15 เม.ย. 2021 เวลา 09:06 • ปรัชญา
#อานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตรเป็นหนึ่งในพระสูตรในพระไตรปิฎกที่ได้พูดถึง และอธิบายการทำสมาธิจิตแบบกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก และการทำวิปัสสนากรรมฐาน สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อศึกษาและปฏิบัติสมาธิจิตและวิปัสสนากรรมฐานได้ครับ
[ ๒๘๘ ] 👉[ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก]
☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
📌ในวรรคนี้ใจความสำคัญได้กล่าวไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย จะดูลมหายใจเข้าออกอย่างไร แล้วต้องทำเท่าไหร่ ที่จะให้สำเร็จ และ ให้ได้ผล ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
👉 [ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนต้นก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
นั่งคู่บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือ
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น]
☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
📌 ในวรรคนี้ใจความสำคัญได้กล่าวไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในป่า หรือจะอยู่ที่บ้าน อยู่ที่ห้อง (คำว่าเรือนว่าง นั้นหมายถึง บ้านหรือห้องที่สงัดจากผู้คน บริเวณนั้นไม่มีผู้คนเข้าออกหรือรบกวนนะครับ )
 
⭐ให้นั่งขัดสมาธิ กายตรงหลังตรง ให้มองไปข้างหน้า ให้มีสติอยู่กับลมหายใจของเราอย่างเดียว
⭐เมื่อครั้งที่เราหายใจเข้าหรือ หายใจออกยาว ก็ให้มีสติรับรู้ว่าในขณะนี้เรากำลังหายใจเข้ายาว หายใจออกยาวอยู่นะ
เช่นเดียวกัน
เมื่อครั้งที่เราหายใจเข้าสั้น และ หายใจออกสั้น
เราก็ควรมีสติรับรู้ว่า ในขณะนี้ เรากำลังหายใจเข้าสั้น และ กำลังหายใจออกสั้นอยู่
☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
👉 หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
หายใจออก ว่าเราจะเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร
หายใจออก ว่าเราจะระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจะเป็นผู้กำหนดรู้ปิติ
หายใจออกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปิติ
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร
หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง
หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักตั้งจิตมั่น
หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเปลื้องจิต
หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส ]
👉 [ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากอย่างนี้แล จึงจะมีผลมาก มีอนิสงส์มากฯ ]
☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
📌⭐ ทุกๆครั้งที่เราหายใจเข้า หายใจออก
เราจะต้องกำหนดรู้ ทุกขณะที่ลมเข้า ลมออก มีสติอยู่กับลมหายใจที่เข้ามาและ ออกไป เมื่อลมกระทบกาย จะต้องกำหนดรู้คือรู้สึกตัว กองลมคือลมหายใจที่กระทบกาย กระทบส่วนไหน ให้คอยตามดู
⭐ทุกครั้งที่เราหายใจเข้า-ออก เราจะกำหนดรู้ รู้สึกตัวถึงลมหายใจ และ กายของเราว่า ขณะนี้ เรานั่งอยู่อย่างไร มืออยู่แบบไหน เท้าของเราเวลานี้ เป็นยังไง ลมหายใจ กับกายจะสอดคล้อง จิตของเราจะอยู่ภายใน ไม่ส่งออกนอก เมื่อจิตไม่ส่งออกนอก เราจะมีสติ เมื่อมีสติ สมาธิก็จะเกิด ( ดูแค่ตน รู้แค่ตน สมาธิจะบังเกิด )
⭐ขณะที่หายใจเข้า-ออก เราจะกำหนดรู้ เราจะรู้สึกตัว
ว่าขณะที่เราหายใจเข้า-ออก เกิดปิติขึ้นตอนไหน ตอนหายใจเข้า หรือหายใจออก...ปิติเป็นอาการของจิต ปิติมีอาการ 5 อย่าง ดังนี้
1. #มีอาการขนลุกซู่...เหมือนตอนสวดมนต์แล้วอยู่ๆมีพลังงานลงกลางหัว กลางหลัง น้ำตาไหล ปลื้มปิติ ซึ่งอาการแบบนี้มันจะเกิดตอนที่เรารู้สึกสุขใจ คล้ายตอนเราอ่านหนังสือเรื่องโปรดแล้วอิ่มเอนไปกับตัวอักษรดีใจจนน้ำตาไหล
อาการนี้พอมันเข้ามา และถ้าผ่านไปแล้ว อย่าย้อนไปนึกถึงมัน ให้ปล่อยผ่านเลย จิตจะได้เลื่อนสู่ขั้นต่อไป
 
2. #มีอาการรู้สึกว่าตัวเรา เอียง ตัวโยก ตัวเฉียงๆ อาการแบบนี้จะเกิดกับเราตอนที่นั่งสมาธิหลับตา สถานการณ์แบบนี้ ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อยู่กับลมหายใจ ไม่ต้องไปสงสัยอาการโยก เอียงนั้น เพราะ ถ้าเราเกิดความสงสัยเมื่อไหร่ ความอยากรู้มันก็จะถามหา มันจะบอกให้เราลืมตา จะได้รู้ชัดๆไปเลยว่าเอียงไหม โยกจริงไหม แต่...ลองลืมตาสิ...เราก็เสร็จมัน ผลที่ได้ คือหลุดออกจากสมาธิทันที
 
แก้ได้...โดยไม่ต้องสนใจมัน มันจะเอียง ก็เอียงไป เราไม่สนใจสักอย่าง กำหนดรู้ ดูแค่ลมหายใจเข้าออกของเราก็พอ แล้วจิตของเรา จะเลื่อนขึ้นสู่ขั้นต่อไป
3. #มีอาการรู้สึกคล้ายๆว่าตัวเราใหญ่ขึ้น พองขึ้น บางท่านจะรู้สึกใหญ่เฉพาะส่วน หัวใหญ่ ขาใหญ่ อะไรจะใหญ่ก็ปล่อยมัน อย่าไปสนใจ มันจะพองจนระเบิด หรือแตกชั่งมัน
ดูลมหายใจของเราต่อดีกว่า ไม่ต้องสงสัยสนใจ ดูลมต่อ เดี๋ยวอาการนั้นๆ จะหายไปเอง
4. #มีอาการรู้เหมือนกับว่ามีตัวอะไรไม่รู้ กำลังไต่ เหมือนมด แมลง ยุง ไต่ไปมาอยู่บนใบหน้า แขน ขา ตามตัว
ปิติตัวนี้จะทำให้จิตเรารู้สึกรำคาญ หงุดหงิด อยากจะปัด อยากจะลืมตาดู จริงๆแล้วมันไม่มีอะไรเลยครับ ไม่มีทั้งมด แมลงสักตัว ( วิธีแก้ง่ายๆ ทำให้มันอาย ด้วยการให้รู้สึกตัวว่ามันเป็นเพียงแค่ปิตินะ ไม่ใช่เรื่องจริง แค่นี้ อาการนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก )
5. #ปิติตัวสุดท้าย จะมีอาการเหมือนตัวของเรานั้นลอยได้ ลอยอยู่ เราเหาะได้ ปิติตัวนี้ จะทำให้เราดีใจ มักจะทำให้เราตกใจบ้าง หรือหลงเชื่อว่า เราสำเร็จในอภิญญาแล้ว เราดีแล้ว เรานี่เท่ห์สุดๆ
ที่ไหนได้...ยังครับ เอาจิตกลับมาก่อน เรายังไม่สำเร็จอะไรเลย แค่จิตกำลังเลื่อนระดับกำลังเลื่อนสู่กระแสความดี จิตกำลังยกขึ้นสู่ฌาน ตรงนี้เราควรปล่อยวางครับ อย่าไปสนใจมัน มันจะลอยไปไหน ลอยไปก็ติดหลังคา มันคงไม่ทะลุหลังคาไปมั้ง 😊
ปล่อยครับ ปล่อยมันวางมัน ชั่งมันไปเลย กลับมาดูลมหายใจต่อดีกว่า เตรียมความพร้อมสู่ขั้นต่อไป
⭐ เราจะกำหนดรู้ว่าสุขมันจะเกิดขึ้นเวลาไหน จะเกิดตอนลมหายใจเข้าก็ดี ลมหายใจออกก็ดี เราจะรู้สึกตัว เราจะรู้ทันมัน เราจะไม่หลง ไม่จมอยู่กับมัน เราจะมีสติกำหนดรู้อยู่ตลอดเวลา เมื่อรู้สึกตัวแล้ว เราควรวางอารมณ์นั้น ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ มาดูลมหายใจของเราต่อไป
⭐เราจะกำหนดรู้ในทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก ระลึกรู้เท่าทันการปรุงแต่งของจิต การปรุงแต่งที่ว่า ก็คือความคิดของเรานั้นเอง ในขณะที่ดูลมหายใจอยู่ มันเป็นธรรมดาในขณะที่เราหลับตา ดูลมหายใจ ความคิดมันจะผุดขึ้นมาในหัว เดี๋ยวคิดเรื่องนี้ที เรื่องนั้นที นี่แหล่ะ ความคิดมักจะเป็นอุปสรรค
