16 เม.ย. 2021 เวลา 02:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิธีบริหารเงินของคนจน ที่คนรวยอาจไม่เข้าใจ
11
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าคนจนไม่น่าจะสามารถออมเงินได้
และก็คงไม่ค่อยสนใจเรื่องการบริหารเงินมากนัก
แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นแบบนั้น
4
เพราะนักวิจัย 2 คน คือ คุณสจวร์ต รัทเทอร์ฟอร์ด และ คุณสุขวินทร์ อาโรรา
ได้ศึกษา และจัดทำหนังสือที่เกี่ยวกับการเงินคนจนที่ชื่อว่า “The Poor and Their Money” ขึ้น
ซึ่งพวกเขาได้อธิบายตั้งแต่วิธีการออม รวมถึงการบริหารเงินของกลุ่มคนจน
ในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก โดยใช้ระยะเวลาการศึกษายาวนานถึง 30 ปี
10
วันนี้ เรามาดูกันว่านักวิจัยทั้ง 2 คน ได้สรุปวิธีบริหารเงินของคนจนไว้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
1
โดยทั่วไป กลุ่มคนที่มีรายได้ประจำ ที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายมักจะออมเงิน
หรือนำเงินบางส่วนไปลงทุนเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามที่ตัวเองเกษียณ
หรือในบางครั้งที่ยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ก็มักจะออมเงินไว้ในธนาคาร
1
โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะมีระยะเวลาในการออมที่ค่อนข้างยาวนาน
2
แต่ในมุมของผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
หรือที่เราเรียกว่า กลุ่มคนจน ไม่สามารถทำแบบนี้ได้
3
เพราะพวกเขามีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินตลอดเวลา
โดยมองว่า “เป้าหมายระยะยาวเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและจับต้องได้ยากเกินไป”
17
เรื่องดังกล่าวทำให้พวกเขามักออมเงินเพื่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้
เช่น ค่าเทอมของลูก, ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
12
โดยคุณสจวร์ต รัทเทอร์ฟอร์ด และ คุณสุขวินทร์ อาโรรา ได้ระบุว่าปัจจัยที่คนจนสามารถออมเงินจนบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ ก็คือ “วินัย”
7
แต่ด้วยสภาพแวดล้อมของกลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ได้เอื้ออำนวยให้สามารถออมเงินได้ เช่น ในย่านสลัมที่ประเทศอินเดีย เพราะที่พักอาศัยไม่เหมาะกับการเก็บเงินสด รวมถึงมีการโจรกรรมเกิดขึ้นบ่อย
7
ทำให้พวกเขาต้องพึ่งพา “คนนอกระบบ” เพื่อทำหน้าที่เก็บรักษาเงินไว้
หรือผู้ที่สามารถช่วยรักษาวินัยในการออมเงินของพวกเขา
แม้ว่าจะต้องเสียค่าบริการในการออมเงินก็ตาม
4
โดยวิธีการออมเงินประเภทนี้ ก็คือ ฝากเงินไปจำนวนหนึ่ง
แต่เวลาถอนมาจะได้น้อยกว่าที่ฝากไปเสมอ
1
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมกลุ่มคนเหล่านี้จึงยอมเสียเงิน
แทนที่จะได้ดอกเบี้ยจากการฝากเงินในธนาคาร
7
Cr. Thai E-News
เหตุผลสำคัญก็เพราะว่า เงินของพวกเขามีปริมาณน้อยจนเกินไป เช่น
คนชั้นแรงงานในประเทศอินเดียจะฝากเงินวันละ 5 รูปี หรือราว 2 บาท
ซึ่งแน่นอนว่าดอกเบี้ยที่ได้นั้น ไม่คุ้มค่ากับค่าเสียเวลาและค่าเดินทางเลย
15
พวกเขาจึงยอมเสียค่าบริการให้กับคนนอก
เพราะอย่างน้อยคนนอกเหล่านี้จะมาเก็บเงินถึงที่บ้าน
ทำให้พวกเขาไม่ต้องเสียเวลาทำมาหากิน และยังประหยัดค่าเดินทางอีกด้วย
8
จะเห็นได้ว่าวิธีข้างต้นเป็นการออมเงินก้อนเล็กก่อน ถึงจะได้เงินก้อนใหญ่ในภายหลัง
4
แล้วหากกลุ่มคนจน อยากได้เงินก้อนใหญ่ ต้องทำอย่างไร ?
อีกวิธีที่เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมแทบจะทุกประเทศในกลุ่มที่กำลังพัฒนาเลย
ก็คือ “สินเชื่อนอกระบบ” ซึ่งมีข้อดีคือ ไม่ต้องมีหลักประกัน และใช้เวลาในการกู้ไม่นาน
แต่ก็ต้องแลกมากับดอกเบี้ยที่สูงมหาศาล
2
สำหรับกลุ่มคนที่ต้องการเงินก้อนประเภทนี้
พวกเขาจะไม่ได้ดูที่ดอกเบี้ยอย่างเดียว
แต่จะคำนึงถึง ขนาดและความถี่ต่องวดมากกว่า
5
หมายความว่า เงินกู้ที่พวกเขามีกำลังผ่อนต่องวด แม้จะโดนอัตราดอกเบี้ยสูง
จะมีประโยชน์มากกว่าเงินกู้ที่พวกเขาได้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ผ่อนต่องวดไม่ไหว
3
กลุ่มคนที่มักใช้วิธีแบบนี้ จึงเป็นเหล่าเกษตรกร
ที่ต้องนำเงินมาบริหารค่าใช้จ่ายก่อนผลผลิตออกผล
หรือเหล่าพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องซื้อสินค้ามาก่อน ถึงจะสามารถค้าขายได้
4
ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวนี้เอง ก็ได้เป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้โลกของเราเกิดธุรกิจ
ที่เรียกว่า “ไมโครไฟแนนซ์” และ “นาโนไฟแนนซ์” เช่น การนำทะเบียนรถไปเป็นหลักค้ำประกัน
ที่กำลังเติบโตโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
อย่างเช่นในประเทศไทย ธุรกิจจำนำทะเบียนรถบางบริษัทกลับมีมูลค่ามากกว่าธนาคารเสียอีก
7
ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีอีกวิธี ที่เราสามารถมีเงินก้อนใหญ่
โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายอะไรเลย
ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่กลุ่มคนจนคิดค้นขึ้นมาเอง
วิธีที่ว่านี้ เรียกว่า “วงแชร์”
6
Cr. Shamseya
วงแชร์ จะเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีวัตถุประสงค์คือ การออมเงินร่วมกัน
โดยมีขั้นตอนก็คือ ทุกคนจะวางเงินกองกลางของตัวเองเอาไว้
หลังจากนั้นก็แจกจ่ายแก่สมาชิกตามลำดับจนกว่าจะครบทุกคน
5
วิธีนี้ เป็นอีกวิธีที่ทำให้คนที่มีความต้องการใช้เงินในเวลานั้น ๆ สามารถมีเงินในการใช้จ่ายได้
ในขณะที่สมาชิกคนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้รับเงิน ก็จะได้รับในงวดต่อไปแทนนั่นเอง
6
ปัจจุบัน โลกของเรายังมีกลุ่มประชากรที่จัดอยู่ในกลุ่มคนจนราว 689 ล้านคน
คิดเป็น 9.2% ของประชากรทั่วโลก ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีรายได้เฉลี่ยเพียง 60 บาทต่อวัน
2
ในขณะที่ผลการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการออม และการบริหารเงิน
ของคุณสจวร์ต รัทเทอร์ฟอร์ด และ คุณสุขวินทร์ อาโรรา
5
ก็ได้แสดงให้เห็นว่า จริง ๆ แล้วพวกเขามีความคิดที่จะออม
หรือบริหารเงินไม่ต่างอะไรไปจากกลุ่มคนทั่วไป
แต่ดูเหมือนว่ากลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ได้มีทางเลือกมากมาย
ที่มีก็ดูจะเป็นการคิดค้นขึ้นมาเอง ซึ่งมีข้อจำกัดพอสมควร
หรือถูกขูดรีดโดยผู้อื่นที่เอาเปรียบ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
หนังสือ The Poor and Their Money ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2000 หรือราว 21 ปีก่อน
ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่า เนื้อหาเกี่ยวกับการเงินคนจนทั้งหมดในเล่มนี้
ไม่ว่าจะเป็นเงินกู้นอกระบบ หรือแม้แต่วงแชร์ ยังคงเป็นเรื่องราวที่ยังเกิดขึ้น
ในสังคมประเทศกำลังพัฒนา จนถึงทุกวันนี้..
5
Cr. Goodreads
References
-หนังสือ The Poor and Their Money โดยคุณสจวร์ต รัทเทอร์ฟอร์ด และ คุณสุขวินทร์ อาโรรา
1
โฆษณา