Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รีหวิว
•
ติดตาม
10 เม.ย. 2021 เวลา 07:30 • ประวัติศาสตร์
"อังรีดูนังต์ ที่มาชื่อถนนแปลกๆแถวจุฬา
จากนักธุรกิจ สู่นักมนุษยธรรมผู้ยิ่งใหญ่"
มีใครเคยผ่านถนนอังรีดูนังต์ไหมคะ
ถนนที่มีชื่อแปลกๆ ไม่แน่ใจว่าเป็นภาษาอะไร
เวลาผ่านถนนเส้นนี้เพื่อจะไปสยามทีไร
ก็มักจะตั้งคำถามทุกที
ด้วยความอยากรู้เลยไปหาข้อมูลมา
เผื่อมาเขียนให้ทุกคนอ่านกันด้วยค่ะ 😁
ภาพจากเว็บ wikipedia อ็องรี ดูน็องต์
Henry Dunant คือชื่อในภาษาฝรั่งเศส
ที่มักอ่านออกเสียงว่า อ็องรีดูน็องต์
ดูน็องต์ เป็นนักธุรกิจชาวสวิส
ที่เกิดมาในครอบครัวฐานะดี ในเมืองเจนีวา
อยู่มาวันหนึ่ง ดูน็ิองต์
ตั้งใจจะสร้างโรงสีข้าวสาลีในแอลจีเรีย
ซึ่งในตอนนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
แต่ติดที่ดูน็องต์ไม่มีสัมปทาน
จึงต้องดั้นด้นไปหา จักรพรรดินโปเลียนที่ 3
กษัตริย์ในขณะนั้นของฝรั่งเศส เพื่อขอสัมปทาน
แต่นโปเลียนเป็นกษัตริย์ที่ค่อนข้างจะคลั่งรบ
เลยไม่ค่อยจะอยู่วังเท่าไรนัก
นโปเลียนกำลังติดพันการรบกับกองทัพออสเตรีย
ในเมือง ซอลเฟริโน อิตาลี อยู่
ถ้า ดูน็องต์ จะรอก็คงจะไม่ได้สร้างโรงสีแน่ๆ
เพราะออกรบทีก็กินเวลานาน
เลยเลือกที่จะไปหา นโปเลียนที่สนามรบแทน
ธุรกิจคิดได้ต้องทำเลยอ่ะเนอะ 😁
แต่นั่นคือจุดเปลี่ยนของ ดูน็องต์ ตลอดกาล
เมื่อดูน็องต์ไปถึงสนามรบ
ก็เป็นช่วงท้ายๆของสงครามแล้ว
ภาพที่เค้าเห็นคือคนนับหมื่นที่ถ้าไม่เจ็บหนัก
ก็กลายเป็นศพไปแล้ว...
ดูน็องต์ รับไม่ได้ที่ไม่มีใครหรือหน่วยงานใด
รับผิดชอบ และช่วยเหลือคนพวกนี้เลย
จากการเดินทางเพื่อธุรกิจ
กลายเป็นการมาเพื่อช่วยเหลือคนซะอย่างนั้น
เขาได้เปลี่ยนโบสถ์แถวนั้น
ให้เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว
รวบรวมชาวบ้านแถวนั้นมาช่วยกัน
ปฐมพยาบาลคนเจ็บโดยไม่เลือกฝ่าย
เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เขาสะเทือนใจมาก
จนต้องนำไปเขียนหนังสือ โดยออกเงินค่่าตีพิมพ์้เอง
"ความทรงจำแห่งซอลเฟริโน่"
ภาพจากเว็บ khunmaebook.com หนังสืิอฉบับแปลไทย
คือหนังสือที่ดูน็องต์เขียน
ประเด็นหลักคือเขาเรียกร้อง
ให้มีองค์กรอะไรสักอย่าง ทำหน้าที่บรรเทาทุกข์
ทหาร หรือ พลเรือนที่บาดเจ็บในสงคราม
โดยไม่เลือกฝั่ง
เวลาต่อมา ดูน็องต์ ร่วมมือกับเพื่อน 4คน
จัดตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศขึ้น
ในปี 1863
แต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นเพราะแต่ละประเทศ
ไม่เห็นตรงกันว่าหน่วยงานนี้
เป็นหน่วยงานที่เป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ก็ส่งคนเข้าไปช่วยไม่ได้อยู่ดี
จนต่อมาต้องมีกฎหมายระหว่างประเทศ
ว่าด้วยเรื่อง การปฏิบัติต่อทหารที่บาดเจ็บ
ซึ่งก็นำมาสู่การเกิด อนุสัญญาเจนีวาฉบับแรก
ในปี 1864
แค่ 1ปีถัดมาเท่านั้นเอง.. ถือว่าทำงานได้รวดเร็วมาก
มาถึงตรงนี้ คุณคงคิดว่า ดูน็องต์ ต้องมีชีวิตที่ดี
ผู้คนสรรเสริญ แซ่ซ้อง และร่ำรวยแน่ๆ
แต่กลับเป็นตรงกันข้ามเลย...
ธุรกิจของ ดูน็องต์ เจ๊ง (ก็น่าจะอย่างนั้นเพราะแกดูเหมือนจะเลิกคิดถึงธุรกิจไปเลย) หนี้ท่วมหัว
และยังถูกศาลตัดสินเป็นบุคคลล้มละลายในปี 1867
หลังจากนั้น เขาลาออกจากคณะกรรมการกาชาด
และกลายเป็นคนไร้บ้าน
ถึงชีวิตจะตกอับขนาดไหน
แต่เขาก็ยังไม่หยุดช่วยเหลือคนอื่นอยู่เสมอ
ในปี 1870 สงครามระหว่าง ปรัสเซีย กับ ฝรั่งเศส
ดูน็องต์ก็เข้าไปช่วยคนบาดเจ็บอีกครั้ง
และเขายังเป็นผู้เริ่มใช้สายรัดแขน
เพื่อระบุตัวผู้ตายด้วย
หลักจากนั้น ดูน็องต์ ก็เร่ร่อนไปเรื่อยๆ
ตามประเทศต่างๆ จนคนเริ่มลืมแกไปแล้ว
จนปี 1895 มีนักข่าวไปเจอแกที่ เมืองไฮเดน
สวิสเซอร์แลนด์ เลยเขียนบทความเกี่ยวกับแกขึ้นมา
บทความนี้ทำให้คนรู้ว่า อ้าว!! แกยังไม่ตายนี่นา
และทำให้ ดูน็องต์ กลับมาได้รับการยกย่องอีกครั้ง
ดูน็องต์ ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพในปี1901
เล่ามาถึงตรงนี้..
ทุกคนคงคิดว่าเขาน่าจะมีชีวิตดีขึ้นแล้วใช่ป่าว?
แต่ป่าวนะ ดูน็ิองต์ ไม่ได้ร่ำรวยขึ้นมา
เพราะแกไม่แตะเงินรางวัลเลย..
เขาใช้ชีวิตบั้นปลายในบ้านพักคนชรา
จนเสียชีวิตในปี 1910
เงินที่เขามีก็ถูกบริจาคให้กับองค์กรการกุศล
และบ้านพักคนชราที่เขาอยู่ในบั้นปลายชีวิต
ภาพจากเว็บ wikipedia อ็องรีดูน็องต์ในวัยชรา
ด้วยความประสงค์ของดูน็องต์ เขาไม่ให้จัดงานพิธี
หรือไว้อาลัยใดๆ ให้ศพถูกนำไปฝังเหมือนกับหมา
ใช่!! เขาบอกอย่างนั้นจริงๆ
และถนนอังรีดูนังต์ แถวๆจุฬา
ก็มาจากชื่อของเขาเนี่ยแหละ
ในการครบรอบ100ปี
ของการก่อตั้งสภากาชาดระหว่างประเทศ
ทางองค์กรเสนอให้ประเทศสมาชิก
ทำอนุสรณ์อะไรขึ้นมาสักอย่าง
และนี่แหละที่มา!!
ที่ไทยเปลี่ยนชื่อถนนสนามม้า เป็น อังรีดูนังต์ ในปี1965
เพราะถนนเส้นนี้มีสภากาชาดไทยตั้งอยู่
ถนนอังรีดูนังต์เป็นถนน ระหว่างสนามม้า และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดูน็องต์ ถึงจะมีชีวิตที่น่าสงสาร และคนไม่ค่อยคุ้นหู
แต่เขาเป็นนักมนุษยธรรมที่น่ายกย่องที่สุด
ครั้งหน้าถ้าผ่านถนนอังรีดูนังต์
อย่าลืมคิดถึงสิ่งที่ ดูน็องต์ ทำไว้
เพื่อเพื่อนมนุษย์ทุกคนด้วยนะคะ❤️
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://thaircy.redcross.or.th/redcrossandyouth/icrc/icrc_history/
https://blogs.icrc.org/th/2020/08/11/henry-dunant-road/
3 บันทึก
33
32
13
3
33
32
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย