ว่า โดยภาพรวมหุ้นที่นักวิเคราะห์ประเมินมูลค่าที่เหมาะสม (Target Price) ไว้สูงเมื่อเทียบกับราคาตลาด (Market Price) จะมีการปรับตัวได้ดีกว่าเมื่อเวลาผ่านไป
ดังนั้น การซื้อหุ้นโดยอาศัยการประเมินราคาจากบทวิเคราะห์สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง
แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาโดยละเอียดจะเห็นว่า หุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นแรงกลับเป็นหุ้นที่ได้รับการประเมิน Upside ที่ค่อนข้างต่ำเป็นลำดับท้าย ๆ
2
เช่น KTC, SAWAD, COM7 จึงทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ?
เราจึงได้ค้นหาคำตอบเพิ่มเติมจนพบว่า ปัญหามันเกิดจากวิธีในการประเมินมูลค่าหุ้น เพราะโดยส่วนใหญ่ จะใช้วิธีแบบคิดลดกระแสเงินสดในอนาคต เช่น Dividend Discount Model หรือ ประมาณการ Cash Flow จึงทำให้การมองไปข้างหน้า ไม่คุม Factor ทั้งหมดที่จะมากระทบในอนาคต
ซึ่งนี้จึงเป็นปัญหาที่ทำให้ ผลลัพธ์เกิดการ Bias เฉพาะกลุ่ม อย่างในตารางจะเห็นว่าอันดับ 1-5 แทบจะเป็นหน้าเดิม ๆ อย่างหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าและกลุ่มอาหาร ที่ร้อยวันพันปีราคาก็ไม่เคยจะวิ่งเข้าเป้าให้เห็น
1
ในทางกลับกันหุ้นที่มี Story ว่าจะเติบโตในอนาคตอย่างบัตรเครดิตหรืออิเลกทรอนิกส์ที่ไม่สามารถประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ จึงทำให้ Target Price ต่ำเกินไป และนี้คือปัญหาใหญ่ที่ทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสซื้อหุ้น Growth Stock ในหลายหน เพราะเห็นว่าโบรกเกอร์มองว่ามันถึง-เกินราคาเป้าหมายแล้ว
1
ดังนั้น เราจึงต้องประยุกต์ใช้เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการ “ดูแบบแยกอุตสาหกรรม” โดยจัดลำดับ %Upside แยกออกเป็นหมวดต่าง ๆ แล้วทำการใช้ประสบการณ์ส่วนตัววิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมใดที่น่าจะลงทุนในช่วงนี้ จากนั้นค่อยทำการเลือกซื้อหุ้น ที่นักลงวิเคราะห์ประเมินว่าดีที่สุดในกลุ่ม ดังตัวอย่าง
รูปแสดง Ranking %Upside หุ้นใน SET50 โดยแบ่งตามหมวดอุตสาหกรรม
*อื่น ๆ หมายถึง หุ้นที่มีหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันไม่เกิน 3 ตัว
จากตารางจะเห็นว่าใน SET50 มีหุ้นที่ถูกจัดอยู่ในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคถึง 10 ตัว และเมื่อเรียงตาม %Upside จากบทวิเคราะห์แล้ว ใน 5 ลำดับแรก มีเพียงหุ้นตัวเดียวที่ให้ผลตอบแทนติดลบคือ BGRIM
ส่วนใน 5 ลำดับหลัง กลับให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม คือ มีหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียงตัวเดียว คือ PTTEP
และในหมวดถัดไปอย่างกลุ่มอาหาร ก็พบว่า CPF และ TU ก็มีผลตอบแทนที่เป็นบวกชนะ OSP และ CBG ที่โบรกเกอร์ให้ %upside เหลือน้อยกว่า
ส่วนกลุ่มสื่อสาร หุ้น TRUE ที่นักวิเคราะห์ประเมินว่ามี Upside มากที่สุด ก็มีราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและทิ้งให้ DTAC ที่มี Upside อยู่ในลำดับสุดของกลุ่ม ราคาปรับตัวลดลงเพียงแค่ตัวเดียว เป็นต้น
 
และจากข้อมูลในส่วนนี้ พวกเราก็ได้พิสูจน์ในทุกคนเห็นกันแล้วนะครับ ว่าสามารถใช้ “ราคาเป้าหมาย” ในบทวิเคราะห์มาประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ และมันก็ให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของเราก็ยังมีเรื่องที่เป็นข้อควรระวังในการใช้งาน มาให้ทุกคนพิจารณาเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
2
1.ห้ามยึดติดกับราคาเป้าหมายเป็นเด็ดขาด
เราอยากให้ทุกท่านลองนึกดู ว่าเคยมีครั้งไหนที่เห็นราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปถึงราคาเป้าหมายบ้าง ?
หลายคนคงพยายามนึกแต่ก็นึกไม่ออก ซึ่งก็เป็นเพราะว่า โบรกเกอร์เขาจะทำการแก้ไขและปรับเปลี่ยนตัวเลขเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา
โดยเมื่อไหร่ที่ราคาใกล้ถึงเป้า เขาก็จะเปลี่ยนสมมุติฐานในการคำนวณเพื่อเปลี่ยน Target Price เหมือนอย่างที่เราเห็นข่าวอยู่บ่อย ๆ ที่โบรกเกอร์ทำการปรับเป้า SET ขึ้น ๆ ลง ๆ ตามสภาวะตลาด
ดังนั้น นักลงทุนทุกท่าน ต้องคอยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของราคาเป้าหมายและ %upside อยู่ตลอดเวลา โดยเราจะทำการ Update ให้ทุกวัน(ดังรูป) ผ่านทางเพจตอน 18.00 น. และทางกระทู้ Pantip ♠ ♥ ♦ ♣ โพยหุ้น&TFEX 🎲 ทุกเช้าเวลา 9.00 น.ของวันถัดไป
2.ทำใจว่าบทวิเคราะห์มักจะให้มุมมองเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ
อย่างที่พวกท่านเห็นในตาราง บทวิเคราะห์ส่วนใหญ่มักประเมินมูลค่าหุ้นให้สูงกว่าราคาตลาด โดยต่อให้เศรษฐกิจหรือสภาวะตลาดจะอยู่ในโทนลบก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้ก็ต้องยอมรับว่า ธุรกิจของโบรกเกอร์ก็มีความเกี่ยวพันกับการทิศทางตลาด จึงอาจต้องมีการ Bias เชียร์ให้ซื้อหุ้น โดยอาศัยบทวิเคราะห์เป็น 1 ในเครื่องมือ รวมถึงอาจมีเรื่องความสนิท หรือเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ถูกประเมิน
ดังนั้น เราจึงเลือกใช้วิธีดูด้วยการหาค่าเฉลี่ยมุมมองของทุกโบรกและดูโดยเปรียบเทียบว่าตัวไหนดีที่สุดมากกว่าดูแค่เห็นว่าเหลือ Upside เลยซื้อ
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของความเกรงใจ ทำให้พวกเขาไม่กล้า Recommend แบบตรง ๆ เช่น บางทีที่โบรกเกอร์ประเมินให้ Hold หุ้นตัวนั้น ความหมายที่แท้จริงที่เขาอยากสื่ออาจจะเป็น “จงหนีไป ! หุ้นตัวนี้ไม่น่าสนใจแล้ว แต่พิมพ์ตรง ๆ ไม่ได้” เป็นต้น
1
ถ้าพูดตามความรู้สึก + ประสบการณ์ส่วนตัว มองว่ามันมีประโยชน์เฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการซื้อหุ้นแข็งแกร่งแล้วถือยาวในระยะหนึ่ง โดยคาดหวังผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดไม่มาก แต่สำหรับใครที่เล่นหุ้นแบบตามธีมในขณะนั้น , Growth Stock โดยคาดหวังผลตอบแทนมากกว่าตลาดเป็น 10 ๆ % ต่อรอบ ข้อมูลพื้นฐาน+ตัวเลขพวกนี้แทบไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่เลย
1
แล้วในระยะสั้นละ บทวิเคราะห์ยังน่าเชื่อถืออยู่ไหม ?
“ในระยะยาวสามารถคาดการณ์ทิศทางได้จริง แต่ในระยะสั้นคงไม่มีใครสามารถคาดการณ์ทิศทางได้” นี่น่าจะเป็นความคิดที่นักลงทุนหลายคนเชื่อ โดยแม้กระทั่งพวกเราเองก็มีความคิดเช่นนี้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ตัวแทนที่ดีที่สุดในการหาคำตอบนี้ คือ “บทวิเคราะห์ TFEX” เนื่องจากนักวิเคราะห์ TFEX จะต้องคอยทำหน้าที่ให้มุมมองและกลยุทธ์ในทุกวันทั้ง Long และ Short โดย Performance ของพวกเขาก็จะขึ้นอยู่กับความแม่นยำในการแนะนำ ซึ่งทางเราก็ได้มีการเก็บรวบรวมกลยุทธ์ของแต่ละโบรกเกอร์พร้อมทั้งทำเป็นสถิติ ดังตาราง
รูปแสดงกลยุทธ์การซื้อ-ขาย SET50 Futures ของโบรกเกอร์ประจำวันที่ 5 เม.ย.64
จากรูปเราได้เก็บรวบรวมกลยุทธ์ในการลงทุน SET50 Futures ของโบรกเกอร์ทุกเช้า โดยแต่ละโบรกก็จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
ดังนั้น เราจึงไม่ขอแตะรายละเอียดของแต่ละที่ แต่เราจะสรุปจาก “เสียงส่วนใหญ่” อย่างในรูปจะเห็นว่าในวันจันทร์ที่ 5 เม.ย. มีโบรกเกอร์แนะนำ Long 6 เจ้า และ Short 4 เจ้า
จึงสรุปว่ามุมมองโดยส่วนใหญ่เป็นฝั่งขาขึ้น จากนั้นทำการเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของ SET50 Futures ว่าในวันนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตามที่คาดหรือไม่ ? (ไม่คำนึงถึงจุดเข้า-ออก)
และจากผลรวมทั้งหมด 110 วันทำการที่ผ่าน พบว่าถูกทาง 63 วัน หรือคิดเป็นประมาณ 60% ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า บทวิเคราะห์ในระยะสั้นสามารถใช้ประกอบการตัดสินซื้อ-ขายได้ดีระดับหนึ่ง (มากกว่าครึ่ง) แต่ไม่สามารถทำตามให้ได้กำไรในทุกครั้งได้
จากข้อสรุปคงเห็นกันแล้วนะครับ ว่าในระยะสั้นมันเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำให้ได้กำไรในทุกครั้ง และทุกคนสามารถใช้บทวิเคราะห์ในการชี้นำทิศทางได้ โดยมีโอกาสถูกมากกว่าผิด แต่ตัวเลขก็ไม่ได้ดู Success อย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้น ใครที่เป็นสายเก็งกำไรจะจำเป็นต้องพึ่งพาความรู้+ประสบการณ์อื่น ๆ อีกมากในการตัดสินใจซื้อขาย เช่น การวิเคราะห์ทางเทคนิคระหว่างวัน การบริหารความเสี่ยง รวมถึงการมี Mindset ที่เหมาะสมอย่างการทำใจยอมรับว่าเราไม่มีทางคาดการณ์ถูกทุกครั้ง เป็นต้น
นอกจากนี้การใช้บทวิเคราะห์ในระยะสั้น ก็มีข้อควรระวังด้วยเช่นกัน ดังนี้
1.กลยุทธ์เกือบทั้งหมดอ้างอิงจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค
เท่าที่เราสังเกต บทวิเคราะห์ส่วนใหญ่มักจะ Action หรือให้กลยุทธ์โดยอาศัยข้อมูลจากกราฟ หรือ Indicator เป็นหลัก
1
โดยที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะในระยะสั้นข้อมูลพื้นฐานหรือข่าวต่าง ๆ อาจจะไม่รวดเร็วพอที่จะตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของราคา รวมถึงไม่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นมูลค่าหรือราคาที่ชัดเจนได้ จึงทำให้ การหาจุดเข้าซื้อ-ขายถูก Bias จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค
และนี้คงเป็น 1 ในเหตุผลที่ผลลัพธ์ที่ออกมามีความแม่นยำที่ไม่สูงมาก โดยสำหรับใครที่มีความสามารถในการประเมินข้อมูลพื้นฐาน/ข่าวสารควบคู่กันไปได้ ก็อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพกว่า เป็นต้น
2.ให้ข้อมูลในเชิงตั้งรับมากจนเกินไป
