11 เม.ย. 2021 เวลา 23:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
EP. 2 - Blockchain ในมุมมองของนักลงทุนเน้นคุณค่า
3
การลงทุนใน Blockchain (bc) เป็นเรื่องที่ใหม่มาก สำหรับนักลงทุน หรือแม้แต่คนที่ไม่ใช่นักลงทุนจำนวนมาก บางคนอาจจะไม่เคยรู้จัก bc มาก่อนเลย บางคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง มีส่วนน้อยมากๆ ที่จะเข้าใจจริงๆ ว่าคืออะไรและสร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง
4
ผมเป็นหนึ่งที่ได้ยินเรื่อง bc มาพักใหญ่ๆ แต่ก็ไม่ได้มีความเข้าใจอะไรมาก ชื่อที่ได้ยินบ่อยๆ ก็คือ Bitcoin และรู้ว่า Bitcoin นั้นถูกสร้างขึ้นมาด้วย Technology ที่เรียกว่า bc ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลบน internet อย่างหนึ่งที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง ได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งทำให้ Bitcoin เป็น asset ที่มีความน่าเชื่อถือสูงไปด้วย
10
ด้วยชื่อเสียงของ Bitcoin ไม่ว่าจะทางที่ดี (น่าเชื่อถือ ไม่มีใครควบคุมได้ ฯลฯ) หรือทางที่ไม่ดี (ใช้ในตลาดมืด ซื้อขายยาเสพติดหรือ อาวุธ) นั้นมีสูงมาก จนทุกครั้งที่เราพูดถึง bc ทุกคนก็จะนึกถึงแต่ Bitcoin จนทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าจริงๆ แล้วมันไม่ได้มีแค่ Bitcoin นะ มันยังมีสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์จาก bc อยู่อีกมากมายที่คนไม่ค่อยรู้จักกัน
2
เมื่อหลายปีก่อนผมเคยลองศึกษา Bitcoin ดูบ้าง แบบไม่ได้ลึกมาก ก็เข้าใจว่า Bitcoin มีลักษณะคล้ายทองมากกว่าที่จะเป็น currency เพราะราคามันมีความผันผวนเกินกว่าที่จะเอามาใช้เป็น currency ที่ดีได้
สำหรับผมทองนั้นไม่ได้มี productivity ในตัวมันเอง ไม่สามารถ generate กระแสเงินสดได้ ทำให้การประเมิลมูลค่าทองนั้นทำได้ยาก ผมจึงไม่เคยลงทุนในทองเลย และก็เลยทำให้ผมไม่สนใจ Bitcoin ไปด้วย เพราะมันมีลักษณะที่คล้ายๆ กัน
4
ผ่านไปอีกหลายปี ระหว่างนั้นในโลกของ bc ก็มีเหตุกาณ์เกิดขึ้นมากมาย Bitcoin รวมถึงเหรียญอื่นๆ ราคาขึ้นสูงมากๆ แล้วก็ติดลบไปถึง 80-90% จากจุดสูงสุด เกิด ico bubble จากการที่มี project จำนวนมากเขียนโครงการมาขายเหรียญ แต่สุดท้ายก็มีไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถทำได้ตามที่วางฝันเอาไว้ ทำให้นักลงทุนขาดทุนกันไปไม่น้อย
7
จนล่าสุดไม่นานมานี้ เกิดยุคใหม่บน bc ที่เรียกว่า defi summer
2
defi คืออะไร - defi ย่อมาจากคำว่า decentralized finance หรือการเงินแบบกระจายอำนาจ
12
ทุกวันนี้โลกการเงินที่เราส่วนใหญ่ใช้กันอยู่คือ centralized finance หรือที่เค้าเรียกกันว่า cefi ซึ่งมีคนบางกลุ่มนั้นทำหน้าที่ดูแลระบบการเงิน สถาบันการเงิน เวลาที่เราใช้บริการธนาคาร เราก็จะเอาเงินไปฝาก แล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่แบงค์ เอาเงินของเราไปปล่อยกู้เพื่อสร้างรายได้ แล้วก็จ่ายดอกเบี้ยให้เรา ส่วนต่างหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็จะเป็นกำไรที่จ่ายไปถึงผู้ถือหุ้น
8
ในขณะที่ defi นั้นคือการทำธุรกิจการเงินแบบใหม่ คือ แทนที่จะใช้คนมาบริหารระบบ ก็เปลี่ยนมาใช้ application ที่สร้างขึ้นมาจาก coding ที่มีการเขียนขั้นตอนการทำงานเอาไว้ชัดเจน โปรงใส่ และไม่มีใครคนใดคนหนึ่งมีอำนาจในการแก้ไข code ได้ ซึ่งเป็น use case หนึ่งของเทคโนโลยี bc
4
แล้วข้อดีของ defi นั้นคืออะไรถึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มหันมาสนใจ bc กันอีกครั้ง (รวมถึงตัวผมเองด้วย)
4
ข้อดีหลักๆ ที่ผมคิดได้ก็คือ
1. ลดต้นทุนได้มหาศาลเมื่อเทียบกับ cefi เพราะไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงาน ไม่มีค่าเช่าสถานที่ ไม่มีค่าไฟ ค่าน้ำ ฯลฯ จะเหลือต้นทุนหลักๆ ก็คือค่า fee ของการใช้ระบบ blockchain ซึ่งก็ต่ำกว่าต้นทุนของ cefi แบบเทียบกันไม่ติด ซึ่งทำในนักลงทุนในระบบ defi นั้นได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าระบบแบบเดิมมาก
3
2. ไม่มีใครมา regulate เอาจริงตรงนี้เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง ข้อดีคือถ้าใครมี idea ดีๆ ในการสร้าง app ขึ้นมา ก็สามารถทำได้รวดเร็ว แนวคิดใหม่ๆในการทำธุรกิจในโลก cefi นั้นเกิดยากมาก ด้วยความที่มีหน่วยงานมาคอยกำกับ แต่ข้อเสียก็คือหลายๆ app ที่เกิดขึ้นมาก็อาจจะมีความเสี่ยงที่สูงที่จะล้มหายไปจากระบบและทำให้นักลงทุนขาดทุน
7
จากการเกิดขึ้นของ app defi จำนวนมาก มีนักลงทุน นักเก็งกำไรเข้ามาเรื่อยๆ เป็นจำนวนมาก จนทำให้มีเงินไหลเข้ามาในระบบ defi สูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนจนเรียกว่าเป็นยุค Defi summer
2
เงินที่ไหลเข้ามาใน defi บน ethereum chain
เงินที่ไหลเข้ามาใน defi บนระบบ bsc
2 รูป ข้างบนนี้เป็นกราฟแสดงถึงจำนวนเงินที่ไหลเข้ามาบนระบบ defi บน 2 chain ที่มีขนาดใหญ่ 2 อันดับแรก รวมกัน
ในระยะเวลาแค่ 3 เดือน เงินที่ไหลเข้ามาเพิ่มจาก ประมาณ 20 billion usd จนมาถึง ปัจจุบันคิดเป็นมูลค่า 80 billion usd ซึ่งถือว่าโดเร็วมาก และใหญ่มากๆ
3
จนผมคิดว่าถึงเวลาแล้วรึเปล่าที่เราควรจะเปิดตา เปิดใจ ศึกษามันซักหน่อย และดูว่าเราจะสามารถหาประโยชน์จากมันได้อย่างไรบ้าง
ผมแนะนำให้ลองไปศึกษาดูให้ลึกขึ้นว่า defi นั้นคืออะไร และทำงานอย่างไร
ส่วนตัวผมรู้จัก defi ครั้งแรกจากการดูคลิปของ the standard จนทำให้กลับมาสนใจการลงทุนบน bc อีกครั้งหลังจากปฏิเสธมันไปเมื่อหลายปีก่อน
2
โฆษณา