Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เด็กการเงิน DekFinance
•
ติดตาม
13 เม.ย. 2021 เวลา 13:41 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📌เข้าใจ Behavioral Finance หรือการเงินเชิงพฤติกรรม ใน 10 นาที เราควรมีความรู้สึกตอนลงทุนหรือไม่?📌
[รู้จัก Behavioral Finance แล้วเราจะลงทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น]
ต้องยอมรับว่านักลงทุนอย่างเราๆ ไม่ได้มีแค่เหตุผลในการซื้อขายเท่านั้น หลายครั้งเราก็มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งก็ไม่ผิดนะ เพราะขนาดในทางการเงินยังมีศาสตร์แขนงหนึ่งออกมาอธิบายพฤติกรรมเหล่านี้เลย เรียกว่า Behavioral Finance หรือ การเงินเชิงพฤติกรรม เป็นแนวคิดที่บอกว่านักลงทุนมีอคติ มีความลังเลใจในการลงทุนที่เกิดมาจากอารมณ์ความรู้สึกของเราเอง ซึ่งอคติพวกนี้ถือว่าเป็นกับดักในการลงทุน ทำให้การลงทุนของเราไม่ประสบความสำเร็จ
วันนี้ #เด็กการเงิน ขอมาอธิบายว่า Behavioral Finance เป็นอย่างไร และ 4 กับดักที่พบได้บ่อยในโลกของ Behavioral Finance ที่เราอยากย้ำให้นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
🎯ก่อนอื่นมาเริ่มจาก Prospect Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีหนึ่งของนักจิตวิทยา Kahneman & Tversky ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2002 โดยเขาได้อธิบายไว้ว่า คนเราตีค่าของการสูญเสียและการได้รับแตกต่างกัน มันเป็นความรู้สึก/ความพอใจ หรือ Utility พูดง่ายๆ ว่าคนเราจะรู้สึกแย่กับการสูญเสีย มากกว่า รู้สึกดีกับการได้รับ ในอัตราที่แตกต่างกัน โดยทฤษฎีนี้มีประเด็นหลักๆ อยู่ 5 ข้อคือ
1. Reference point 🤔 คือคนตัดสินใจลงทุนอะไรสักอย่าง จะมีจุดเปรียบเทียบในตอนเริ่มต้น เช่น เงินที่เรามีในการลงทุน หรือความมั่งคั่งในพอร์ตที่เราสะสมมา มากกว่า ผลตอบแทนที่จะได้ หรือ ความน่าจะเป็น เช่น เราเป็นนักลงทุน เราเน้นผลตอบแทน แต่เรามีความกังวลเรื่องจุดเริ่มต้น ความมั่งคั่งหรือต้นทุน ว่าอาจจะเสียไป เป็นส่วนในการตัดสินใจเสมอ
2. Risk Aversion in Gain 📈 คือเมื่อเราได้กำไรจากการลงทุน แม้เพียงน้อยนิด เรากลับกลัวการเสียกำไรนั้นไป จึงรู้สึกกังวล อยากขายทั้งที่ยังไม่ถึงเวลา
3. Risk Seeking in Loss 📉 คือเมื่อเราขาดทุนจากการลงทุน เรากลับถัวเฉลี่ยต้นทุนเข้าไป ยิ่งลงยิ่งถัว โดยที่เราไม่คิดว่าขาดทุนแล้วควรหยุดการลงทุน
4. Overweight of Low Probability 😨 คือความเสี่ยงบางอย่าง ถึงแม้จะน้อยมาก แต่คนเราไม่ชอบความเสี่ยง จึงรู้สึกว่ามันเสี่ยงกว่าค่าสถิติ เช่น การซื้อประกันสุขภาพโรคร้ายแรง หรือ ประกันอัคคีภัย ซึ่งจากสถิติแล้ว โอกาสน้อยกว่า 1 ใน 1 แสน หรือน้อยกว่านั้นซะอีก แต่เรากลับคิดว่าโอกาสนั้นเกิดขึ้นได้ระดับ 1 ในร้อยเคส เป็นต้น (โอ้โห เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว) หรือ โอกาสถูกล๊อตเตอรี่น้อยมากๆ แต่เราก็ยังเล่น เพราะคิดว่ามันเป็นโอกาสของเราแล้ว เลขท้ายสองตัว คือ 1 ใน 100 แต่เรามองว่าเราจะน่าจะถูกมากกว่านั้นน่า !!
1
5. Loss Aversion ทั้งที่ผลตอบแทน +- ที่ค่าหนึ่งเช่น -10% หรือ +10% คือตัวเงินที่เราเสียหรือได้เท่าๆกัน เรากลับให้ค่ากับความสูญเสียมากกว่าได้ ดังนั้นเราจะรู้สึกแย่เมื่อเสียมากๆ มากกว่าได้เงิน ที่มูลค่าเท่ากัน 😳
สรุปเบื้องต้น คือ ถ้าเราเป็นคนมีเหตุผล หรือตัดสินใจได้แบบหุ่นยนต์ เราควรตัดสินใจจากผลต่างหรือสถิติเป็นหลักโดยไม่ลังเล แต่สมองของเราสั่งให้มีเงื่อนไขนู่นนี่ ทำให้เราไม่ทำตามเหตุผลนั่นเอง
🔍 มาลองตอบคำถาม 2 ข้อนี้ดู แล้วคุณจะเข้าใจ Prospect Theory มากขึ้น
ข้อแรก ให้เลือกระหว่าง
1) ได้รับเงินแน่ๆเลย 10,000 บาท หรือ
2) โยนเหรียญแล้วถ้าออกหัวคุณจะได้ 20,000 บาท แต่ถ้าออกก้อยจะไม่ได้อะไรเลย
ข้อสอง แล้วถ้าต้องเลือกระหว่าง
1) ต้องเสียเงินแน่ๆ ที่ 10,000 บาท หรือ
2) โยนเหรียญแล้วถ้าออกหัวคุณจะเสีย 20,000 บาท แต่ถ้าออกก้อยคุณจะไม่เสียอะไรเลย
คิดว่าข้อแรกส่วนมากก็เลือกที่จะได้เงินแน่ๆที่ 10,000 บาท จะเสี่ยงทำไมเพราะอาจไม่ได้อะไรเลย ทั้งๆที่การเสี่ยงนั้นจะทำให้คุณได้เพิ่มมาอีกเท่าตัวก็ตาม ในเคสนี้จะเห็นว่าเมื่อเป็นการ “ได้รับแน่ๆ” เราจะเป็นคน Risk averse (คนที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง) คือไม่อยากเสี่ยงเท่าไร เลือกที่ได้แน่นอนดีกว่า
ในส่วนของข้อสองหลายคนคงยอมโยนหัวก้อย เพราะมีโอกาสที่จะไม่เสียเงินเลยซักบาท ในเคสนี้จะเห็นว่าเมื่อเป็นการ “สูญเสียแน่ๆ” เราจะเป็นคน Risk seeking (รักความเสี่ยงขึ้นมา) คือยอมเสี่ยงดีกว่าเพราะมีโอกาสไม่ต้องเสียเงิน เห็นมั๊ยว่าเรากลายเป็นคนที่เสี่ยงมากขึ้นโดยไม่รู้ตัวได้
1
🎯ต่อไปมาดูว่า 4 กับดักของ Behavioral Finance ที่นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง
1️⃣ Home Bias
เกิดมาจากที่นักลงทุนรู้สึกมีความคุ้นเคยกับประเทศตัวเอง รู้และเข้าใจข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูลธุรกิจของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศตัวเองดีในระดับหนึ่ง มีความมั่นใจในการลงทุนจึงเลือกที่จะลงทุนในประเทศมากกว่ากระจายการลงทุนไปในประเทศอื่นๆ ที่เราไม่คุ้นเคย
กับดักนี้จะทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสที่จะได้ลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศที่อาจมีโอกาสเติบโตสูงกว่าในประเทศ นอกจากนี้วัฎจักรขาขึ้นขาลงของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้นการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศอาจช่วยเพิ่มผลตอบแทนของพอร์ตลงทุนได้
2️⃣ Disposition Effect
1
เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่นักลงทุนหลายคนเป็นคือจะรีบขายหุ้นตัวที่มีกำไร (ถึงแม้จะกำไรน้อย) และเก็บตัวที่ขาดทุนไว้นานๆ เพราะยังไม่อยากรับรู้ว่าตัวเองขาดทุน และหวังว่าอนาคตจะกลับมาบวกได้ ซึ่งเราจะได้ยินบ่อยๆว่า “ไม่ขายไม่ขาดทุน” นั่นเอง
กับดักนี้อาจทำให้พอร์ตของนักลงทุนติดลบหนักก็ได้ สิ่งที่ควรทำคือเราอาจมี Target cut loss ไว้ ถ้าหากหุ้นตกไปเกินกว่าที่ตั้งไว้ก็ต้องยอม cut loss ออกไป หรือบางครั้งก็ต้องยอมรับว่าหุ้นตัวนั้นมีพื้นฐานเปลี่ยนไปแล้ว อาจจะไม่ได้มีโอกาสเติบโตอย่างที่วิเคราะห์ไว้ตอนซื้อ ก็ต้องยอมตัดใจขายออกไปก่อนที่จะขาดทุนหนัก แต่ถ้าหากคิดว่าเป็นเพียงแค่ noise การถือต่อหรือ DCA ตามแผนเดิมก็ไม่ผิด
3️⃣ Herding
พฤติกรรมแห่ตามฝูงชน ถ้าพูดในมุมการลงทุนคือ การแห่ซื้อหุ้น หรือกองทุนประเภทใดประเภทหนึ่งตามคนส่วนใหญ่ ตัวอย่างล่าสุดที่เห็นเลยก็คือการแห่ซื้อกองทุนกลุ่มเทคฯ กองทุนจีน หลังจากที่เห็นว่าคนฮิตซื้อกันเหลือเกิน และผลตอบแทนขึ้นมาสูงมากๆ
กับดักนี้ไม่ได้บอกว่าการแห่ซื้อตามกันจะผิด แต่สิ่งที่ควรทำคือต้องวิเคราะห์ก่อนซื้อ และถามตัวเองว่ายอมรับได้ไหมถ้าหากกองทุนนั้นผันผวน และติดลบหนักมากหลังจากเข้าซื้อแล้วดังที่เราเห็นจากตอนนี้ว่าหลายคนพอร์ตติดลบหนักมาก
4️⃣ Overconfidence
พฤติกรรมที่นักลงทุนมีความมั่นใจมากเกินไป คิดว่าตัวเองวิเคราะห์ถูก และตั้งความหวังกับผลตอบแทนสูง
กับดักนี้อาจทำให้นักลงทุนตัดสินใจเลือกผิดตัวผิดกอง หรือทุ่มไปกับหุ้นหรือกองทุนใดกองทุนหนึ่งมากเกินไป วิธีแก้คือเราต้องพิจารณาวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง หรืออาจจะกระจายการลงทุน ไม่ทุ่มไปที่ตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป เพราะในตลาดนั้นมีความเสี่ยงเยอะมาก และมาจากหลายปัจจัยที่เราอาจคาดไม่ถึง
หวังว่าเพื่อนๆจะได้นำสิ่งเหล่านี้ไปทำความเข้าใจกับตัวเองมากขึ้นนะคะ อ่านจบแล้วเพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ในกลุ่มแอดบางคนมี 1 พฤติกรรมในนี้ที่พยายามแก้ไขอยู่คือ Overconfidence 🤭😂 เพื่อนๆมีพฤติกรรมอะไรที่อยากแก้บ้างคะ เล่าสู่กันฟังได้นะ 😆
💦สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ💦 อย่าลืมค้นหาตัวเองในวันหยุด และสะสมความมั่งคั่ง อย่างมีความสุขนะคะ 😁
Facebook 👉
https://www.facebook.com/DekFinance101
FB Group 👉
https://www.facebook.com/groups/2881645572091138
Blockdit 👉
https://www.blockdit.com/dekfinance
13 บันทึก
7
10
13
7
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย