Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Safety ทำอะไร
•
ติดตาม
12 เม.ย. 2021 เวลา 05:13 • ปรัชญา
"อุบัติเหตุป้องกันได้ จริงหรือ?"
ผมเข้ามาในสายอาชีพความปลอดภัย Safety ด้วยคำถามหนึ่งที่ผุดขึ้นมาในใจตอนนั้นว่า "อุบัติเหตุป้องกันได้ จริงหรือ?"
ในอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส (Oil & Gas) ที่ผมทำงานนั้น เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีอันตรายในที่ทำงานสูงมาก ถ้าบริษัทไหนไม่มีการจัดการด้านความปลอดภัย รับรองได้เลยครับ ว่าไปไม่รอด บริษัทใหญ่ๆ ชั้นนำของโลก ล้วนแล้วแต่เคยประสบอุบัติเหตุร้ายแรง จนแทบเอาตัวไม่รอดมาแล้วเกือบทั้งนั้น
จากภาพยนตร์ Deepwater Horizon
หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ Deepwater Horizon เกิดที่อ่าวเม็กซิโก เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2010 แท่นขุดเจาะของบริษัท Transocean ที่ถูกว่าจ้างโดย บริษัท BP เกิดไฟไหม้รุนแรง เนื่องจากเสียการควบคุมความดันภายในหลุมเจาะ ทำให้แก๊สในหลุมพุ่งออกมา และเกิดติดไฟขึ้น เหตุการณ์ถูกซ้ำเติม ด้วยความบกพร่องของระบบปิดหลุมฉุกเฉินอัตโนมัติ ที่ไม่สามารถปิดหลุมได้อย่างที่ออกแบบไว้ ทำให้ไม่สามารถหยุดเชื้อเพลิงที่เติมเข้ากองเพลิงได้ หลังจากที่ไฟไหม้อยู่ 2 วัน แท่นทั้งแท่นก็จมลงทะเลไป เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 11 คน บาดเจ็บ 17 คน
ความเสียหายไม่ได้จำกัดแค่ชีวิตและทรัพย์สินเท่านั้น สิ่งแวดล้อมก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากน้ำมันดิบที่รั่วไหลลงทะเล เพราะระบบปิดหลุมฉุกเฉินที่บกพร่อง ประมาณว่ามีมากถึง 4 ล้านบาร์เรล เท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิกเกือบ 300 สระเลยทีเดียว
BP ถูกเรียกค่าปรับในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม สูงถึง 8.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
Mumbai High North : ภาพจาก shipsandoil.co.uk
บอกไม่ได้ว่านี่จะเป็นเหตุการณ์สุดท้าย 5ปี ก่อนหน้านั้น ในปี 2005 วันที่ 27 กรกฎาคม แท่นผลิต Mumbai High North ทิ่อินเดีย ถูกเรือชนขาแท่น โชคร้ายอยู่ตรงที่ จุดที่เรือชนดันเป็นแนวท่อส่งเชื้อเพลิงพอดี ท่อแตกและแก๊สรั่ว เหตุการณ์บานปลายกลายเป็นไฟไหม้รุนแรง มีผู้เสียชีวิต 22 คน
ย้อนหลังไปอีก ในปี 1988 วันที่ 6 มิถุนายน เหตุการณ์ Piper Alpha เป็นเหตุการณ์ไฟไหม้แท่นกลางทะเลที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์วงการน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ สาเหตุมาจากความผิดพลาดในการจัดการ มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 167 คน มีผู้รอดชีวิต 62 คน และทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ เกิดการตื่นตัว และพัฒนาองค์ความรู้ กฎหมาย และมาตรการ ด้านความปลอดภัยต่างๆ อีกมากมายตามมา
Piper Alpha : ภาพจาก Oil & Gas iQ
จะเห็นได้ว่า แม้ว่าจะมีบทเรียนแสนสาหัสจาก Piper Alpha แล้ว อุบัติเหตุที่รุนแรงอย่าง Mumbai High North และ Deepwater Horizon ก็ยังเกิดขึ้น
ในประเทศไทย ก็เคยมีอุบัติเหตุร้ายแรง ที่คนไทยน่าจะพอจำกันได้ ตอนพายุเกย์ เข้าที่อ่าวไทย ในปี 1989 วันที่ 3 พฤศจิกายน เรือ Seacrest Drillship ล่มและจมหายไป มีผู้เสียชีวิต 97 คน มีผู้รอดชีวิตเพียง 6 คน
ซึ่งเหตุการณ์แท่นเจาะ หรือเรือขนาดใหญ่ล่มในทะเลจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ก็เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้วก่อนหน้านั้น และหลังจากนั้นก็ยังคงมีเกิดขึ้นเรื่อยๆ ถ้ารองพิมพ์คำว่า maritime disasters แล้วหาในเว็ป google จะเจอเหตุการณ์มากมาย ตั้งแต่เหตุการณ์ เรือไททานิค ในปี 1912 ที่ทุกคนรู้จักกันดี จนมาถึงปัจจุบัน
ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนั้น เป็นอุบัติเหตุ ที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ในงานความปลอดภัย เรายังต่อสู้กับการป้องกันอุบัติเหตุ ที่เกิดกับแต่ละบุคคล เช่น ถูกกระแทรก ถูกหนีบ ของหล่นใส่ หรือตกจากที่สูง จนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต
ตั้งแต่วันแรกที่ผมเข้ามาในสายอาชีพความปลอดภัยจนถึงวันนี้ อุบัติเหตุในวงการที่ผมทำงานอยู่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดไป บริษัทก็ยังต้องมีคนกลุ่มหนึ่ง ทำงานด้านความปลอดภัย (Safety) รอบๆตัวเราก็ยังเห็นข่าวอุบัติเหตุต่างๆ ในวงการอาชีพอื่น เช่น ก่อสร้าง การบิน การขนส่ง การผลิต คลังสินค้า ฯลฯ ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว และเกิดซ้ำ
ประเทศไทยเรามีกฎหมายความปลอดภัย มาตั้งแต่ พ.ศ.2515 (1972) คือ ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ใครเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป) รู้จักกันดี วิวัฒนาการ กฎหมายความปลอดภัยในไทย มีสรุปไว้ได้อย่างสนุกและอ่านง่ายในเพจนี้ครับ
https://safetyhubs.com/2019/10/safety-milestone-in-thailand/
"เราจะทำให้อุบัติเหตุหมดไป หรือ ทำให้ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีกเลย ทำได้หรือไม่?”
ในตอนต่อๆไปจะมาเล่า แนวคิด วิธีการ ที่คนเป็นเซฟตึ้ ใช้ในการป้องกันอุบัติเหตุให้อ่านกันครับ
Reference:
Deepwater Horizon Blowout Animation | US CSB
https://www.youtube.com/watch?v=FCVCOWejlag&t=526s
The world’s worst offshore oil rig disasters |Offshore Technology
https://www.offshore-technology.com/features/feature-the-worlds-deadliest-offshore-oil-rig-disasters-4149812/
Deepwater Horizon – BP Gulf of Mexico Oil Spill | US EPA
https://www.epa.gov/enforcement/deepwater-horizon-bp-gulf-mexico-oil-spill
The History of Asset Integrity Management in the UK | Oil & Gas iQ
https://www.oilandgasiq.com/oil-gas/articles/the-history-of-asset-integrity-management-in-the-u
Safety Moment: Mumbai High North | Ian Sutton
https://www.youtube.com/watch?v=e57xNTQLQoQ
The legacy of Piper Alpha | Petroleum Safety Authority Norway
https://www.youtube.com/watch?v=oWQxxV7ejg8
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย