15 เม.ย. 2021 เวลา 07:10 • การศึกษา
สำหรับในยุคนี้ ยุคที่หลายๆคนอยากที่จะเป็น Youtuber Podcaster หรือ Blogger ก็ตาม หรือจะเรียกรวมๆว่า Content Creator ก็ได้
เราจัดการ กลั่นกรอง ข้อมูลต่างๆ ที่เราจะเอามาถ่ายทอดได้ดีพอแล้วหรือยัง ?
เราต่างอยากมี Community ที่จะแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เป็นยุครุ่งเรืองของ Data อย่างยุคเรา หรือถึงแม้ถ้าไม่ใช่ล่ะก็ เราก็ต่างมีเรื่องราวต่างๆ มากมายเข้ามาในชีวิตเราอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาความรู้เอง หรือเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เข้ามาให้เรียนรู้อย่างไม่ตั้งตัว
ในฐานะ Content Creator เรามีวิธีการ ขั้นตอน การจัดการกับข้อมูลมหาสารที่เข้ามาในชีวิตเราอย่างไรล่ะ
จริงๆ ไม่ว่าจะต้องการถ่ายทอดสื่อสารออกไป หรือแค่อยากจัดการข้อมูลสำหรับตัวเอง วันนี้ผมก็เลยมี Framework มาแนะนำในการจัดการ Data ต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตเราให้เป็นระบบกัน
โดย Framework นี้ มีลักษณะเป็นพีระมิด 4 ชั้น ซึ่งจะเป็นพีระมิดที่อธิบายถึง Process การที่มนุษย์จัดการกับข้อมูลที่ได้รับ
1. Data
ก็คือข้อมูล Input ของเราทุกอย่างเลย อยู่ที่ว่าเราเลือกจะเรียนรู้ จัดการ กับมันมากแค่ไหน หรืออย่างน้อยถ้าเราไม่จัดการเลย สุดท้ายมันก็ต้องมีสักส่วนหนึ่งที่หลงเหลืออยู่เป็นความทรงจำหรือประสบการณ์ก็ได้
2. Information
คือ เมื่อเราเอา Data หรือข้อมูลของเรามาจัดการ (Organize)
ซึ่งการจัดการ หรอื Organization ทำได้โดยการ " การแบ่งประเภท Data แล้วตามด้วยการเรียงลำดับ (Classification followed by Sequencing) "
แล้วการแบ่งประเภท หรือ Classification ทำยังไงกันล่ะ
ทำได้โดย
1. Locate Key Points
คือ การหาประเด็นสำคัญของ Data ที่เราเลือกจะจัดการ
2. Sequence Items
เมื่อเรายิ่งมี Data เข้ามาเยอะ เรารู้แล้วว่าประเด็นสำคัญของ Data เหล่านั้นคืออะไร เราก็จะยิ่งมีความสามารถในการเชื่อมโยง เราต้องวิเคราะห์ว่าอะไรควรมาก่อน และควรตามด้วยอะไร อะไรเป็นเหตุเป็นผลของกัน ซึ่งรูปแบบและเทคนิดการจัดเรียงหรือการเล่าเรื่อง ของ Content Creator แต่ละคนก็จะแตกต่างกัน การเรียงลำดับจึงสำคัญมาก ในการที่จะอธิบายอะไรให้คนอื่นเข้าใจ และเป็นเสน่ห์ในการเล่าเรื่องของแต่ละคนด้วย ทำให้เห็นวิธีการคิดของแต่ละคน
3. Throw Out Unrelated Topics
ไม่ใช่ว่า Data ทุกอย่างที่เรารับเข้ามาแล้วจะมีประโยชน์ หรือเหมาะแก่การแบ่งปันไปสะหมด สำหรับบางไอเดีย ผู้อื่นอาจไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ ซึ่งในบางครั้งเราก็ต้องยอมที่จะตัดมันออกไปบ้าง
4. Combine Related Items
เมื่อเราได้ Data มามากๆ จัดเรียงหัวข้อที่เกี่ยวข้องกันแล้ว เราก็จะมาวิเคราะห์ความเกี่ยวข้อง ความเชื่อมโยงว่าในแต่ละข้อมูลที่เราได้มา มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร
5. Don't Worry About Details, You Can Do It Later
ไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะต้องใส่รายละเอียดให้ครบในทีเดียว เราเอาหัวใจสำคัญให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อยมาลงรายละเอียดทีหลังก็ได้
3. Knowledge
คือ การนำเอา Information ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ มีการประยุกต์ใช้
และตรงจุดนี้แหละครับ ที่เหล่า Content Creator ต้องการที่จะสื่อออกมา หลังจากที่เราจัดการกับข้อมูลของเราเสร็จแล้ว รู้ว่ามีประโยชน์อะไรเอาไปใช้ต่อได้บ้าง
4. Wisdom
คือการเข้าใจ Information ของเรา ซึ่งเราอาจจะมาถึงจุดนี้ได้ก่อน Audience ของเรา แต่จุดนี้แหละครับ ที่เราต้องการให้ Audience ของเราได้ถึง
สุดท้ายนี้อยากจะย้ำเตือนว่า ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องนี้ ก็คือ Data ถึงมันอาจจะยังไม่มีประโยชน์ในทันที แต่มันก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง ที่อาจจะถูกต่อยอดไปในสิ่งที่มี Value หรือคุณค่าที่สูงมากๆ เลยก็ได้
เพราะฉะนั้นอย่าหยุดที่จะเรียนรู้ จดบันทึก สะสม Data ไปกันทีละเล็กละน้อยนะครับ
โฆษณา