ให้เรากำหนดรู้ให้ทันความคิด แล้วกำหนดรู้ดูลมหายใจของเราต่อไปครับ อย่าเปิดโอกาสให้ความคิดเกิดขึ้น เมื่อมันมาอีก เราก็พยายามไม่สนใจมัน อยู่กับลมหายใจของเราต่อ กลับมาดูลมหายใจต่อ ความคิดมันจะเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆนะครับ หน้าที่ของเรา ให้ดูลมหายใจประคองจิตจดจ่ออยู่กับลมอย่างเดียวครับ จิตมันจะปรุงแต่ง จะมีอาการอย่างไรก็ชั่ง ไม่ต้องสนใจ จดจ่อที่ลมพอครับ
⭐เราจะรู้ทันจิต ไม่ว่าจิตมันจะซุกซนแค่ไหน จิตจะสร้างอารมณ์ หรือความนึกคิดอะไรก็ชั่ง เราจะไม่ปล่อยให้จิต ทำอะไรตามใจของมัน เราจะกำหนดรู้ว่า ยามนี้เราหายใจเข้า จิตเป็นยังไง พอหายใจออกจิตสงบไหม หรือฟุ้งไปตามอารมณ์ ฟุ้งไปตามความคิด เราจะประคับประครองจิตไว้ให้อยู่กับลมหายใจของเรา เราจะตามดูแลมันทุกขณะให้สอดคล้อง ให้ควบคู่อยู่กับลมหายใจของเรา
⭐เราจะกำหนดรู้เราจะทำจิตให้ร่าเริ่งอยู่ ให้สอดคล้องกับลมหายใจเข้าออก จิตจะร่าเริง เบาสบาย เราจะไม่ให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก ประครองไว้ด้วยสติ ดูลมของเราต่อไป
⭐จิตเราจะตั้งมั่น หายใจเข้าก็ดี หายใจออกก็ดี จะตั้งมั่นจิตอยู่ในความเพียร อยู่ในกระแสความดี
⭐เราจะเปลื้องจิต ออกจากอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง
เราจะประครองจิตของเราให้ออกมาจากความหลงผิด ความทะนงตน ออกจากความเย่อหยิ่งถือตัว เราจะประคับประครองให้จิตของเราไม่ลังเลสงสัย ออกจากความหดหู่ พาจิตออกจากความฟุ้งซ่าน นำพาให้จิตออกจากความที่ไม่ละอายต่อบาป ไม่แยกแยะผิดชอบชั่วดี ถอดถอนออกจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายทั้งปวง
⭐เราจะพิจารณาถึงความไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายทั้งมวลที่มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ มีเปลี่ยนแปลง มีดับสลาย ล้วนไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา ไม่ใช่ของใคร มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ล้วนไม่มีสิ่งใดให้เรายึด เราจะถอดถอนสิ่งนี้ ด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจของเราทุกขณะจิต
⭐เราจะเป็นผู้คลายกำหนัด เราจะไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ไม่ยินดีในความรักใคร่ เราจะไม่สนใจในความชอบ ความหลงทั้งหลายทั้งปวง เราจะมีสติอยู่ควบคู่กับลมของเรา เราจะประครองจิต ให้มีสติอยู่กับลมที่เข้าและออกอยู่เช่นนี้
⭐เราจะเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส เราจะกำหนดรู้อยู่ที่ลม เพื่อมองดูเฝ้าดูกิเลสทั้งหลาย ที่ผุดขึ้น ที่เข้ามาและออกไป ดูความเกิดขึ้นแห่งกิเลส ดูความดับไปของมัน ว่าเป็นไปในขณะที่ลมเข้า หรือ ลมออก เราจะเป็นเพียงผู้ชม ดูภาพยนต์นี้ ด้วยสติ ควบคู่ ลมหายใจ
⭐เราจะเป็นผู้สละกิเลส เราจะไม่นับญาติกับมัน
เราจะไม่ขออยู่ร่วมกับมัน เราขอคืนกิเลส เราไม่มีความต้องการมันอีก ด้วยสติ เคียงคู่กับลมหายใจ เรารู้ และกำหนดรู้ถึงปัจจุบัน ณ.ขณะนี้เรากำหนดลมหายใจเข้าและ ออก สั้นและยาว เพื่อรู้ถึงการมีอยู่ของมัน เราขอสละคืนกิเลสให้ตั้งแต่บัดนี้.
⭐⭐⭐ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราดูลมหายใจ เข้า และ ออก อย่างนี้แล้ว ปฏิบัติได้เช่นนี้แล้ว อย่างที่กล่าวมาข้างต้น
เราจึงจะมีผลมาก มีประโยชน์ มีอนิสงส์สูงสุดแบบนี้เอง...
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
📌ดูเปรียบเทียบกับพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ที่ เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๘๗ ข้อ: ๑๔๘
#ผู้รวบรวม
ลิงน้อย เห็นธรรม.
โฆษณา