17 เม.ย. 2021 เวลา 14:00 • การศึกษา
สรุป The Money Case & The Money Growth by THE STANDARD
TMC EP.27/28 วางแผนการเงินและนักวางแผนการเงิน (feat. Avenger Planner)
วางแผนการเงิน = คล้ายกับการวางแผนชีวิต ไกด์ไลน์ที่ทำให้เรารู้ว่าเป้าหมายเราคืออะไร
- คนทุกคนไม่ว่ามีเงินหรือไม่มีก็ต้องวางแผนการเงิน
- ถ้าการเกษียณเป็นความมั่งคั่ง ก่อนหน้านั้นก็คือเงินสำรอง หนี้สิน การศึกษา ลูก ฯลฯ
- มี 2 ทิศทาง 1.อยากรวย 2.แก้ปัญหา สุดท้ายยังไงเป้าหมายคือมั่งคั่งเหมือนกัน
นักวางแผนการเงิน (ยกตัวอย่างเช่น Avenger Planner)
- คุณสมบัติที่ควรมี 1.Customer-oriented 2.ดูความเป็นไปได้ที่มีต่อเป้าหมายให้ลูกค้า 3.มีการทำงบการเงินให้
- ที่ปรึกษาด้านการเงิน ไม่ใช่ปรึกษาให้ได้เงินมากที่สุด แต่มีโอกาสมากที่สุดที่จะไปถึงเป้าหมาย ภายใต้ความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้
- จริงๆ คนที่เข้ารับบริการควรจะมีความรู้ด้านการเงินมาบ้าง
- อาจจะมีการขายขของบ้าง ต่อให้ไม่ใช่ Avenger Planner ก็ต้องมีเพื่อให้องค์กรอยู่รอด แต่ก็จะให้อยู่ในขอบเขตที่เอื้อประโยชน์ให้ลูกค้ามากที่สุด ไม่ใช่ประโยชร์ของผู้ขายเป็นที่ตั้ง
- ที่ปรึกษาไม่ใช่พระเจ้า การีนตีผลลัพท์ไม่ได้ แต่เป็นคนที่คอยชี้ทาง ลูกค้าเป็นคนตัดสินใจเองทั้งนั้น
- นักวางแผนการเงินดูที่วุฒิได้แค่ส่วนนึงเท่านั้น แต่ก็ใช่ว่าวุฒิจะการันตีว่านักวางแผนคนนั้นจะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ อาจจะขายของเยอะเกินเพราะหวังผลประโยชน์ หรือนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิด สุดท้ายแล้วลูกค้าก็ต้องมีความรู้เบื้องต้นมาประกอบการตัดสินใจอยู่ดี
- “จริง 7 เท็จ 3” 3 นี่อาจจะขายของ
กรณีตัวอย่างวางแผนการเงิน
- การแนะนำแบบ Sub-optimal: เลือกอันที่เอื้อผลประโยชน์ให้ลูกค้าอยู่ในอันดับรอง เนื่องจากสินค้านั้นมีผลประโยชน์กับนักวางแผนมากกว่า (ค่าคอมมิชชั่นสูงกว่า)
- เสนอของที่อยู่นอกกฏหมายไทย: ถ้าเป็นคนที่มีฐานะดีและมีความเชี่ยวชาญอาจจะดูแลตัวเองได้ แต่ถ้าเป็นคนทั่วไปแล้วไม่แนะนำและไม่ควรเสี่ยง เนื่องจากดูแลยากและบางอย่างประเทศเราไม่รองรับ
- เสนอของผิดกฏหมาย: การเสมอผลแบบการันตี ซึ่งบางครั้งก็ไม่เป็นธรรม
โฆษณา