13 เม.ย. 2021 เวลา 10:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ล่าสุด CSI 300 index วกกลับลงมา test แถวๆเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันอีกครั้งในวันนี้ หลังจากที่ได้ลงมา test ไปครั้งนึงเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน แล้วก็มีแรงซื้อทาง technical กลับขึ้นไปได้ ประมาณ 5% แต่แล้วก็แผ่วลงมาที่เดิม ซึ่งลงมาแล้วจากจุดสูงสุดเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ประมาณ 17%
สำหรับคนที่ลงทุนในจีน A share ตรงนี้เป็นจุด pivot point ที่สำคัญว่าจะหลุดหรือไม่หลุดในสัปดาห์นี้
ในกรณีที่เอาไม่อยู่ จุดที่จะพอน่าสนใจอีกครั้งคือที่บริเวณ 4500 หรือ ลบอีก 8% จากตรงนี้ ซึ่งเป็นฐานเดิมในรอบ 9 เดือน และ step ถัดไปคือแถวๆ 4200 หรือ ลบอีก 14% จากตรงนี้ ซึ่งเป็นแนวก่อนที่จะ break out มาในปีที่แล้ว
1
ข้อมูลในอดีตบอกเราว่า big correction สามารถเกิดขึ้นได้เสมอกับตลาดจีน A share ในทาง technical คือลงมาถึงระดับ Fibonacci retracement 78.6% - 87.6% ได้เลย
ปี 2015: -47% draw down ใช้เวลา 7 เดือนถึงจุดต่ำสุด ครั้งนั้นมากจาก bubble burst เพราะรัฐบาลเข้ามาควบคุม
ปี 2018: -33% draw down ใช้เวลา 12 เดือนถึงจุดต่ำสุด ครั้งนั้นมาจาก USA China Trade war
แล้วครั้งนี้ล่ะ story behind ที่หลายๆคนแห่กันไปลงทุนในจีนตอนนี้คือเจ้ากราฟนี่ ที่เราคาดการณ์กันว่า จีนวันนี้และในอนาคต จะไม่ใช่จีนในอดีต จากข้อมูล retail market consumption ที่โตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนเกือบจะมาเท่ากับอเมริกา และอาจจะมีโอกาสแซงก็เป็นได้ในอนาคต
เข้าใจว่าคนที่ลงทุนในจีน โดยเฉพาะ A share ส่วนใหญ่ก็คงจะผ่านกองทุนเป็นหลัก เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆอย่างที่ทำให้การเข้าไปลงทุนหุ้นรายตัวด้วยตัวเองค่อนข้างทำได้ยากกว่ามาก ผมก็เลยเอาสรุป performance ของกองทุนในไทยที่ลงใน China A share มาให้ดูกัน
จากทั้งหมด 11 กองในปัจจุบัน แบ่งเป็น Active fund 7 กอง และ passive fund 4 กอง
กอง mater fund หลักของต่างประเทศ จริงๆแล้วมีอยู่ไม่กี่กอง ซึ่งแยกให้แล้วตามสีต่างๆ ถ้ามองแบบคร่าวๆจะเห็นว่า กองที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมากลับเป็นกอง passive อย่าง TMBCHEQ ซึ่งลงผ่าน iShare FTSE A50 China index ETF ของ Blackrock ในขณะที่กอง active ต่างๆแพ้หมดในภาวะตลาดขาลงช่วงนี้
แต่ถ้ามองถอยหลังไปไกลๆหน่อย ดูเหมือนว่า master fund ที่เป็นผู้ชนะจะเป็นค่าย UBS ซึ่งตั้งมานานกว่าใคร ในขณะที่กอง feeder ของ Allianz ในไทยเพิ่งจะมีไม่นานเลยไม่สามารถเปรียบเทียบได้ แต่ผลงานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาก็จัดว่าดีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีขึ้นไป ในภาพรวมก็ต้องบอกว่าไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเลือกกองไหนก็ค่อนข้างสูสี
พวก passive fund ใน long term อาจจะสู้ active fund ไม่ได้ แต่ก็มีข้อดีคือ maximum draw down ในช่วงตลาดขาลงก็จะน้อยกว่า
จุดนี้สามารถเปรียบเทียบได้จาก Sharpe ratio ประกอบการตัดสินใจได้เช่นกัน (ค่า Sharpe ratio หมายถึง ผลตอบแทนส่วนเกินต่อหน่วยความเสี่ยง)
ผมขอยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบ portfolio ของ active master fund หลัก 2 กองระหว่าง Allianz Global Investors Fund - Allianz China A-Shares กับ UBS (Lux) Investment SICAV - China A Opportunity มาให้ดูเล็กน้อย
Allianz Global Investors Fund - Allianz China A-Shares
กองในไทย: KT-Ashares , MCHINA
portfolio ค่อนข้างกระจาย ไปในทุก sector ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะ sector หลักๆที่รับเรื่อง reflation theme หรือการกลับมาขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่าง Industrial, Financial, Consumer แต่ก็ยังมีสัดส่วนของ Tech กับ Healthcare ด้วยพอสมควร
ในส่วนของ Top 10 holdings เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักหลายๆบริษัทเหล่านี้เท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเน้นลูกค้าภายในประเทศจีนเองเป็นหลัก ไม่ได้เป็นแนว global เหมือนอย่างบริษัทที่ listed ในตลาดฮ่องกง
สัดส่วนทั้งหมดของ 10 อันดับแรกอยู่ที่ 34.4% ของ port ซึ่งตีความได้ว่า กองนี้เค้าค่อนข้างถือหุ้นหลายตัวมากพอสมควรในสัดส่วนเล็กๆน้อยๆกระจายๆไป
UBS (Lux) Investment SICAV - China A Opportunity
กองในไทย: KFACHINA-A , TMB-ES-CHINA-A , K-CCTV (สัดส่วน 63%) , PRINCIPAL CHEQ-A (สัดส่วน 66%)
portfolio จะมีการกระจุกตัวกว่าของกอง Allianz โดยจะเน้นหลักๆไปที่ 4 sectors อย่าง Consumer, Healthcare, Financial และ Tech
Top 10 holdings ของกองมีทั้งส่วนที่คล้ายกับ Allianz ในหลายๆตัว แต่ให้น้ำหนักที่สูงขึ้นกว่ามาก เพราะสัดส่วนทั้งหมดของ 10 อันดับแรกอยู่ที่ 67% หรือกว่า 2 ใน 3 ของ port คือเรียกได้ว่าค่อนข้างจะ focus กว่า
ทีนี้ เรามาลองดูในแง่ Risk Return เฉลี่ย 3 ปีกันบ้าง จาก matrix จะเห็นว่ากองของ Allianz มีความเป็น higher risk higher return มากกว่าเมื่อเทียบกับ UBS
บทสรุป
สำหรับคนที่ลงทุนระยะสั้น จุดเข้าและออกทาง technical จะเป็นตัวช่วยสำคัญ และควรมีวินัยในการ cut loss หากว่าซื้อแล้วมันไม่ได้ขึ้นอย่างที่เราคาด เพราะถ้ามัวแต่เสียดาย มันจะเปลี่ยนเป็นลงทุนระยะยาวแทนโดยอัตโนมัติ หรือเรียกง่ายๆว่าติดดอย แล้วชีวิตเราจะอยู่บนคำว่า Hope ในทันที
ส่วนคนที่ลงทุนระยะยาว จากข้อมูลในอดีต กอง active fund สามารถทำผลงานได้ดีกว่า passive fund ใน long term แต่ก็เหมาะกับคนที่สามารถรับความผันผวนได้มากกว่าด้วยเช่นกัน ลองชั่งน้ำหนักดูว่าท่านเป็นประเภทไหนก่อนจะเลือกซื้อกองใดๆครับ
หวังว่าพอจะเป็นไอเดียได้บ้างสำหรับสายกองทุนจีนนะครับ สวัสดีวันปีใหม่ไทยครับ
โฆษณา