Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ตงฮั้วเดลี่
•
ติดตาม
11 เม.ย. 2021 เวลา 16:04 • ข่าว
รุมต้านต่อสัญญาสายสีเขียว
198 องค์กรผู้บริโภคต้านให้เอกชนต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว พรรคกล้าหนุนตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
#101NewsAndTalk #เพิ่มทุกมุมคิดพลิกทุกมุมข่าว #101News #คลื่นข่าวอันดับ1บนหน้าปัดวิทยุ #BTS
- มติชนออนไลน์ รายงานว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าวผ่านเว็บไซต์
consumerthai.org
หัวข้อ “198 องค์กรผู้บริโภคคัดค้าน อย่าฉวยโอกาสต่อสัญญาบีทีเอส หยุดราคา 65 บาทยืนหยัด 25 บาท ทำได้จริง” ระบุว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับความคืบหน้าการแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่าจะมีการนำเรื่องเสนอให้ ครม. พิจารณาก่อนจะนำไปสู่ขั้นตอนการเจรจาต่อไปนั้น
- ล่าสุด นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ขอให้นายกฯ หยุดตัดตอนปัญหา และปิดปากประชาชนด้วยการโยนลูกเข้า ครม. ซึ่งการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นต้องอยู่บนหลักการ ‘ขนส่งมวลชนเพื่อมวลชนทุกคน’ โดยควรกำหนดบนพื้นฐานประมาณร้อยละ 10 ของค่าแรงขั้นต่ำของคนในประเทศ และมีมาตรฐานเดียวกันกับราคารถไฟฟ้าในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก
- อย่างไรก็ตาม ราคาค่ารถไฟฟ้า 65 บาทที่กทม.เสนอมา นอกจากเป็นราคาที่สูงเกินกว่า ‘มวลชน’ จะจ่ายได้ อีกทั้งก็ยังไม่สามารถชี้แจงฐานการคิดคำนวณของราคาดังกล่าวที่ชัดเจนว่ามาจากหลักการใด ซึ่งหากราคานี้ถูกพิจารณาผ่านและถูกนำมาใช้ จะส่งผลกระทบกับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคจะต้องผูกมัดจ่ายค่าโดยสารในราคานี้ไปอีก 38 ปี จนกว่าจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2602 ในขณะที่ข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมให้ใช้ราคาค่ารถไฟฟ้า 49.83 บาทเท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีกำไรส่งรัฐในปี 2602 ถึง 380,200 ล้านบาท แต่กทม.ไม่เคยมีโมเดลการคิดค่าโดยสารมานำเสนอเลย เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภคตั้งข้อสังเกต
- เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เรียกร้องให้รัฐบาลส่งปัญหานี้กลับมายัง กทม.เพื่อให้ กทม.ทำกระบวนการการกำหนดราคาที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ประชาชนที่เป็นผู้รับภาระการจ่ายค่าโดยสารมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และกล่าวอีกว่า สภาฯ ผู้บริโภค เสนอทางเลือกว่าจากการคำนวณของสภาฯ พบว่า ค่ารถไฟฟ้าในราคา 25 บาท สามารถทำได้จริงแน่นอน ซึ่งในการคำนวณดังกล่าวได้อ้างอิงจากตัวเลขของกระทรวงคมนาคม โดยลดรายได้รวมลงครึ่งหนึ่งและคิดราคาค่าโดยสารเพียง 25 บาท สุดท้ายแล้ว กทม. ยังมีกำไรหรือมีเงินเหลือนำส่งรัฐได้ถึง 23,000.00 ล้านบาท
- ทั้งนี้ สภาฯ เรียกร้องให้รัฐบาล และ กทม. เห็นความสำคัญของปัจจัยทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่อาศัยตามชานเมืองที่ต้องพึ่งบริการรถไฟฟ้าเข้ามาทำงาน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ควรเป็นเงินออมในอนาคตที่ต้องนำมาจ่ายเป็นค่าเดินทางเพียงอย่างเดียว ดังนั้น องค์กรผู้บริโภคทั้ง 198 องค์กร ขอคัดค้านนายกรัฐมนตรีที่มีความพยายามจะนำประเด็น ‘การต่อสัญญาสัมปทานและการขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว (รถไฟฟ้าบีทีเอส)’ เข้า ครม. เนื่องจากเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จำเป็นต้องนำเข้าพิจารณาในขณะนี้ แต่ควรจะพิจารณาเรื่องที่เร่งด่วนกว่าในสถานการณ์การระบาดของ โควิด – 19 และการพยายามนำประเด็นนี้เข้า ครม. ในช่วงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 จะถือว่าเป็นการตัดสิทธิ์ผู้ที่คัดค้านหรือไม่ เนื่องจากรัฐมนตรีท่านนี้เป็นฝ่ายคัดค้านการปรับขึ้นราคาดังกล่าวมาโดยตลอด
- ด้าน ดร. สุเมธ องกิตติกุล กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านขนส่งและยานพาหนะ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ทั้งเงื่อนไขในการต่อสัญญาสัมปทาน รูปแบบการกำหนดค่าโดยสาร และแนวทางการดำเนินงานของระบบรถไฟฟ้าในอนาคต ไม่ได้ถูกพิจารณาโดย กทม. ซึ่งการต้องการต่อสัญญาสัมปทานเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาด้านการเงินของ กทม. เท่านั้น แต่ไม่ได้แก้ปัญหาระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในความเป็นจริง กทม. ควรมีทางเลือกอื่นในการพิจารณาร่วมด้วย เช่น เงื่อนไขในการต่อสัญญาสัมปทานที่ให้มีการคิดค่าโดยสารแบบตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าทั้งระบบมากกว่าจะพิจารณาเพียงแค่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว นอกจากนี้ยังมองว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าควรจะถูกกว่า 65 บาทได้ ซึ่งผู้บริโภคก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้น
- ขณะที่ คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชนที่ปลอดภัยและเป็นธรรม มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวย้ำว่า ประเด็นนี้นายกรัฐมนตรีอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องขัดแย้งกัน แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับเป็นเรื่องความไม่โปร่งใสของ กทม. ที่ยืนยันฝ่ายเดียวที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลการเจรจาที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐกับประชาชนมากกว่า โดยเฉพาะตัวเลขค่าโดยสาร 65 บาท ที่ กทม. ยังอธิบายต่อสังคมไม่ได้ว่าคำนวณมาจากอะไร และทำไมต้องมีราคา 65 บาท ทั้งที่ กทม. ควรต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดสัญญาและที่มาของการคำนวณราคาค่าโดยสารต่อสาธารณะ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตการใช้รถไฟฟ้าสายนี้ก่อนจะต่อหรือไม่ต่อสัญญา เพราะหาก ครม. อุ้ม กทม. ยอมต่อสัญญาสัมปทานครั้งนี้ ผู้ที่ต้องแบกรับภาระต่อจากนี้ คือ ประชาชนและอนาคตของลูกหลานที่จะต้องกลายมาเป็นผู้จ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 65 บาท ไปอีก 38 ปี
- “พวกเราจำเป็นต้อง หยุด 65 บาท หยุด กทม. หยุดลักไก่แอบต่อสัญญา ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป และขอย้ำว่า กทม. ต้องหยุดจับผู้บริโภคเป็นตัวประกันต่อรองรัฐบาล อย่าห่วงแต่เรื่องหนี้สินและส่วนแบ่งรายได้ 2.4 แสนล้านบาทที่จะได้หลังต่อสัญญาฯ อีกทั้งถ้าหลักคิดรถไฟฟ้า คือ ขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ กทม. ต้องทำให้ค่าโดยสารไม่เป็นภาระกับผู้บริโภค หรือไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงจะต้องทำให้รถไฟฟ้าเป็นขนส่งมวลชนที่ประชาชนเข้าถึงได้ ไม่ใช่เป็นเพียงขนส่งทางเลือกแบบทุกวันนี้”
- ทั้งนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงอยากเชิญชวนผู้บริโภคทุกคนร่วมแสดงตัวตน เพื่อคัดค้านการที่มีความพยายามจะนำประเด็น ‘การต่อสัญญาสัมปทานและการขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีเขียว (รถไฟฟ้าบีทีเอส)’ และนำไปยื่นให้กับนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงออกผู้บริโภคไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานและการปรับขึ้นราคาเป็น 65 บาท โดยผู้บริโภคสามารถร่วมลงชื่อได้ที่ แบบฟอร์มออนไลน์ “ร่วมลงชื่อ คัดค้านการนำประเด็น ‘ต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว’ เข้า ครม.” คลิก >
https://bit.ly/3wIR0nA
พรรคกล้า หนุนตั้ง “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” แก้หนี้-ลดค่าโดยสาร
- เพจ ผู้จัดการออนไลน์ เปิดเผยคำให้สัมภาษณ์ของน.ส.เบญจรงค์ ธารณา กรรมการบริหารพรรคกล้า ที่กล่าวถึงในกรณีเดียวกันว่า “หากต่อสัมปทานกับบีทีเอส สภาพคงคล้ายๆ กับทางด่วนโทลล์เวย์ ที่ราคาสูงกว่าทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวจะหมดสัมปทาน แล้วกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระบบใยแมงมุม ใช้ระบบตั๋วร่วมค่าโดยสารถูกลง ก็คงต้องรอไปอีก 30 ปี ซึ่งตนเองที่เป็นคนรุ่นใหม่ในตอนนี้ แต่กว่าจะถึงตอนนั้นก็คงอายุเกือบ 60 ปีไปแล้ว ดังนั้น หากต่อสัมปทาน ผู้ที่เสียประโยชน์มากที่สุดก็คือประชาชน”
- น.ส.เบญจรงค์ กล่าวว่า ภาระหนี้สินที่เกิดขึ้น ไม่ควรอ้างเรื่องภาระงบประมาณ แล้วนำมาต่อรองกับการตัดสินใจว่าจะต่อสัมปทานหรือไม่ แต่ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งทางแก้เรื่องนี้ พรรคกล้าสนับสนุนให้มีการตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน มาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและประชาชน ซึ่งกระทรวงคมนาคมเคยให้ความเห็นว่า รัฐจะสามารถมีรายได้จากเงินนำส่งระหว่างปี 2573-2602 รวม 3.8 แสนล้านบาท และยังสามารถกำหนดค่าโดยสารได้ที่ 50 บาทตลอดสาย ซึ่งถูกกว่าการต่อสัมปทานกับบีทีเอส และยังมีรายได้มาใช้หนี้ได้อีกด้วย แต่ถ้าต่ออายุสัมปทานอีก 30 ปี ก็เหมือนต่อความล้าหลังให้กรุงเทพ ประชาชนเสียทั้งโอกาส เสียประโยชน์ ที่จะได้ใช้ระบบขนส่งมลชนที่มีคุณภาพจริงๆ สักที
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย