12 เม.ย. 2021 เวลา 14:34 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วันนี้เรามาพูดถึง IPO ตัวล่าสุดที่กำลังจะเข้าตลาดในเดือนนี้และก็เป็นที่สนใจไม่น้อยในวงกว้างกันหน่อย กับ เงินติดล้อ หรือใช้ชื่อย่อหลังเข้า trade ว่า “TIDLOR”
TIDLOR ถือเป็นหุ้นขนาดใหญ่ติด TOP 5 ของหมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ที่กำลังจะเข้าตลาด จะว่าไปก็เหมือนเป็นฝาแฝดของ SAWAD เพราะเดิมที ทั้งสองบริษัทก็มาจากผู้ก่อตั้งคนเดียวกัน คือตระกูลแก้วบุญตา แล้วพอโตขึ้นมาก็แยกกันไปคนละทาง ฉะนั้น การเปรียบเทียบที่ดีที่สุดคือเปรียบเทียบกับคู่แฝดเค้านั่นล่ะ
วิธีการจองใช้แบบ small lot first ลักษณะเดียวกันกับ OR เมื่อตอนต้นปี เริ่มที่ขั้นต่ำ 1,000 หุ้น หรือ 36,500 บาท แจกคนที่จองทุกคนจนครบรอบแล้วเวียนไปเรื่อยๆรอบละ 100 หุ้นจนกว่าจะครบตามจำนวนที่จัดสรร
ราคาเสนอขาย IPO 34 – 36.5 บาท ให้จองที่มูลค่าสูงสุดถ้า final IPO price ต่ำกว่าก็จะคืนส่วนต่างให้คนจอง (แต่คาดว่าคงจัดเต็ม max เหมือนเดิม)
ซื้อ online ได้ทาง ธนาคารกรุงศรี, ธนาคารกสิกร และ บลจ.กรุงศรี ช่วงวันที่ 22-26 เมษายน
ข้อมูลเพิ่มเติม
มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้น ณ ปัจจุบันคือ 11,748.5 ล้านบาท แบ่งหุ้น 45% มา IPO (ในกรณีมีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งหมดแล้ว ถ้าไม่ได้ขาย greenshoe ก็จะมีหุ้นกระจายในตลาด 40%)
ผู้ถือหุ้นใหญ่สองอันดับแรกหลัง IPO ยังคงเป็น ธนาคารกรุงศรี และ Siam Asia Credit Access Pte.Ltd เหมือนเดิม ที่สัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ 30% ละ 25% ตามลำดับ
หุ้นที่เอามาออกขาย IPO คือ 1,043.54 ล้านหุ้น ถ้าคิดที่ 36.5 บาทต่อหุ้น ก็คือมีการ raise fund จาก IPO รอบนี้ราวๆ 38,000 ล้านบาท แบ่งให้นักลงทุนสถาบัน 69% และรายย่อย 31% อาจจะมี greenshoe option อีกไม่เกิน 15% ของหุ้นที่เสนอขายทั้งหมด
ถ้าคิดส่วนของรายย่อย 46.5 ล้านหุ้น ขั้นต่ำคนละ 1,000 หุ้น แปลว่าจะแจกไพ่วนครบ 1 รอบ ต้องมีคนจอง 46,500 คน แต่ถ้าเทียบความบูมในกระแสกับตอน OR ที่มีคนจอง IPO ร่วม 5 แสนคน คิดว่ารอบนี้อาจจะไม่สูงขนาดนั้น
ดังนั้น ถ้าสมมติคิดคร่าวๆ ว่ามีคนจอง 1 หมื่นคน (เทียบกับ SAWAD มีผู้ถือหุ้นอยู่ 14,600 คน) แปลว่าจะได้คนละประมาณ 4,600 หุ้น หรือเงินจองราวๆ 1.7 แสนบาท โดยเฉลี่ย
เทียบในแง่ company profile แล้ว TIDLOR ถือเป็นเบอร์ 3 ของตลาดสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เป็นรองแค่ MTC กับ SAWAD ในแง่ของ Market cap
ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ล่าสุด ในส่วนของรายได้ ค่อนข้างใกล้เคียงกับเบอร์ 2 อย่าง SAWAD ในส่วนของ net profit margin อยู่ที่ราวๆ 23% ซึ่งยังสู้ SAWAD ไม่ได้ที่มี margin มากกว่า ที่ราวๆ 35-38% ส่วนต่างนั้นน่าจะมาจากเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุน
ในแง่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย หรือ Net Interest Margin (NIM) SAWAD ยังทำได้ดีกว่าที่ 18% ในขณะที่ TIDLOR ทำได้ราว 15%
ถ้าดูเรื่อง growth rate ย้อนหลัง 3 ปี จะเห็นว่า TIDLOR ทำได้ดีกว่า โดยมีการเติบโตเฉลี่ยของรายได้และกำไร ราวๆ 30% ต่อปี ในขณะที่ SAWAD โตราวๆ 18% ต่อปี
ราคา IPO นี้แพงมั้ย ก็ต้องบอกว่าไม่ได้ถูก ถ้าคิดจาก EPS ปี 2563 ที่ 1.2 บาทต่อหุ้น ที่ราคา IPO 36.5 บาท หมายความว่า P/E ที่เข้าตลาดคือ 30.4 เท่า ซึ่งสูงกว่า average P/E ของ sector นี่ที่ 25.5 เท่า ไปราวๆ 20%
ถ้าเอามาเทียบกับ 2 คู่แข่งหลักอย่าง SAWAD และ MTC สองรายนั้นมี P/E ปัจจุบันที่ 26 และ 27.5 เท่าตามลำดับ ซึ่งแปลว่า TIDLOR ก็ยังดูแพงกว่าอยู่ดี
บางคนอาจจะบอกว่า ขนาด SAK และ NCAP ที่เป็นรายเล็กกว่า ยังมี P/E ตั้ง 41 และ 61 เท่า เลย อาจจะคิดแบบนั้นก็ได้ แต่การเปรียบเทียบคู่ชก น่าจะมองที่ระดับใกล้ๆกันมากกว่า
Market size ของ leasing sector นี้มีราวๆ 1 แสนล้านบาท ค่อนข้างเป็น red ocean พอสมควรในปัจจุบัน แต่ละเจ้าก็คงงัด campaign มาสู้กันเต็มที่เพื่อแย่ง market share กัน TIDLOR เองก็มี market share อยู่ราวๆ 10%
ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.tidlorinvestor.com/th
ลองพิจารณากันดูเอาเองนะครับ ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรจากดีลนี้ แค่ลองหาข้อมูลเบื้องต้นดูก่อนจะตัดสินใจว่าจะร่วมวงกับเค้าด้วยมั้ย
โฆษณา