ใครที่ติดตามบทวิเคราะห์ประจำวันอยู่ตลอดจะเห็นว่า กลยุทธ์เกินกว่า 80% ล้วนแล้วแต่ให้ตั้งรับ Long หรือไม่ก็รอดักเปิด short จนบางครั้งแม้จะวิเคราะห์ทิศทางถูก แต่ราคาก็ไม่ลง Match กับคำสั่งซื้อที่เราตั้งรอเอาไว้
โดยที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่านักวิเคราะห์ เขามีโจทย์ที่ยากกว่านักลงทุนตรงที่ “ต้องแนะนำเพียงครั้งเดียวเพื่อใช้ตลอดทั้งวัน”
ดังนั้นต่อให้พวกเขามั่นใจว่าตลาดจะต้องขึ้น แต่ก็กลัวว่าถ้าแนะนำให้เปิด Long ในทันทีราคาอาจย่อลงมาก่อน และถูก Cut Loss จนเสียแต้มและไม่มีโอกาสได้แนะนำอะไรเพิ่มเติมได้ (บทวิเคราะห์ถูกส่งไปรอบเดียว)
ซึ่งพวกเขาจึงเลือก save ตัวเองด้วยการคำนวณเพื่อล่วงหน้าว่าราคาจะย่อระหว่างวันและให้กลยุทธ์แบบ “รอดัก” ทำให้เราต้องอุทานอยู่บ่อยครั้งว่า “ให้รอซื้ออีกแล้ว ไม่เคยเห็น Match สักที” เป็นต้น
สรุปแล้วจากการพิสูจน์ทั้งหมด คงสามารถสร้างความเข้าใจในมุมมองของการใช้บทวิเคราะห์และผลลัพธ์ให้กับทุกท่านได้มากขึ้น
คำตอบ คือ “เชื่อถือได้” แต่ต้องใช้วิจารณญาณส่วนตัวประกอบเพื่อการซื้อขายที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในระยะสั้น และที่สำคัญ ทุกบทวิเคราะห์มีต้นทุน
ดังนั้น เราขอรณรงค์ให้ทุกท่านที่ใช้งานบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ไหน ก็ช่วยสนับสนุนโบรกเกอร์นั้น เพื่อตอบแทนข้อมูลดี ๆ ที่พวกเขาตั้งใจสร้างออกมา และเราจะทำหน้าที่รวบรวมและจัดทำให้ดูง่าย และนำมาเผยแพร่ให้กับทุกท่านผ่านทางเพจนี้ต่อไป
ท้ายที่สุดนี้ในฐานะ Data Analyst เราจะพยายามทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในเครื่องมือหรือประเด็นที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมการลงทุนมาบอกเล่าให้มากที่สุด หากใครสนใจรบกวนเป็นกำลังให้ทีมงานเราด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
3
ปล.สำหรับใครยังไม่มีหุ้นที่อยากซื้อลงทุน สามารถดูโพยเดือน เม.ษ. ได้
🛎 มาแล้ววว ❗️หุ้นน่าลงทุนประจำเดือน เม.ย.64 จากบทวิเคราะห์ SETTRADE IAA Consensus
เช่นเดิมนะครับที่ในทุกต้นเดือน ทางทีมงาน TFEX For Future จะทำการรวบรวม “ราคาเป้าหมายเฉลี่ย” ของหุ้นทุกตัวใน SET50 มาทำการ Ranking โดยเปรียบเทียบกับราคาตลาด เพื่อดูว่า “หุ้นตัวไหนที่ยังมี Upside เหลือมากที่สุด” ดังรูป
🔎 จากรูปจะเห็นว่าราคาของหุ้นกลุ่มนำยังคงเป็นกลุ่มเดิม แต่เริ่มมี Upside ที่น้อยลง โดยมี CPF ที่เบียด RATCH ขึ้นมาอยู่อันดับ 2 โดยมี Upside เหลือ 38% และที่น่าสนใจ คือ ADVANC ที่ถูกปรับเป้าให้สูงขึ้นมาติด 1 ใน 5 และแซง TRUE ขึ้นมาเป็นหุ้นในกลุ่ม ICT ที่เหลือ Upside สูงสุด
ส่วนทางด้านท้ายตารางจะเห็นว่าตอนนี้ KTC กลายเป็นหุ้นที่ลงไปรั้งท้ายแทนที่ DELTA โดยนักวิเคราะห์มองว่า มัน OVERVALUE มาแล้วกว่า 34%❗️ดังนั้นใครที่มีหุ้นตัวนี้อาจต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก
ลองพิจารณาเลือกกันดูนะครับ ขอให้นักลงทุนทุกท่านสมหวังการลงทุน
💬 สามารถพูดคุย สอบถาม หรือร่วมแชร์ข้อมูลกับเราได้ ในห้อง Line Open Chat “TFEX For Future”
👇🏻 คลิก link เข้ากลุ่มได้
📣 "โปรลับ" ‼️ สำหรับสมาชิกคนพิเศษ
📍 เราให้ได้มากกว่า แค่คำว่า...”ค่าคอมถูก”
ง่ายๆ แค่คลิก👇🏻link แล้วกรอกข้อมูล📄
✳️ฝากติดตาม TFEX For Future ช่องทางอื่นด้วยนะครับ
โฆษณา