15 เม.ย. 2021 เวลา 12:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจเวียดนาม
#WorldNow
เรามักจะได้ยินหลายคนพูดเชิงเปรียบเทียบเศรษฐกิจของ “ไทย” และ “เวียดนาม”
วันนี้เวียดนามมีอัตราการวิ่งที่เร็วกว่าไทย มีโอกาสแซงเราได้ในอีกไม่นาน
WorldNow จึงลองไปส่องว่าเขาทำได้อย่างไร
เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนครั้งแรกเมื่อ 28 กรกฎาคม 1995
แต่ก่อนนั้นประเทศนี้เคยตกเป็นอาณานิคมและยังบอบช้ำจากสงครามเวียดนาม
กระทั่งเกิดนโยบาย Doi Moi
Doi แปลว่า “ใหม่” สะท้อนถึงการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ริเริ่มในปี 1986 หลังจากประเทศ ณ ขณะนั้นกำลังประสบปัญหาอัตราเงินเฟ้อรุนแรง หรือ hyperinflation ที่ทะยานสูงถึง 700%
ถือว่าช่วงนั้น เวียดนามพึ่งกำลังฟื้นตัวเองหลังจากทำสงครามกับกัมพูชาในปี 1975
หัวใจสำคัญ คือ "เปิดประเทศสู่ตลาดโลก การค้าและการลงทุน"
เช่น ลดภาษีและศุลกากรเพื่อสนับสนุนด้านการส่งออก
เวลานั้น ประเทศไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยภาคเอกชน
Doi Moi ส่งเสริมบทบาทของเอกชนมากขึ้น บวกกับการกระจายอำนาจลงที่ภาคธุรกิจและท้องถิ่น
รวมไปจนถึงให้ภาคเอกชนมีส่วนในกระบวนการผลิตมากขึ้น
ตอนนี้ เวียดนาม มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อเป็นชาติแห่งอุตสาหกรรมและยกระดับสู่ประเทศ "รายได้ปานกลางระดับสูง" ก่อนปี 2035
ปี 2035 เขาจะมีการครบรอบ
- 90 ปีแห่งอิสรภาพ
- 60 ปีหลังจบสงครามเวียดนาม
- 49 ปีหลังปฎิรูปเศรษฐกิจ
อีกส่วนที่น่าสนใจ คือเรื่องของ "กฎหมาย"
ในการรายงานเรื่องความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ หรือ Doing Business Report ประจำปี 2010 ของ World Bank
ระบุว่า หากคิดจะเปิดธุรกิจในเวียดนามแล้ว จะต้องใช้เวลาดำเนินการเฉลี่ย 92 วัน ถือว่าค่อนข้างนานเมื่อเทียบกับหลายเพื่อนบ้านในเอเชียแล้ว
นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้
ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า regulatory guillotine
หรือการตัดทอนกฎหมายบางตัวที่ไม่จำเป็น การสร้าง ผนวกรวมกฎหมายเข้าด้วยกันเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ ณ ปัจจุบัน
พูดง่ายๆ ว่า ทำให้กฎหมายมีความทันสมัย และเป็นสากล
จนในปี 2007-2008 ได้ก่อกำเนิดแผนชื่อว่า "Project 30"
มีเป้าหมายเพื่อลดภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ ด้านกฏหมายลง 30% ของทั้งประชาชนและภาคธุรกิจ หรือ Compliance Cost
เพื่อสนับสนุน-กระตุ้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ (FDI)
ภาพจาก The Asean Post
อีกก้าวสำคัญของเวียดนาม คือ การรุกปิดดีลข้อตกลงการค้า
ปี 2007 เวียดนามเข้ารวมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก หรือ WTO
นอกจากจะมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับอาเซียน (ASEAN Free Trade Agreement: AFTA) ในปัจจุบันแล้ว
เวียดนามยังมีเขตการค้าเสรี 16 ฉบับ ครอบคลุมทั้งหมด 53 ประเทศ
อย่างเช่น FTA กับทางด้านอียู ซึ่งเปิดการเปิดตลาดจากสินค้าที่มีความเชี่ยวชาญ เช่นสิ่งทอและสินค้าทางการเกษตร แม้แต่ “ช็อกโกแลต” ที่ผลิตจากเมล็ดโกโก้
และยังได้มาตรฐานคุณภาพจาก The International Cocoa Organization (ICCO)
หรือข้อตกลง CPTPP เอง เวียดนาม สิงคโปร์ เวียดนามเป็น เพียงสามประเทศอาเซียน ที่เข้าร่วมกรอบข้อตกลงรวมกัน 11 ชาติ
World Bank คาดไว้ในปี 2020 ว่า CPTPP จะช่วยหนุนอัตราการเติบโตถึง 3.5%
นี้สะท้อนถึงความสำคัญในการเร่งเจรจา FTA ในหลายๆประเทศ
ขณะที่ไทย มีเขตการค้าเสรี 14 ฉบับ แต่คลอบคลุมได้เพียง 16 ประเทศเท่านั้น
ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี
เวียดนาม ณ ปัจจุบัน เป็นเพียงไม่กี่ประเทศ ที่ยังสามารถโตได้ท่ามกลางโควิด-19
ล่าสุด ข้อมูลเศรษฐกิจเวียดนาม Q4 ที่เปิดเผยปีที่แล้ว สามารถโตถึง 2.9%
มีผลมาจากการเติบโตจากภาคการผลิต
การทยอยย้ายฐานการผลิตที่โยกจากจีน มาตั้งโรงงานที่เวียดนามในช่วงหลายปี ส่วนหนึ่งก็เพราะเพื่อหนีสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐฯ และจีน
และการค่อยๆ ฟื้นตัวของภาคบริการ อย่างการท่องเที่ยว
ปีที่แล้ว มีรายได้ต่อหัวของประชากร (GDP per Capita)
- ปี 2017 อยู่ที่ 1853 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- ปี 2018 อยู่ที่ 1964.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- ปี 2019 อยู่ที่ 2082.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ภาพจาก tradingeconomics
ปี 2020 ล่าสุด ได้กระโดดอยู่ที่ 3,498 ดอลลาร์หรือ 109,813 บาทต่อปี เรียบร้อย
นี้ทำให้เห็นชัดเจนว่า ไทยแม้จะยังนำเวียดนามอยู่ในบางด้าน
หรือไทยอยู่ไกลกว่าเวียดนาม
แต่เดินได้ช้ากว่า
ในอีกไม่ช้า เวียดนามอาจจะมีโอกาสแซงไทยได้ไม่ยาก
ด้วยความจริงจังและความขยัน เวียดนามจึงสามารถเดินหน้าได้เร็วอย่างก้าวกระโดด
เช่นการเอาจริงเองจังในการปฎิรูป หรือเร่งเดินหน้าเจรจาการค้า
และการออกแบบเป้าหมายที่ชัดเจน
ซึ่งไทยก็กำลังทำอยู่ แต่กลับเดินได้ช้ามาก
ไทย เมื่อสมัยก่อนที่มีกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
อาจเปรียบดั่ง “คนหนุ่มสาวไฟแรง”
วันนี้ ไทยกำลังเข้าสู่ “วัยกลางคน”
ที่กำลังเดินช้าๆ วิ่งไม่เร็วเหมือนสมัยวัยหนุ่ม
เราได้เรียนรู้อะไรจากเวียดนาม?
ผู้เขียน: รัตนราช ลิ่มเศรษฐกานต์
อ้างอิง: World Economic Forum, ASEAN Post, CNBC, ฐานเศรษฐกิจ, brookings, กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ
โฆษณา