Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
จะเล่าให้ฟัง
•
ติดตาม
11 เม.ย. 2021 เวลา 14:39 • หนังสือ
จะเล่าให้ฟัง...เรื่องพลังแห่งความเคยชิน
หนังสือ The Power of Habit เขียนโดย Charles Duhigg ตอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์ The New York Times หนังสือที่ติดอันดับ The Best Book of the Year จาก The Wall Street Journal , Financial Times
4
Cr. www.google.com
คนเรามักจะมี “นิสัย”และความเคยชินที่เราชอบทำ นิสัยบางอย่างเป็นสิ่งที่ดี เช่น การออกกำลังกาย การไปทำงานตรงเวลา การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่นิสัยบางอย่างก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีนักเช่น การสูบบุหรี่ ติดเหล้า หรือติดการพนัน นิสัยเหล่านี้เกิดมาได้ยังไง และที่สำคัญ เราจะปรับเปลี่ยนนิสัยที่ไม่ดีเหล่านี้ให้เป็นนิสัยที่ดีได้อย่างไร
1
ก่อนที่จะเปลี่ยน เรามาทำความเข้าใจก่อนว่านิสัยเกิดได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์มองว่า นิสัยเกิดขึ้นได้เพราะสมองพยายามหาวิธีที่ช่วยผ่อนแรง และลดการทำงาน โดยสมอง พยายามเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเกือบทุกอย่างให้กลายเป็นนิสัย ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพื่อที่เราจะได้เอาสมองไปใช้ตัดสินใจเรื่องที่ยาก ท้าทายและซับซ้อน มากกว่าเรื่องทั่วๆไปที่เราทำเป็นประจำ
2
ดังนั้นสมองจริงเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเช่น การขับรถไปทำงานเส้นทางเดิมๆ ให้เป็นนิสัย เมื่อเราขึ้นรถ ระบบ auto pilot จะทำงานเกือบ 100% บางครั้ง รู้ตัวอีกที่เราก็ขับมาถึงที่หมายเรียบร้อยแล้ว🚗
2
แต่ปัญหาคือสมองเราจะแยกไม่ออกว่า นิสัยอันไหน ดี หรือ ไม่ดี เช่นทุกครั้งที่จบจากประชุมที่เคร่งเครียด นาย A เลือกที่จะสั่ง Macdonald ชุดใหญ่พร้อมอัพไซด์เป็นจัมโบ้ให้ได้เฟรนฟรายเยอะๆ เพื่อเป็นรางวัลให้ตัวเอง ขณะที่นาย B เลือกที่จะให้รางวัลตัวเองด้วยการออกกำลังกายเพื่อช่วยลดความเครียดจากการประชุม จะเห็นว่า A และ B มีนิสัยที่ต่างกัน ซึ่งสมองแยกไม่ออกว่านิสัยแบบไหนดีหรือไม่ดี เพราะทั้ง 2 วิธี สมอง happy จากรางวัลที่ได้ทั้งคู่ วิธีแรกสมอง happy กับรสชาติ🍟🍔 และวิธีที่ 2 สมองก็ happy ที่อะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน🏃♂️🚴♀️
การที่เราจะเปลี่ยนนิสัยได้ เราต้องเข้าใจ”วงจรแห่งนิสัย” เสียก่อน
นิสัยเกิดได้จากปัจจัย 4 อย่างคือ :
• สิ่งกระตุ้น หรือ cue (การประชุมที่เครียด)
• กิจวัตร หรือสิ่งที่ทำเป็นประจำ หรือ routine (สั่ง Macdonald มากิน/ ออกกำลังกาย)
• รางวัล หรือ reward (ความพอใจ)
• ความโหยหา หรือ craving (การได้ลิ้มรสเฟรนฟรายและเป๊ปซี่ หรือความต้องการปลดปล่อยให้เหงื่อออก)
1
Cr. medium.com
กฎเหล็กแห่งการเปลี่ยนแปลง บอกเราว่า ไม่ต้องไปเปลี่ยนสิ่งกระตุ้นและรางวัลแต่ให้ โฟกัสไปที่กิจวัตรก็พอ ถ้าเราคิดว่ามันยากที่จะกำจัดนิสัยแย่ๆ บางทีแค่เปลี่ยนแปลงกิจวัตรก็ได้ผลเช่นกัน เช่นคนที่ติดบุหรี่จะไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้จนกว่าจะได้ทำกิจกรรมบางอย่างแทนการสูบบุหรี่เมื่อเค้ารู้สึกโหยหาสารนิโคติน
องค์กรเช่นกัน นักวิจัยพบว่านิสัยขององค์กรก็เหมือนคน มีนิสัยของตัวเองที่หล่อหลอมมาจากพฤติกรรมและการกระทำในอดีตที่ทำต่อๆกันมา ซึ่งนิสัยบางอย่างอาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เช่น การไม่รายงานเมื่อมีข้อผิดพลาด เพราะกลัวหัวหน้าตำหนิ การประจบเอาใจหัวหน้าเพื่อแลกกับการได้เลื่อนตำแหน่ง
บริษัท อัลโค ผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่ใอเมริกา ครั้งหนึ่งเคยมีปัญหาใกล้ล้มละลาย ขาดความน่าเชื่อถือ พนักงานไม่มีจิตใจทำงาน บริษัทได้จ้าง พอล โอนีลล์ อดีตข้าราชการที่ศึกษาเรื่องนิสัยขององค์กรอย่างจริงจัง สิ่งแรกที่พอลทำในบทบาทของ ซีอีโอ คือ สร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน เขาเปลี่ยน กิจวัตรที่พนักงานทำเป็นประจำ เป็นกิจวัตรใหม่ ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัย ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นต้องรายงานภายใน 24 ขั่วโมง พร้อมแนวทางป้องกัน เขาเชื่อว่า”คนทั้งโรงงานปรับปรุงนิสัยบางอย่างได้ เรียกว่าแก้นิสัยเสียๆ เรื่องเดียวก็พอ..ถ้าทำสำเร็จ จะเกิดผลดีๆ ต่อเรื่องอื่นๆ ตามมาเอง”
สิ่งที่พอลทำ ได้ใจพนักงาน และสหภาพแรงงาน เพราะเป็นสิ่งที่พวกเค้าเรียกร้องมานับสิบปีให้ บริษัท คำนึงถึงความปลอดภัยของคนงาน และดูแล้วก็ไม่น่ามีผู้บริหารคนไหนกล้ายกมือค้านนโยบายนี้ ดังนั้นในช่วง สิบปีที่พอลอยู่ที่ อัลโค เค้าได้ทำให้บริษัทเป็นที่ทำงานที่ปลอดภัยที่สุดในโลกก็ว่าได้
1
พอลสร้าง “นิสัย” ให้ทุกคนในบริษัทเอาจริงเรื่องความปลอดภัย และผลลัพธ์ที่ได้ต่อจากนั้นคือ ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น 5เท่าจากตอนที่เขาเข้าไป ต้นทุนที่ลดลง พนักงานมีความสุขและรักองค์กรมากขึ้น เพียงแค่โฟกัสไปที่การสร้าง”นิสัย”
1
Cr. thehustle.co/unlocking-the-keystone/
สตาร์บัคส์ เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ใส่ใจและจริงจังกับการทำให้พนักงานมี “พลังใจ“ (willpower) จนกลายเป็น “นิสัย” ในการทำงาน ในปี 2007 สตาร์บัคส์เปิดสาขาใหม่ถึง 7 แห่งต่อวัน จ้างพนักงานเพิ่ม ถึง 1.500 คนต่อสัปดาห์ การฝึกอบรมพนักงานจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
สตาร์บัคส์ต้องการให้พนักงานมีทักษะด้านการบริการที่เป็นเลิศ พนักงานมาทำงานตรงเวลา ไม่ตะคอกใส่ลูกค้า ยิ้มแย้มตลอดวัน จำเครื่องดื่มที่ลูกค้าชอบได้ และจะดีมากถ้าจำชื่อลูกค้าได้ จะเป็นเช่นนั้นได้สตาร์บัคส์ต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ในปีแรกพนักงานสตาร์บัคส์จะใช้เวลาอย่างน้อย 50 ชั่วโมงไปกับการฝึกอบรม อีกหลายสิบชั่วโมงกับการศึกษาคู่มือทำงานและพูดคุยกับพี่เลี้ยง พนักงานได้เรียนรู้หลายๆวิธีการรับมือกับสถานการณ์ตึงเครียด และอุปสรรคด้วยการสร้างวงจรแห่งนิสัยเรื่องพลังใจ
1
หนึ่งในกลยุทธ์ที่สตาร์บัคส์ใช้คือ กลยุทธ์ลาเต้ (LATTE) ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ Listen (รับฟังความต้องการของลูกค้า) , Acknowledge (ทำความเข้าใจคำร้องเรียนของลูกค้า) , Take action (แก้ไขปัญหา), Thank (ขอบคุณ) และ Explain (อธิบายถึงสาเหตุและการแก้ไข)
4
2
พนักงานได้ลองเขียนแผนการรับมือ กับเรื่องวิกฤติ และจำลองเหตุการณ์เพื่อฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเกิดเป็นนิสัยในที่สุด
1
Cr. thehustle.co/unlocking-the-keystone/
สิ่งที่องค์กรควรทำ คือหาสิ่งที่ต้องการสร้างให้เกิดเป็น “นิสัย” และให้ความสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงสิ่งนั้น เพราะเรื่องเล็กๆ เช่น การคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน การรับมือกับข้อร้องเรียน จะช่วยเปลี่ยนแปลงนิสัยของคนในองค์กรจนเกิดเป็นผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ในที่สุด
อีกหนึ่งงานวิจัยที่โด่งดัง ในปี 1960 เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดให้เด็กอายุ 4 ขวบเข้าไปในห้องที่มีขนม มาร์ชเมลโล และให้เด็กมีทางเลือกว่าเค้าจะกินขนมตอนนี้เลย แต่ได้ 1 ชิ้น หรือจะอดทนรออีกไม่กี่นาที่แต่จะได้ 2 ชิ้น
1
หลายปีต่อมา นักวิจัยตามไปสำรวจเด็กๆ ที่เข้าร่วมการทดลอง โดยประเมินความถนัดทางการเรียน มนุษย์สัมพันธ์ และความสามารถในการรับมือกับปัญหาหนักๆ ปรากฏว่า เด็กที่อดทนรอมาร์ชเมลโล 2 ชิ้น มีผลการเรียนดีที่สุด และได้คะแนนสอบ SAT สูงกว่าเด็กคนอื่นๆ อย่างน้อย 210 คะแนน มีเพื่อนเยอะกว่า ขยันทำการบ้าน และไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดน้อยกว่า เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการควบคุมตนเองและมันคือข้อได้เปรียบที่ทำให้พวกเค้าประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา
1
Cr. carpentryoftheheart.wordpress.com
ท้ายที่สุด การที่คนเราจะเปลี่ยนแปลงนิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด คงต้องเริ่มจากความตั้งใจและเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นๆ จะส่งผลในทางที่ดี จากนั้นจึงทำความเข้าใจกับแนวทางในการเปลี่ยนนิสัย โดยระบุกิจวัตรที่ทำ และหาคำตอบให้ได้ว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เราทำกิจวัตรดังกล่าว และรางวัลที่ได้จากการทำสิ่งนั้นคืออะไร รางวัลนั้นๆ ใช่สิ่งที่เราต้องการจริงหรือไม่ เมื่อเห็นภาพวงจรแห่งนิสัยของเราได้ชัดเจน จึงเริ่มลงมือวางแผนการเปลี่ยนแปลง ลองเปลี่ยนวันละนิด แต่ทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อสมองจะได้จดจำแบบแผนอันใหม่และสร้างเป็นความคุ้นชิน เมื่อเราเข้าใจกลไกของนิสัย รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งกระตุ้น กิจวัตร และรางวัล เราก็สามารถปรับเปลี่ยน ควบคุมนิสัยของเราได้อย่างไม่ยากเลย👍👍
1
46 บันทึก
53
10
45
46
53
10
45
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย