12 เม.ย. 2021 เวลา 10:27 • สิ่งแวดล้อม
🐋Seaspiracy: ใครทำร้ายทะเล🐋
อยากให้ทุกคนลองดูสารคดีนี้ใน Netflix
เพราะจะได้เห็นความจริงที่ไม่มีใครกล้าเปิดเผย
เป็นสารคดีวิทยาศาสตร์ที่อธิบายเข้าใจง่าย
เรานับถือใจนักอนุรักษ์ทุกท่านที่อุทิศตนเอง
กล้าเสี่ยงชีวิตเพื่อไปถ่ายทำสารคดีนี้ทำให้เห็นถึงเบื้องหลังความจริงเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม
⚠️อยากให้ทุกคนตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมกันมากๆเพราะจริงๆแล้วมันเป็นหน้าที่ของทุกคน
ใครที่กำลังกักตัว ว่างๆ ขอให้เปิดดูเถอะนะ แค่แชร์ต่อไปเพื่อให้คนที่ยังเพิกเฉยต่อเรื่องใกล้ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขยะพลาสติก
ขยะในมหาสมุทร การล่าสัตว์แบบผิดกฎหมาย
คนที่ยังมองปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัวเพื่อพวกเขาจะได้มีความตระหนักในเรื่องนี้อยากจริงจังได้แล้ว
ศึกษาหาข้อมูล อ่านติดตามข่าวเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมกันเถอะนะเพราะทุกคนก็อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ 🌏 ทุกคนต้องพึ่งพาทรัพยากร อากาศ น้ำ จากโลกใบนี้ด้วยกันทั้งนั้น
ที่สำคัญมนุษย์ในปัจจุบันเราเบียดเบียน "สัตว์" เพื่อนร่วมโลกมามากพอแล้ว (ถ้าใครดูสารคดีนี้จะเข้าใจเลย เอาเป็นว่ากดดูสารคดีนี้เถอะ)
🐋เนื้อหาเบื้องต้นในสารคดี🐋
📍อุตสาหกรรมล่าวาฬ ที่ไทจิ ประเทศญี่ปุ่น
📍จับวาฬเพื่อส่งขายให้สวนน้ำ
     จับมาหลายตัว แต่ขายไม่หมดทุกตัว เช่นจับวาฬได้10 ตัว
คัดเลือกตัวที่อายุน้อย ขายไงให้พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ 2 ตัว  ตัวที่เหลือถูกฆ่าทิ้ง พวกบริษัทไม่ปล่อยคืนสู่ทะเล เพราะจะโบ้ยความผิดให้ชาวประมงว่าจับปลาเกินขนาด (เป็นเรื่องกำจัดคู่แข่งทางการค้าอีก)
📍ที่ญป ยังมีการจับปลาทูน่าครีบน้ำเงิน (จับเกินขนาด)
📍จับฉลาม และ ตัดครีบ อุตสาหกรรมครีมฉลาม เพื่อส่งออกขายที่จีน
   (แต่หารู้หรือไม่ว่า ฉลามมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทะเลมากพอๆกับโลมาและวาฬ  คนที่ถ่ายทำถูกไล่ออกไม่ให้ถ่าย เพราะพวกบริษัทมันกระทำแบบผิดกฎหมาย แต่ไม่มีกฎหมายใดเอาผิดพวกมันได้
📍ข้อมูลอื่นๆที่น่าตกใจเกี่ยวกับพื้นที่ประมง
   พื้นที่ประมงที่ทำลายสิ่งแวดล้อมนี้ได้รับรางวัลการทำประมงอย่างยั่งยืนมาหลายปี (เรื่องการันตีรางวัลแบบนี้เห็นได้บ่อยในหลายองศ์กรทำไปเพื่อภาพลักษณ์ เพื่อหน้าตา แต่เบื้องหลังแล้วตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง)
📍มีองศ์กรที่รัฐบาล(ของประเทศในสารคดี)ที่ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อปกป้องการล่าวาฬที่ผิดกฎหมาย แต่ก็ล้มเหลว ไม่สามารถจัดการอะไรได้...
🐋🌏 กลุ่มอนุรักษ์ทะเล ซีเชปเพิร์ด
  "กลุ่มอาสาสมัครที่ล่องเรือไปทั่วโลกเข้าไปเสี่ยงภัยเพื่อปกป้องสัตว์ทะเลและลงโทษอาชญากรบนพื้นมหาสมุทรที่เป็นฮีโร่ตัวจริงที่คอยช่วยเหลือสัตว์น้ำ ไม่ใช่ไอ้พวกฉลากสินค้าอาหารที่มีฉลากบอกว่าสัตว์น้ำปลอดภัยที่เราเห็นในผลิตภัณฑ์อาหารในซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ
แต่จริงๆแล้วพวกฉลากโลมาปลอดภัย (Dolphin safe) ของพวกบริษัททูน่ากระป๋องมักจะปิดบังเรื่องราวแท้จริงที่เกิดขี้นในทะเล
💁‍♀️[ถ้าให้เห็นภาพชัด ก็คล้ายกับการขอ อย.ของไทยนั่นแหละ
 ใครอยากผลิตครีมแบรนด์ใหม่ ก็แค่นำหลักฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์มาให้ตรวจสอบ จ่ายเงิน เอาตราสัญลักษณ์รับประกันไปให้ดูน่าเชื่อถือ
แต่ความจริง คงไม่มีเจ้าหน้าที่ขอบริษัทที่ให้ตรานั้นไปดูทุกขั้นตอนการผลิตในทุกๆวันหรอก ใครจะไปรู้ว่าโดยครีมนั้นปลอดภัยจริงไหม]
เช่นเดียวกับการทำประมงเชิงพาณิชย์ จับสัตวน้ำ ไม่มีใครรู้จริงๆหรอกว่าวาฬ ฉลาม หรือปลาโลมาที่ติดมากับอวนประมงจะปลอดภัยจริงๆ ไม่ได้ตายก่อนปล่อยลงสู่มหาสมุทร)
📍ขยะพลาสติก หลอด ถุงพลาสติก ฆ่าสัตว์  เกือบทุกประเทศรณรงค์เรื่องนี้ ก็ดี แต่ว่า..... 🚫
สาเหตุการตายของสัตว์น้ำ มาจาก "ขยะอุปกรณ์ประมง"
(ซึ่งเป็นปัญหาขยะที่ไม่มีใครพูดถึง)
⚠️ตัวการหลักที่เป็นสาเหตุการตายของเต่า/วาฬ/ฉลาม มาจาก
 "ขยะอุปกรณ์ประมง" (อวนจับปลา) (ซึ่งเป็นปัญหาขยะที่ไม่มีใครพูดถึง) ฉะนั้น Say no to eating fish ลดการบริโภคเนื้อลงกันนะ
📌 นี่ยังได้รู้ Fact ที่น่าตกใจมาก🤦‍♀️
"เหตุการณ์ดีปวอเทอร์ฮอไรซันทำน้ำมันดิบรั่วในอ่าวเม็กซิโก"
หรือ ข่าวที่น้ำมันดิบปริมาณมากไหลทะลักลงสู่ทะเลเป็นเวลาหลายเดือน  ทุกคนตกใจทีมีสัตว์ทะเลลอยตายเกลื่อน
⚠️แต่จริงๆอุตสาหกรรมสัตว์น้ำในเม็กซิโกฆ่าสัตว์น้ำแค่วันเดียว ก็ฆ่าได้มากกว่าเหตุการณ์น้ำมันรั่วตลอดหลายเดือนอีกจ้าาา!!!!!
(เหตุการณ์น้ำมันดิบไหลรั่วนั้น ทำให้มีการปิดพื้นที่ประมงเป็นวงกว้าง สัตว์น้ำได้ประโยชน์จากเหตุการณ์นี้ด้วยซ้ำเพราะได้พักจากการโดนจับประมง)
📍มหาสมุทรเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
"พืชทะเล" สาหร่าย,ปะการัง  🌊พืชทะเลชายฝั่งเพียง 2.5 ไร่ สามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าบนบกถึง 20 เท่า 🌳
(ถ้าอยากแก้ปัญหาสภาพอากาศ Climate Change สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือปกป้องมหาสมุทร)
📍ชาวประมงเรือเล็กในแอฟริกาตะวันตกมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในโลกเพราะจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
📍ฟาร์มแซลมมอนไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาการทำประมงพาณิชย์
📍 แรงงานทาสราคาถูก คนที่ถูกรักพาตัว เป็นความจริงที่ถูกบิดเบือนในอุตสาหกรรมการทำประมงพาณิชย์
🤦‍♀️น่าสงสารมากถ้าทุกคนที่ได้ดูสารคดีนี้จนจบ จะได้ยินประโยคที่น่าตกใจ "อาหารทะเลมาจากแรงงานทาส ผู้บริโภคไม่รู้หรอกว่าตนเองทานอาหารทะเลที่ถูกจับมาโดยใช้แรงงานทาส มีการเสียชีวิตของคน การลักลอบค้ามนุษย์ การฆ่ามนุษย์จากธุรกิจประมงนี้"
📍อีกข้อเท็จจริงที่ทำตกใจมาก คือ Omega-3 น้ำมันตับปลาโอเมก้า ที่พวกเราส่วนใหญ่เชื่อกันว่ามาจากปลาน้ำลึก 🐟
แต่ข้อมูลนี้พวกเราเข้าใจผิดกันมาโดยตลอด❌
แท้จริงนั้น ปลาไม่ได้สร้งโอเมกา-3เอง
เซลล์สาหร่ายต่างหากที่สร้างโอเมกา-3 (Omega-3 Algae oil)
มันเป็นน้ำมันจากสาหร่าย
🐋ปลากลืนสาหร่ายเข้าไป > ดีเอชเอจากสาหร่ายก็เข้าไปอยู่ในเนื้อปลา >จากนั้นเราฆ่าปลา บดขยี้เนื้อปลา> บีบเอา "น้ำมันปลา" ออกมาเพราะมันมีโอเมกา-3
📍💚เราชอบที่สารคดีนี้ตรงที่มีทั้ง Fact และ Solution
และเป็นครั้งแรกที่ได้รู้จักกับ https://www.newwavefoods.com/about/ จากสารคดีนี้
เป็น Start-up ที่ผลิตอาหารจากพืชทะเล
ซึ่งมันเป็นทางเลือกที่ดีมากๆ เพราะช่วยลดปัญหาเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย ได้ช่วยเหลือสัตว์น้ำ อาหารที่ทานเข้าไปก็ไม่ต้องเสี่ยงกับโคเลสเตอรอล, เนื้อไม่มีสารพีซีบี, ไม่มีปรอท, ไม่มียาปฎิชีวนะและสารพิษตกค้างอื่นๆ :-)
🥑🥦🍽พืชเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ส่วนตัวหลังจากดูสารคดีนี้จบ แค่1 ชม.
ได้มุมมองใหม่ๆมากขึ้น มีความรู้สึกอยากกินเนื้อสัตว์ เนื้อปลาน้อยลง
อยากเป็น #vegan เลย 😊
อยากให้ประเทศไทยมีอาหารสำหรับ vegan+ราคาคาย่อมเยาว์
อาหารที่ผลิตจากพืช+ทานแล้วได้พลังงาน
📍ยังมีข้อเท็จจริงอื่นๆที่เราทุกคนควรจะรู้ไว้
ดูสารคดีนี้แล้วจะได้เห็นพวกผลประโยชน์ทับซ้อน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, เบื้องหลังของธุรกิจเยอะแยะมากมาย
"มาตระหนักรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมกันเถอะทุกคน💚🌏🐋"
#สิ่งแวดล้อม #environment
#seaspiracy #netflix
#vegan #ocean #สารคดีสิ่งแวดล้อม #วิชาสิ่งแวดล้อม #readandlearn
#seashrepherd
โฆษณา