14 เม.ย. 2021 เวลา 04:54 • การตลาด
“ถึงเวลาเปลี่ยนแบรนด์ของคุณให้เป็น -มนุษย์- คนหนึ่งหรือยัง”
เชื่อว่าหลายๆคนที่สนใจในวิถีการตลาด ย่อมเข้าใจหัวใจหลักในการทำมาร์เก็ตติ้งยุคนี้ข้อหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างดี นั่นคือ
“ทำแบรนด์ให้เป็นคน อย่าทำแบรนด์ให้เป็นแบรนด์”
เพราะอะไรน่ะหรือคะ? ลองถามตัวเองดูก็ได้ค่ะ ปัจจุบัน พฤติกรรมการบริโภคของเราเป็นอย่างไร เช่น มีความสนใจในรถยนต์รุ่นหนึ่ง เราคงไม่จู่ๆกำเงินก้อนเดินไปดาวน์รถโดยปราศจากข้อมูลใดๆแน่นอน แต่สิ่งที่เราจะทำกันคือ
1. หาข้อมูล Feature ส่วนลด โปรโมชั่น ทั้งหลายแหล่บนอินเตอร์เน็ท
2. เข้าเวบไซท์หาข้อมูลประเภทรีวิว ดูทิศทางของความเห็นจากผู้ใช้
3. สอบถามความเห็นหรือขอความเห็นจากเพื่อนๆและแวดวงคนรอบตัว จากสารพัด Social network ที่มี
4. และสุดท้าย ถ้าสนใจจริงๆ จึงค่อยเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากเวบไซท์ของรถรุ่นนั้นๆ
การที่เราเลือกที่จะเข้าหาแบรนด์เป็นประการหลังสุด นั่นเพราะเรารู้ว่า แบรนด์ย่อมพูดถึงแต่แง่ดีของตัวเอง ย่อมเปิดเผยเฉพาะด้านบวก และย่อมต้องการจะแค่ “ขายของ” ในขณะที่การฟังความเห็นจากบทความประเภทรีวิว คอมเมนท์ผู้ใช้ คำบอกเล่าเพื่อน หรือกระทั่งไดอารี่ป้าข้างบ้าน ย่อมน่าเชื่อถือกว่าเพราะนั่นคือการแสดงความเห็นจากผู้ไม่มีส่วนได้เสียกับแบรนด์และเพราะนั่นคือคำพูดจาก “คน” ไม่ใช่การค้า จึงเมื่อกระแสของพฤติกรรมการบริโภคเติบโตมาในลักษณะของการ “ฟังคนพูดมากกว่าแบรนด์” จึงเป็นที่มาให้เกิดการปรับเปลี่ยนการทำการตลาดมาสู่สิ่งที่เราเรียกว่า “การตลาดแบบคน” (Human marketing) เพื่ออะไรน่ะหรือคะ… เพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างสนิทใจ เพื่อลดช่องว่างในภาพของการค้า เพื่อการสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์แบบเพื่อนรักเพื่อน และเพื่อจะนำไปสู่เป้าประสงค์ใน “การค้าแบบยั่งยืน”
เกริ่นมาซะยาว ทีนี้ เรามาลองดูกันดีกว่าค่ะว่า ถ้าวันนี้ แบรนด์ของคุณที่ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ต้องการก็ได้ถลำสู่ยุคแห่งการทำการตลาดแบบ “ผู้บริโภคครองโลก” เข้าไปแล้ว การดิ้นรนเพื่ออยู่รอด ย่อมต้องเริ่มต้นด้วยก้าวเล็กๆหนึ่งก้าวที่เราเรียกว่า “การปรับตัว” บล็อกนี้เลยจะมาแนะนำทิปส์ในการทำแบรนด์ของคุณให้เป็นคน เพื่อจะได้คุยกับคนจริงๆให้รู้เรื่อง…
Empower your employees – ติดปีกให้กับคนในองค์กรซะ
1. ทำให้เค้าแข้าใจในแบรนด์ของคุณอย่างแท้จริง เมื่อจะพูดถึงอะไรที่เกี่ยวกับแบรนด์ เค้าต้องพูดโดยใช้ความเข้าใจ ไม่ใช่สคริปท์
2. อย่าให้นโยบายแข็งแกร่งจนกดความคิดสร้างสรรค์ซะมิดด้าม นโยบายมีอยู่ได้ แต่ลองปรับให้เป็นแบบที่ยืดหยุ่นและปรับใช้ได้จริงดู
3. เปิดโอกาสให้พนักงานได้เป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ ฉะนั้น.. ควรเริ่มต้นด้วยการใช้คนให้ถูกกับงาน (แหม่.. พูดละคันปาก ดิฉันเคยเป็นที่ปรึกษาให้องค์กรนึงที่เป็นอย่างข้อนี้เลยค่ะ แต่ด้านลบนะคะ นั่นคือ กดหัวพนักงานให้ทำตามคำสั่ง ครีเอทิวิตี้อย่าสะดิ้งทำเป็นมี อะโน่..ไอไม่เข้าจายยยย ซึ่งผลที่ได้คือหุ่นยนต์ทำงาน ผลงานที่ไร้คุณภาพ และการตลาดที่ไม่เป็นที่นึกถึง) #ไว้อาลัยแพพ
Promote your employees – ทำดีแล้วต้องเด่น
หลักคิดในข้อนี้ง่ายๆคือ ตัวตนของคนธรรมดา 100 คน ย่อมเสียงดัง น่าเชื่อถือ และไปไกลกว่าแบรนด์แค่ 1 แบรนด์
1. เปิดโอกาสในการจัดอบรมการใช้ Social media ให้กับพนักงานในองค์กรบ้าง
2. เชิญชวน ป่าวประกาศ กระทั่งหลอกล่อ (อิ อิ) ให้พนักงานของคุณเขียนเป็นบล็อกเกอร์หรือเขียนเนื้อหาใดๆในบล็อกของบริษัท
3. โปรโมทสิ่งที่เค้าเขียน ทำให้เค้าเป็นที่รู้จักจากสิ่งที่เค้าสร้างสรรค์
4. กระทั่ง ใครที่หน่วยก้านดีๆ ก็จับมาเป็นพวก Face of the brand ซะ
Stop talking about yourself – หยุดพล่ามแต่เรื่อง “ฉัน ฉัน ฉัน” (แบรนด์ แบรนด์ แบรนด์)
1. เลือกสิ่งดีที่ๆลูกค้าหรือผู้ใช้บริการของคุณพูดถึงคุณมาพล่ามแทนเถอะ
2. พูดถึงเค้าแล้ว ก็อย่าลืมให้เครดิตเค้าด้วยนะ เช่น จากเฟซบุ๊คคุณอะไร จากผู้ใช้ทวิตเตอร์ท่านไหน เป็นอาทิ
3. หมั่นถามผู้อ่าน ผู้ติดตาม หรือลูกค้าของคุณบ้างว่าอยากรู้หรืออยากอ่านเรื่องอะไร
4. ใช้เฟซบุ๊คและลิงค์อินในการเป็นช่องทางการสนทนากับกลุ่มเป้าหมายซะ
Look for friends not FANS – ไม่ใช่แฟน แต่ทำแทนได้ (ดีกว่า)
ก็ถ้าเมื่อไหร่ที่เค้าชอบคุณ เดี๋ยวก็เป็นแฟนเองล่ะ แหม….
1. มองหาบทสนทนา ไม่ใช่สักแต่จ้องหาคำชม
2. เป็นฝ่ายเข้าหาซะบ้าง แล้วหาจุดร่วมความสนใจที่ร่วมกัน
3. อย่าเอาเปรียบ และก็อย่าถูกเอาเปรียบ (หน่อยๆก็พอได้นะ) ทำให้มันเป็นวินวินซะ
Be ready to work hard – หมดเวลาชีวิตพักร้อนแล้ว
ความสำเร็จง่ายๆไม่เคยมี…
1. ทำอะไรก็ได้ที่คู่แข่งคุณขี้เกียจจะทำ
2. ให้เวลากับสิ่งที่จะโพสต์บน Social media รวมถึงอีเมล์ มากขึ้นซะ
3. ใส่ใจกระทั่งสิ่งที่เป็นรายละเอียด
4. ถามหาฟีดแบคแล้วใช้ประโยชน์จากมัน
Use data to help customers – ข้อมูลที่มี เอามาใช้ซะ
1. ตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าด้วยสายตาอย่างมนุษย์ (ใจเขาใจเรา เป็นอาทิ)
2. ใช้สิ่งที่คุณรู้ในธุรกิจของคุณในมุมของ “คน”
3. มีเท่าไหร่ ไม่สำคัญเท่าคุยอะไร ฉะนั้นตังเลข Followers หรือ Line subscribers ไม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าปฏิสัมพันธ์ที่คุณและลูกค้ามีร่วมกัน
Random acts of kindness – เป็นพ่อพระบ้างก็ได้ ไม่มีใครว่า
สิ่งดีๆเล็กๆน้อยๆที่เรามอบให้ลูกค้า อาจส่งผลกลับที่ยิ่งใหญ่ชนิดคาดไม่ถึง
1. ไม่มีไรทำ ก็หาเรื่องให้ส่วนลดลูกค้าขาประจำซะบ้าง (อันนี้พ่อค้าแม่ค้าไทยชำนาญมว๊ากกก 55)
2. ปิดหูปิดตา ไม่ต้องบ้าจี้ตามกฎบริษัทบ้างก็ได้ ลูกน้องจะได้กล้าเข้าหน้า (ข้อนี้จะไปสัมพันธ์กับข้อด้านบนๆค่ะ )
3. แสดงด้านที่เป็นมนุษย์ให้มากกว่าแบรนด์ ไม่ต้องมา ครับ ค่ะ คุณ ผม ดิฉัน ทว่า หรือทางการอะไรมากนัก อยากได้ตังค์เค้าก็ต้องเป็นเพื่อนเค้าเสะ
4. หากมีปัญหาเกิดขึ้น อย่าแค่แก้ให้จบๆไป หาวิธีบรรเทาความรู้สึกลูกค้าด้วยก็ดี
Ask more questions – อีนี่ฉานถามเพราะอยากรู้ มิใช่ถามเพราะหาเรื่องนะนายจ๋า
เพราะวิธีทางที่ดีที่สุดที่จะให้คนสนใจคือแสดงให้เค้าเห็นว่าคุณสนใจสิ่งที่เค้าพูด
1. เซอร์เวย์หน่อยซิ ทำไมหนอจึงเลือกโปรดักท์ของดั๊น
2. แทนที่จะตอบมันบรรทัดเดียว เขียนมันซะหนึ่งบทความเลย แสดงให้เห็นเลยว่าใส่ใจในสิ่งที่เค้าพูดแค่ไหน
Tell your story – บอกเล่าเรื่องราว กาลครั้งหนึ่งนานมา
สิ่งที่คนมีแต่แบรนด์ไม่มีคือ “อารมณ์” ไม่เห็นรึ ทำไมเรื่องราวดราม่าๆถึงยังอยู่มาได้ยันทุกวันนี้
1. อย่ากลัวที่มันอาจจะเสี่ยงบ้าง ถ้าปูมหลังอาจประกอบไปด้วยบทเรียนและคราบน้ำตา ก็แหม.. แบรนด์ไม่ใช่ จา พนม ที่จะสู้โดยไม่เจ็บตัว หรือชนะโดยไม่เคยมีแผล
2. เล่าซะให้หมดทั้งบทเรียนและประสบการณ์
3. เล่าภาษาคน ไม่ต้องภาษาเทคนิคให้มันมากนัก ง่วง!!
Make it easy to talk to you – ลงจากหอคอยงาช้าง มาอยู่ข้างบันได!!
อย่าประมาณการณ์พลังของการพูดคุยแบบส่วนตัวต่ำมากนัก
1. จัดเตรียมหลากหลายข่องทางในการพูดคุย ไล่ตั้งแต่ อีเมล์ live chat โทรศัพท์ ยันโทรเลข!! อ้อ.. ไม่มีแล้วนิ -_-
2. ส่งอีเมล์หาลูกค้าด้วยที่อยู่อีเมล์ที่เค้าสามารถตอบกลับได้แน่นอน (เคยเจอมั้ยคะ ประเภท No reply อะไรเทือกนี้อ่ะ)
3. เขียนหรือตอบโต้จากใจ สคริปท์อาจมีได้บ้าง แต่แนะนำว่าแค่หัวข้อก็พอ
4. อาจไม่จำเป็นต้องรอจนลูกค้ามีปัญหาแล้วติดต่อมา ส่งอีเมล์ไปเซย์ไฮทักทายบ้างเล่นๆก็ตื่นเต้นดี
จบแร้… จบมันดื้อๆซะอย่างงั้นแหละ…
(เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2014)
โฆษณา