14 เม.ย. 2021 เวลา 10:15 • สุขภาพ
OPIOID-INDUCED PRURITUS
เคยได้ยินประโยคนี้กันไหมครับ “หมอๆคนไข้ห้อง xxx กลับมาจาก OR แล้วนะ แต่คนไข้บอกว่ามีอาการคันตามหน้า/ตัว มาดูให้หน่อยนะคะ”
OVERALL OF OIP
เมื่อได้ยิน notify นี้ สิ่งแรกที่เราควรทำคือ การหา emergency condition ก่อนว่ามีไหม ที่ต้อง exclude ให้ได้ก็คือ anaphylaxis เพราะอาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ถ้า delay การรักษา การจะ exclude ภาวะนี้ก็ทำได้ไม่ยาก อาศัยพื้นฐานทั่วไปคือการซักประวัติและตรวจร่างกาย หาอาการใน 4 ระบบที่เป็นอาการเด่นของ anaphylaxis ได้แก่ อาการทาง skin, respiratory, cardiac และ GI รายละเอียดตาม link นี้เลยครับ https://www.shorturl.asia/CD53V
เมื่อ exclude ได้แล้ว สาเหตุอื่นๆ ก็ไม่ค่อยรีบแล้ว ก็ค่อยๆ หากันต่อไป เช่น systemic disease (เช่น cholestasis, CKD, hyperthyroidism), infection?, inflammation?, allergy? หรือ drugs (เช่น opioid, antihypertensive (ACEI, CCB), antibiotics (penicillin derivatives) และ antidepressants (TCA))? ภาวะหนึ่งที่พบได้ค่อนข้างบ่อยก็คือภาวะที่เรียกว่า Opioid-induced pruritis วันนี้จึงชวนมาหาความรู้เรื่องนี้กันครับ
Opioid-induced pruritus (OIP) คือ อาการคันที่เกิดจากการได้รับยากลุ่ม opioid ซึ่งยากลุ่มนี้มีหลายตัว ยกตัวอย่างเช่น morphine, tramadol, fentanyl เป็นต้น เป็นยาที่นิยมใช้เป็นตัวควบคุมอาการปวดระดับ moderate to severe pain หลังการผ่าตัด จริงๆ แล้ว side effect ของยากลุ่มนี้มีหลายอย่าง ที่พบบ่อยๆ ก็เช่น nausea, vomiting, urinary retention, respiratory distress และ pruritus หรือ itching นี่แหละ ซึ่งอาการนี้มักพบเมื่อได้ opioid ในรูปแบบ epidural หรือ intrathecal administration มากกว่า intravenous administration ประมาณ 60% และ 10% ตามลำดับ มักจะเริ่มเกิดอาการหลังฉีดยาไป 3-7 ชั่วโมง โดยเริ่มเป็นบริเวณที่ฉีดยาแล้วค่อยๆ ลามไปลำตัวและใบหน้า ส่วนมากมักมีอาการคันบริเวณจมูกและรอบๆดวงตา เพราะบริเวณดังกล่าวถูกเลี้ยงด้วย trigeminal nerve ซึ่งเป็นบริเวณที่มี opioid receptor หนาแน่น ภาวะ OIP นี้ไม่ได้เป็น life-threatening และสามารถหายเองได้ อาการอาจเกิดเร็วช้าก็ได้ขึ้นกับ type, dosage และ route of opioid เช่น OIP ที่เกิดจาก morphine จะพบได้บ่อยและนานกว่า fentanyl, morphine ที่ dose สูงกว่ามีโอกาสเกิด OIP ได้มากกว่า และการได้ยาทาง epidural หรือ intrathecal จะพบ OIP ได้บ่อยกว่าได้ทาง IV route เป็นต้น
กลไกที่ยากลุ่ม opioid ทำให้เกิดอาการคัน (pruritus) ได้นั้นมีหลายกลไก แต่ที่สำคัญมีหลักๆ ดังนี้
1. Serotonin receptor (5-HT3 receptor)
2. μ-opioid receptor
3. Others: เช่น Dopamine receptor (D2 receptor), Prostaglandin system, GABA receptor, Glycine receptor
Management: จากการศึกษาและวิจัยพบว่าเราสามารถป้องกันและรักษาภาวะนี้ได้ โดยใช้ยาที่ไปยับยั้งกลไกการเกิด pruritis ดังที่กล่าวข้างต้น ตัวอย่างเช่น
- 5-HT3 receptor antagonist (m/c): Ondansetron 4-8 mg IV or 0.1 mg/kg/dose ยาตัวอื่นที่ให้ได้ เช่น Tropisetron (5 mg), Granisetron (3 mg), และ Dolasetron (12.5 mg)
- μ-opioid receptor antagonist: ex. Naloxone
Reference:
- Kumar K, Singh I. Neuraxial opioid-induced pruritus: An update, Journal of Anaesthesiology Clinical Pharmacology. 2013;29(3): 303-307
- Rashid S, Trivedi DD, Al-Shathir M, Moulton M, Baumrucker SJ. Is There a Role for 5-HT3 Receptor Antagonists in the Treatment of Opioid-Induced Pruritus?. Am J Hosp Palliat Care. 2018;35(4):740-744. doi:10.1177/1049909117736062
- Fourzali, K.M., Yosipovitch, G. Management of Itch in the Elderly: A Review. Dermatol Ther (Heidelb). 2019;9:639–653. doi:10.1007/s13555-019-00326-1
โฆษณา