10 เม.ย. 2021 เวลา 17:48 • ข่าว
Podcast..รายการหนึ่งถ้วยกาแฟ..เมียนมา ตัดสินประหารชีวิตผู้ประท้วง
สำนักข่าวรอยเตอร์และเอเอฟพีรายงานเมื่อวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2564 อ้างรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์เมียวดีของทางการเมียนมาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ศาลทหารเมียนมามีคำพิพากษาประหารชีวิตผู้ประท้วง 19 คน ฐานปล้นและฆาตกรรมเพื่อนร่วมงานของทหารยศร้อยเอกนายหนึ่ง ที่เขตออกกะลาปาเหนือของนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 27 มีนาคม2564 ซึ่งถือเป็นการตัดสินประหารชีวิตครั้งแรกนับแต่ทหารก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์2564
เขตออกกะลาปาเหนือเป็น 1 ใน 6 เขตของย่างกุ้งที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึก หมายความว่าผู้ที่ถูกจับกุมต้องโดนดำเนินคดีในศาลทหาร ซึ่งถือเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา ในจำนวนผู้ที่ถูกตัดสิน 19 คนนั้น 17 คนเป็นการพิพากษาลับหลัง
ด้านฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฮิวแมนไรต์วอตช์ประจำเอเชีย กล่าวว่า แม้เมียนมาจะมีโทษประหารชีวิตบัญญัติไว้ในกฎหมายอาญา แต่เมียนมาไม่ได้ประหารชีวิตนักโทษมานานกว่า 30 ปีแล้ว คดีนี้บ่งชี้ว่ากองทัพเตรียมจะกลับสู่ยุคที่เมียนมาประหารชีวิตคนอีกครั้ง
เขาชี้ด้วยว่า การพิจารณาคดีในศาลทหารหมายความว่าไม่สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาได้ และไม่มีการรับประกันว่าจะมีการพิจารณาคดีที่เสรีแล
ยุติธรรม คำพิพากษาดังกล่าวอาจเป็นกลยุทธ์เพื่อบังคับให้ผู้ประท้วงออก
จากถนนแล้วกลับไปทำงาน เพราะการหยุดงานทั่วประเทศทำให้เศรษฐกิจของเมียนมาหยุดชะงัก
โรเบิร์ตสันกล่าวอีกว่า "ภารกิจหลักของพวกเขาคือการใช้กำลังและความรุนแรง เพื่อให้ทุกคนออกจากถนนและเพื่อสลาย (ขบวนการอารยะขัดขืน)"
อีเน อีริกเซน เซอไรดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ ทวีตเมื่อวันเสาร์ที่ 10 เม.ย.64 ประณามโทษประหารชีวิตนี้ว่า ยอมรับไม่ได้และเป็นพัฒนาที่น่ากังวลอย่างยิ่ง "นอร์เวย์เรียกร้องอย่างหนักแน่นต่อเมียนมาอย่าได้ประหารชีวิต, ยุติความรุนแรง และอนุญาตให้ผู้แทนพิเศษของยูเอ็นเยือน"
คริสทีน ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์ ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติ กำลังอยู่ในประเทศไทย ระหว่างรอเข้าเมียนมา เพื่อพบกับพวกผู้นำทหารด้วยตนเอง แต่ถึงขณะนี้รัฐบาลเมียนมายังไม่อนุญาตให้เธอเข้าประเทศ.
Referenc
Thai Post
รอยเตอร์
เอเอฟฟี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา