17 เม.ย. 2021 เวลา 02:09 • ปรัชญา
การันตีชาตินี้ไม่มีตัน!!! เผย 86 แนวคิดโดน ๆ ในการสร้างบทความแบบครอบจักรวาล
ลองนำแนวคิดเหล่านี้ไปปรับใช้กับบทความของคุณดูครับ
พอดีผมไปอ่านเจอบทความ “86 Blog Post Ideas (With Successful Examples)” ของ ‘Si Quan Ong’ โดยบังเอิญ เนื้อหาก็จะเกี่ยวกับไอเดียทำโพสต์ที่น่าสนใจมาก ๆ แล้วความคิดที่อยากแบ่งปันก็แวบเข้ามาในหัวทันทีครับ
คำเตือน : บทความนี้ยาวมากส์!!! แต่ผมมั่นใจว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อมไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปดูแนวทางการเขียนบทความทั้ง 86 ข้อ จาก 9 หมวดหมู่ที่ว่ากันได้เลยครับ
1
(1) การเขียนบทความแนวความรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง
1. สร้างรายการตรวจสอบ
เรียกง่าย ๆ ว่าทำเช็คลิสต์ต่าง ๆ นั่นแหละครับ ซึ่งนี่ถือว่าเป็นหนึ่งในบทความยอดนิยมที่เหมาะสำหรับโลกยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง ใคร ๆ ก็ต้องการใช้ลิสต์สำเร็จรูปในการลดความวุ่นวายในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะมันช่วยลดอาการหลงลืม และความวิตกกังวลนั่นเอง
เช่น จะทำวีซ่าไปเยอรมันต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้าง? เป็นต้น
2. สร้างคลังคำศัพท์
เริ่มจากคำศัพท์ของแวดวงอาชีพ ต่าง ๆ ก่อนก็ได้ คำศัพท์พวกนี้มักจะได้รับการค้นหาอยู่บ่อย ๆ ขอแค่เราหมั่นอัปเดตข้อมูลเรื่อย ๆ รับรองว่า บทความแนวนี้ยอดวิวสูงอย่างแน่นอน
อาทิ ศัพท์การตลาด, ศัพท์ทางอุตสาหกรรม ฯลฯ
3. อธิบายแนวคิดพื้นฐาน
คล้ายกันกับข้อ 2 เลย แต่จะเล่าคำจำกัดความ และอธิบายข้อมูลพื้นฐานของวงการ หรืออาชีพต่าง ๆ โดยอาจจะเริ่มจากงานที่คุณทำอยู่ หรืองานที่น่าสนใจ
อาทิ การตลาดเบื้องต้น, พื้นฐานงานโฆษณา, มือใหม่เล่นหุ้น ฯลฯ
4. สร้างคำถามที่พบบ่อย
คำถามที่ถูกถามบ่อยนี่แหละทีเด็ด และน่าสนใจอย่างแน่นอน
อยากเป็นแอร์โฮสเตส-สจ๊วต ต้องทำอย่างไรบ้าง?
5. แจกเคล็ดลับ
ทำบทความรวบรวมเคล็ดลับที่ดี หรือที่ทำอะไรสักอย่างให้เสร็จได้ง่ายขึ้น แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนะว่า เคล็ดลับดังกล่าวน่ะมันสามารถทำได้จริง
อาทิ เปลี่ยนลูกปิดประตูเองง่าย ๆ ได้เองใน 3 นาที เป็นต้น
1
6. ชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียในการตัดสินใจเลือกอะไรสักอย่าง
เช่น ซื้อ Mac หรือ Windows?
ไม่ว่าผู้อ่านของคุณกำลังต่อสู้กับอะไรช่วยพวกเขาตรวจสอบตัวเลือก และตัดสินใจให้ได้ดีที่สุด โดยการบอกข้อดีข้อเสีย เปรียบเทียบ และฟันธง แบบชี้ชัดกันไปเลย
7. บอกเทคนิคใหม่ ๆ
ก็จะประมาณการแก้ไขปัญหาที่พบบ่อย โดยอาจจะเริ่มจากอาชีพ หรือสิ่งที่คุณถนัดก็ได้ อย่ากลัวว่ามันจะไม่ใหม่พอ เพราะหลายเรื่อง บางคนอาจจะรู้ แต่อีกหลายคนนั้นอาจจะยังไม่รู้ก็ได้
อาทิ การหุงข้าวขั้นเทพ ไม่แข็ง ไม่แฉะ ด้วยการใช้นิ้ววัด
8. บอกผู้อ่านว่าทำไมสิ่งนี้จึงจำเป็นสำหรับพวกเขา
กล่าวคืออธิบาย หรือแสดงความคิดเห็นว่าทำไมสิ่งที่คุณนำเสนอนั้นถึงจำเป็น โดยมีหลักฐานหรือข้อมูลมายืนยันความเชื่อนี้ด้วยก็จะดีมาก ๆ
5 เหตุผลที่คุณต้องเรียนรู้ภาษาที่ 3
9. สถิติหรือแนวโน้มที่น่าสนใจ
แน่นอนว่าสถิติเป็นสิ่งที่เพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งคุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มารวมเป็นบทความได้เลยนะ แต่ก็ควรเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าพอสำหรับการค้นหาด้วยเช่นกัน
อาทิ เทรนด์อาหาร และเครื่องดื่มทั่วโลกปี 2021 ฯลฯ
10. ทำแบบสำรวจ และเฉลยผลลัพธ์นั้น
เชื่อว่าหลายคนชื่นชอบข้อมูลเชิงลึกที่ไม่เหมือนใคร ดังนั้นเลือกเรื่องที่คุณถนัดหรือสนใจแล้วทำบทความเลย
เช่น สำรวจว่าอาหารชนิดใดขายดีช่วงโควิด-19
11. ทำการศึกษาวิจัย และแบ่งปันผลลัพธ์
ในข้อนี้หากคุณไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากได้ให้ร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อทำคอนเทนท์ก็ได้เหมือนกัน
อาทิ ของใช้ชนิดใดขายดีที่สุดในร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น
12. เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริง ชี้แจงความเข้าใจผิดที่พบบ่อยในหลากหลายอาชีพ
เช่น พนักงานขายชอบโกหก, การเมืองเป็นเรื่องไกลตัว ฯลฯ
ทุกวงการมีข่าวลือหรือความเข้าใจผิดในลักษณะนี้อยู่บ่อยครั้ง คุณสามารถทำบทความเพื่อชี้แจงข้อมูลได้เลย อาจจะเลือกในมุมที่คุณเชี่ยวชาญก็ได้ โดยยึดหลักเหตุผล และความรู้ที่แท้จริง คิดไว้เสมอว่า การเขียนนี้เพื่อทำให้ผู้คนทราบแง่มุมของคนที่คลุกคลีในวงการนั้นจริง ๆ เป็นต้น
13. แจกแบบสำเร็จรูป
ใคร ๆ ก็ชอบแบบสำเร็จรูปหรือ Template ที่ช่วยให้การทำงานหรือการเรียนง่ายขึ้นกันทั้งนั้น ดังนั้นทำมันขึ้นมา
อาทิ แบบเรซูเม่สมัครงาน, แบบทำนามบัตรธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น
14. เผยเคล็ดลับที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน
วิทยาศาสตร์คือหลักการของเหตุ และผล ซึ่งเหตุผลคือความจริงที่ยากจะหาสิ่งใดมาหักล้าง เคล็ดลับหรือทิปส์ที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ประกอบจึงมักได้รับความนิยม และน่าเชื่อถืออยู่เสมอ
เช่น “ผีอำ” อาการสุดหลอน ที่อธิบาย และแก้ไขได้ด้วยวิทยาศาสตร์
15. ช่วยผู้อ่านในการตัดสินใจ
ความรู้ความเข้าใจทำให้คนเราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ลองเขียนบทความที่ช่วยผู้อ่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นดู
1
อาทิ หลักการตัดสินใจเบื้องต้นในการมีรถคันแรก ฯลฯ
16. แบ่งปันสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากคนอื่น
อย่าเก็บภูมิปัญญาไว้กับตัว บอกผู้คนถึงสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากผู้อื่นเพื่อเป็นการแบ่งปัน
เช่น สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากการพูดคุยกับลุงขายน้ำผลไม้
ไม่แน่มุมมองดี ๆ เหล่านี้อาจเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครหลายคนก็เป็นได้
17. สรุปหนังสือ
หลายคนอยากอ่าน แต่ดูเหมือนจะหาเวลาอ่านไม่ได้ ช่วยพวกเขาด้วยการอ่าน และสรุปสาระสำคัญลงในบทความของคุณ
อาทิ 101 Things To Do Before You Die สิ่งที่ควรทำก่อนตาย!!!
18. สรุปพอดคาสต์
นำแนวคิดข้างต้นไปใช้กับพอดคาสต์ด้วยก็ได้นะ
เช่น สรุปสาระสำคัญของการรับวัคซีนโควิด-19
19. แบ่งปันเคล็ดลับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือการทำเรื่องบางเรื่อง
เชื่อว่าหลายคนอยากประสบความสำเร็จมากขึ้นในเวลาที่น้อยลง มาทำบทความช่วยพวกเขาด้วยการแบ่งปันเคล็ดลับการประหยัดเวลาที่ดีที่สุดของคุณกัน
อาทิ อ่านหนังสืออย่างไรให้จำ ใน 3 ขั้นตอน เป็นต้น
(2) การเขียนบทความการเรียนรู้ และลงมือทำ
20. ทำเส้นทางสู่ความสำเร็จ
หลายคนไม่รู้ว่าจะเริ่มจากจุดไหนถ้าจะไปสู่ความสำเร็จ ลดความซับซ้อนของสิ่งต่าง ๆ ลง ด้วยบทความที่ช่วยอธิบายแผนงานที่มีโครงสร้างชัดเจน และเต็มไปด้วยประสิทธิภาพ
เช่น วิธีสร้างเงินล้านภายในหนึ่งเดือน ฯลฯ
21. อธิบายวิธีการทำบางสิ่งบางอย่างตั้งแต่ต้นจนจบ
เขียนแนะนำการทำอะไรสักอย่าง ทีละขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ถ้ามีภาพประกอบ หรือมีคลิปวิดีโอตอนทำจะได้รับความนิยมสูง
1
เช่น วิธีล้างแอร์ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง
22. อธิบายวิธีการเป็นผู้เชี่ยวชาญ
หลายคนเรียนรู้ไม่ใช่แค่เพราะอยากรู้ แต่อยากไต่เต้าเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ที่ตนสนใจ บทความของคุณจะเป็นที่นิยม ถ้าเลือกหัวข้อที่น่าสนใจได้ดี
1
อาทิ ตกปลาอย่างเซียนด้วยเทคนิคขั้นสูง ฯลฯ
23. อธิบายว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นทำงานอย่างไร
หาหัวข้อในแวดวงของคุณ หรือที่ผู้คนสนใจ และอธิบายการทำงานแบบตีแผ่ให้เห็นภาพชัดเจน
เช่น ผ่าเครื่องยนต์รุ่นล่าสุดของรถเฟอร์รารี มันทำงานอย่างไร ถึงได้เร็ว และแรงอย่างนั้น
24. อธิบายวิธีการทำงานขั้นสูง
ข้อนี้จะแตกต่างจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยวิธีการทำงานขั้นสูงจะค่อนข้างแคบลงมา จะแนะนำเฉพาะเรื่อง แบบเจาะจงไปเลย
เรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญเรื่องการเล่นหุ้น
25. สร้างคู่มือขั้นสูง
อย่าละเลยคนที่มีประสบการณ์ นำเรื่องราวของคนเหล่านั้นมาทำบทความ เพื่อช่วยให้คนอ่านพัฒนาไปอีกขั้น
อาทิ คู่มือเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์โดยผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 ปี เป็นต้น
26. สร้างคู่มือทางเลือก
เพราะทุกคนไม่ได้ลงเรือลำเดียวกันเสมอไป ลองสร้างโพสต์ที่ผู้อ่านสามารถเลือกเส้นทางของตนเองได้
หลากแนวทางในการเป็นเจ้าของบ้านหลังแรก
27. เขียนกรณีศึกษา
กรณีศึกษาช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะงานบางอย่างที่มีความเฉพาะตัว
อาทิ วิธีทำร้านขายอาหารให้อยู่รอดในช่วงโควิด-19
28. แสดงวิธีแก้ไข และซ่อมแซม
เพราะความเสียหายในหลายอย่างเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทุกวัน และเป็นหัวข้อที่คนค้นหาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแวดวงอะไร
เช่น วิธีแก้รอยขีดข่วนรถ, วิธีซ่อมกางเกงยีนส์ที่เป็นรู, วิธีแก้ไขโทรศัพท์ที่ตกน้ำ ฯลฯ
(3) การเขียนบทความเรื่องราวเกี่ยวกับคนดัง หรือดารา
29. ประวัติคนดังในวงการต่าง ๆ
ข้อมูลของคนดังได้รับการค้นหาตลอด ไม่มากก็น้อย และจะมีโอกาสมากขึ้นหากคนดังเหล่านั้นเป็นข่าว อย่าพลาดในการนำมาทำบทความนะ
อาทิ เผยเบื้องหลังนักร้องชื่อดังทำคลิปฉาวหลุด เป็นต้น
30. เผยกิจวัตรประจำวัน หรือความเป็นมาของเหล่าคนดัง
คนดังมักถูกนำมาเป็นแบบอย่างในการทำอะไรสักอย่างอยู่แล้ว การสรุปเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสำเร็จของคนดัง เป็นเรื่องราวที่ใคร ๆ ก็อยากอ่าน ทั้งจากความสำเร็จ และความเป็นคนดัง เพราะหลายคนหวังลึก ๆ ว่าเผื่อจะทำตามได้บ้าง
Warren Buffett ร่ำรวยได้อย่างไร?
31. รายชื่อคนดัง
รวบรวมรายชื่อบุคคลที่เป็นที่นิยมในแต่ละวงการ และอาจจะบอกว่าสามารถติดตามพวกเขาได้จากช่องทางไหนบ้าง
10 อันดับดาราสาวชาวจีนสุดฮอต ดังสุด ๆ ฉุดไม่อยู่
32. สัมภาษณ์คนดัง
การสัมภาษณ์เพิ่มความพิเศษให้กับบทความของคุณได้ดีอย่างไม่ต้องสงสัย เรียงลำดับการพูดคุยให้ดี คิดประเด็นหลักของการสัมภาษณ์ให้เฉียบคม มีภาพประกอบสวย ๆ ที่เข้ากับเนื้อหา แม้การสัมภาษณ์จะเป็นความคิดเห็นหรือคำพูดในช่วงเวลานั้นแต่ก็มีคุณค่าที่น่าอ่านนะ
อาทิ บทสัมภาษณ์ผู้ว่าปทุมธานี ทำอย่างไรถึงเป็นที่รักของประชาชน
33. คำแนะนำจากคนดัง
ติดต่อคนดังหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ และสรุปคำแนะนำของพวกเขามาทำเป็นบทความ
เช่น ข้อคิดในการฝ่าวิกฤตโควิด-19 ของท่านนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
(4) การเขียนบทความแนะนำ หรือวิจารณ์
34. แนะนำเพจที่น่าสนใจ และไม่ควรพลาดในการติดตาม
กลุ่มผู้อ่านเพจของคุณอาจเป็นนักอ่านตัวยง ลองเขียนแนะนำว่ามีเพจไหนน่าสนใจบ้าง อาจแสดงความเห็นเพิ่มเติมไปก็ได้ว่าข้อดีหรือจุดเด่นของแต่ละเพจคืออะไร นอกจากจะเพิ่มพันธมิตรแล้ว ยังเพิ่มข้อมูลเชิงลึกให้กับเพจของคุณอีกด้วยนะ
เช่น แนะนำ 10 เพจ อาหารที่คุณต้องไม่พลาด
35. แนะนำหนังสือน่าอ่าน
รื้อชั้นหนังสือของคุณ หรือบุกร้านหนังสือเจ้าประจำ บอกคนอ่านว่าหนังสือโปรดแต่ละเล่มนั้นมันดียังไง
หนังสือ เพราะขี้เกียจวุ่นวาย ชีวิตเลยสบายอย่างนี้
36. แนะนำพอดคาสต์ที่ดีที่สุด
ฟังให้มาก และแนะนำรายการที่ควรค่าเหล่านั้นให้ผู้อ่าน
1
เช่น แนะนำ 5 พอดคาสต์เด่นประจำวัน เป็นต้น
37. แนะนำวิดีโอที่ดีที่สุด
หาข้อมูลให้เยอะเพื่อเลือกคลิปที่น่าสนใจมานำเสนอแก่ผู้อ่าน
อาทิ 10 คลิปโดนใจประจำเดือน เป็นต้น
38. แนะนำการประชุม สัมมนา อีเวนท์เด่น ๆ
เพราะส่วนมากไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ไปงานเหล่านี้ ซึ่งผู้อ่านอาจเป็นคนที่สนใจ และอยากหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าจะไปร่วมดีไหม หรือถ้าผู้เขียนเคยไปร่วมงานสัมมนามาเยอะ คิดว่าผู้อ่านน่าจะสนใจงานเหล่านี้ อาจรวบรวมรายชื่องานที่น่าสนใจดังกล่าวมาเผื่อแผ่ก็ได้
เช่น งานประชุมผู้ประกอบการจังหวัดปทุมธานี ผ่าทางรอดวิกฤตโควิด-19 เป็นต้น
39. จัดทำรายการผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด
โดยคุณอาจจะทำสิ่งที่เป็นที่สุดในด้านต่าง ๆ อะไรก็ได้
อาทิ สวยที่สุด, คนใช้เยอะที่สุด เป็นต้น
40. รีวิวสินค้าใหม่
เมื่อมีสินค้าใหม่ที่น่าสนใจออกมา อย่ารีรอเข้าไปทดสอบ แล้วบอกคนอ่านว่าคุณชอบ หรือไม่ชอบอย่างไร
เช่น ข้าวกล่องเซ็ตใหม่ของ 7-11 ฯลฯ
41. รีวิวผลิตภัณฑ์ยอดนิยม
นำสินค้าที่มีชื่อเสียงมาตรวจสอบอย่างละเอียด และทำบทความแนะนำเลย
ไอศกรีมรสชาติใหม่ต้องลอง!!!
42. ทำการเปรียบเทียบเชิงลึกระหว่างสองผลิตภัณฑ์
นำสินค้ายอดนิยมสองยี่ห้อมาหาข้อดีข้อเสีย แล้วทำมันเป็นบทความ
เช่น สงครามยาสีฟัน 2 ยี่ห้อสุดฮิต ใครจะอยู่ใครจะไป
43. รีวิวหลักสูตรออนไลน์
เพราะเดี๋ยวนี้ผู้เรียนหันมาศึกษาหาความรู้ทางออนไลน์กันมากขึ้น และจะเป็นเรื่องที่ปกติกว่านี้ในอนาคต บทความเกี่ยวกับ คอร์สออนไลน์ที่คุ้มค่า หรือนิยมเรียนจะเป็นที่น่าสนใจมาก
อาทิ คอร์สเรียนทำแอพพลิเคชันลดราคากว่า 25%
44. รีวิวภาพยนตร์ที่น่าสนใจ
ง่าย ๆ เลยพวกหนังที่อยู่ในกระแสนั่นแหละ เอามาทำบทความรีวิวซะ
เช่น ภาพยนตร์เข้าใหม่ประจำสัปดาห์ที่น่าสนใจ
(5) การเขียนบทความจากประสบการณ์ส่วนตัว
45. เขียนเกี่ยวกับการเริ่มต้นในอาชีพการงานของคุณ
ทุกอาชีพล้วนมีความน่าสนใจในตัวเอง ลองเรียบเรียงเรื่องให้ดี หาแง่มุมมาบอกเล่า
เช่น คุณเริ่มต้นในอาชีพของคุณได้อย่างไร?
บอกเล่าเรื่องราวของคุณ บางทีนี่อาจเป็นอีกเรื่องที่ผู้คนสนใจก็เป็นได้
46. แบ่งปันเรื่องราวในแต่ละวันของคุณ
เช่นในแต่ละวันทำงานอย่างไร ไม่แน่เรื่องราวง่าย ๆ บางทีก็เป็นที่นิยมได้เช่นกัน
47. ลองสิ่งใหม่ ๆ และแบ่งปันบทเรียนที่ได้รับนั้น
แนวคิดหรือไอเท็มใหม่ ๆ มักจะได้รับความสนใจอยู่เสมอ
กินมังสวิรัติหนึ่งเดือนลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่?
บทความแนวนี้ส่วนใหญ่ได้รับความเชื่อถือสูง เพราะเป็นการทดลองด้วยตัวเอง ลองดูครับ
48. แบ่งปันข้อผิดพลาดของคุณ
สิ่งที่ได้จากการทดลองหรือประสบการณ์ตรง สามารถเล่าในมุมที่แคบลงได้ ซึ่งความผิดพลาด ด้านลบ เป็นแง่มุมที่คนอยากรู้อยากเห็นเสมอ
เช่น เรื่องพลาดที่คนเลี้ยงแมวมักทำไปโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น
49. เผยรายได้
เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ นั้นน่าสนใจเสมอ โดยเฉพาะทรัพย์สินของคนอื่นหรืออาชีพที่น่าสนใจ ยิ่งถ้าตัวเลขรายได้มากหรือน้อยเกินกว่าการคาดการณ์ของคนทั่วไป ผู้คนยิ่งอยากรู้
ตีแผ่รายได้ที่คุณคาดไม่ถึงของนักเขียนนิยายออนไลน์
50. สรุปการพูดในที่ชุมชน
ปาฐกถากำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากใครที่มีประสบการณ์หรือความรู้ ไม่ว่าจะเป็นคนอาชีพไหนสาขาใด ก็สามารถพูดแสดงทัศนะได้ ถ้ามีบทพูดหรือการถอดคำพูดแนบกับคลิปการพูดด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความสนใจให้กับบทความของคุณเป็นอย่างมาก
อาทิ คนดังเยอะแยะที่พูดใน Clubhouse ถือว่าชุมนุมเหมือนกัน
51. แบ่งปันสิ่งที่คุณต้องการ
1
อาจจะเขียนเป้าหมายในการทำเพจของคุณ หรือสิ่งที่คุณกำลังจะทำในอนาคต
โปรเจคซีรี่ย์รวมเรื่องสั้น
52. แบ่งปันงานนำเสนอ
อย่าจำกัดภูมิปัญญาของทุกคนไว้แค่การอ่าน คุณอาจจะทำกิจกรรมให้ทุกคนมาร่วมสนุกด้วย
อาทิ กิจกรรมแข่งขันแต่งกลอน ฯลฯ
53. แบ่งปันความล้มเหลวส่วนตัว และวิธีที่คุณเอาชนะมัน
ทุกคนต่างก็มีข้อด้อยหรือจุดที่อยากแก้ไขด้วยกันทั้งนั้น หากคุณมีคำแนะนำหรือวิธีส่วนตัวที่ช่วยให้ผ่านโจทย์เหล่านี้ได้ ก็แนะนำผู้คนผ่านบทความของคุณได้เลย
เช่น 7 วิธีกู้ตัวเองจากความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในชีวิต
54. เล่าเรื่องส่วนตัว
หลายคนมีเรื่องราวน่าสนใจ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่มีจุดพีคสวย ๆ แต่เรื่องราวง่าย ๆ ที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวันนี่แหละ ที่บางครั้งก็น่าสนใจได้เช่นกัน ลองเรียบเรียงเนื้อหาให้ดี รับรองว่าสามารถทำเป็นบทความที่น่าอ่านได้อย่างแน่นอน
อาทิ สิ่งที่ฉันทำเป็นประจำทุกเช้าในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา
55. แบ่งปันสิ่งที่คุณชื่นชอบ
อาจจะเป็นงานอดิเรก อาหารโปรด ของใช้ที่ชอบ ฯลฯ อธิบายสิ่งเหล่านั้น ให้เหตุผลว่าทำไมถึงชอบ ดึงดูดได้ทั้งคนที่ชอบเหมือนกัน หรือไม่ชอบ และอยากฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หรือกำลังหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ไม่แน่บทความนี้อาจจะปังก็ได้นะ
เช่น 10 เมนูอาหารตามสั่งที่ฉันโปรดปราน
(6) การเขียนบทความสร้างแรงบันดาลใจ
56. จัดทำตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จ
แน่นอนว่าผู้คนล้วนต้องการได้รับแรงบันดาลใจจากตัวอย่างที่ยอดเยี่ยม รวบรวมรายชื่อ และแบ่งปันกับพวกเขาในบทความของคุณเลยครับ
อาทิ 10 นักธุรกิจไทยโดดเด่นในรอบปี เป็นต้น
57. ย้อนรอยความสำเร็จของผู้อื่น
ดูว่าคนอื่นประสบความสำเร็จได้อย่างไร และแบ่งปันกลยุทธ์ของพวกเขาให้ผู้อ่านได้รู้
พลิกปมด้อยสู่เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน!!!
58. สร้างความท้าทาย
ท้าทายให้ผู้อ่านทำอะไรสักอย่างหรือ Challenge เป็นหัวข้อการเขียนที่เป็นเทรนด์ในเวลานี้ โดยผู้เขียนต้องเป็นผู้ริเริ่มว่า ทดลองอะไรสักอย่าง ว่ามันจะให้ผลลัพธ์ตามคำแนะนำหรือไม่ หรืออยากรู้ว่าจะเป็นอย่างไรในความเป็นจริง โดยการทดลองต้องกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนจึงจะสมบูรณ์
อาทิ ท้าทายทำความดีเพื่อสังคมแล้วโพสต์เป็นเวลา 10 วัน
59. คำคม
ประโยคสอนใจ วลีเด็ด เป็นหัวข้อที่ถูกค้นหาในระบบเสมอ ยิ่งถ้ามาจากปากคนดัง ยิ่งได้รับความน่าเชื่อถือ
เช่น วาทะเด่นของ 10 คนดังผู้เป็นตำนาน เป็นต้น
(7) การเขียนบทความในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเวลา
60. พูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุด
ก็จะประมาณ เทรนด์ ความสนใจ ของในแต่ละช่วงเวลา
อาทิ ยอดขายสินค้าออนไลน์ในช่วงโควิด-19 เป็นต้น
61. ข่าว ความคืบหน้าในวงการต่าง ๆ
เช่น การตลาด เครื่องสำอาง ฯลฯ
กล่าวคือนำเสนอข่าว สถิติ รายงานประจำปีที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นได้ทั้งแหล่งข่าว และบันทึกที่สามารถดูย้อนหลังได้
62. พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้คน
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ กฎหมายใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เหตุการณ์ใหม่ในโลก สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อผู้คนอย่างไร? หาเรื่องน่าสนใจเหล่านี้มาทำเป็นบทความ
แรงงานไทย ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนโดนหุ่นยนต์ AI แทนที่
63. เน้นทักษะที่ผู้อ่านของคุณต้องการในอนาคต
ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็ต้องอัปเดตความรู้ของตัวเองเสมอ เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคนอื่น ๆ ได้
อาทิ ทักษะชั้นสูงที่นักการตลาดรุ่นใหม่ควรเรียนรู้ เป็นต้น
64. สรุปไทม์ไลน์การเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพต่าง ๆ
วิวัฒนาการของระบบ เหตุการณ์ เป็นข้อมูลชั้นดีของการประเมินอนาคต
อาทิ การปฏิวัติอุตสาหกรรม, สรุปการอัปเดตอัลกอริทึ่มของ Facebook ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น
65. การพยากรณ์
แน่นอนว่าอนาคตคือสิ่งที่ไม่มีใครรู้ แต่ทุกคนล้วนอยากรู้ ลองหาข้อมูลแนวคาดการณ์ หรือพยากรณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และนำมาเสนอในรูปแบบบทความ ที่มีข้อมูลทางสถิติรองรับดู
เช่น คาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลัง เป็นต้น
66. เป็นคนแรกที่ค้นพบ
ทุกวันนี้ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้ด้วยตัวเอง เพจสามารถเป็นพื้นที่นำเสนอข่าวใหม่ และการค้นพบได้เช่นกัน ยิ่งถ้าสิ่งนั้นเป็นคำเตือนหรือข้อควรระวังให้กับคนอื่นได้ บทความนั้นจะยิ่งมีมูลค่า
อาทิ ค้นพบเมนูอาหารใหม่ ๆ ที่อร่อยอย่างไม่น่าเชื่อ
67. แบ่งปันข่าวลือเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพ
บางครั้งข่าวลืออาจมีพลังมากพอ ๆ กับข่าวด่วน
ยกตัวอย่างเช่น ข่าวลือในวงการฟุตบอลเรื่องการย้ายตัวผู้เล่น เป็นต้น
68. สร้างโพสต์ตามฤดูกาล
อาทิ ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง ฯลฯ
สามารถนำมาทำเป็นบทความได้ทั้งนั้น ลองดูครับ
69. ข้อเสนอตามฤดูกาล
เช่น ลดล้างสต๊อกเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำปี มอเตอร์โชว์ ฯลฯ
รีบรวบรวมข้อเสนอที่ดีที่สุดมาทำเป็นบทความกันครับ
70. เชื่อมต่อเพจของคุณกับช่วงเวลาที่กำลังมาแรง
อาทิ ตอนนี้กำลังมีการแพร่ระบาดของโควิด 19 อยู่ใช่ไหม? มาเขียนบทความในเรื่องที่ว่าแบบรัว ๆ กันครับ เป็นที่สนใจแน่นอน
(8) การเขียนบทความแสดงความเห็นต่าง หรือทางเลือก
71. แบ่งปันความคิดเห็นที่ไม่เป็นที่นิยม
ก็จะประมาณนำเสนอความเห็นส่วนน้อยนั่นเอง
เช่น ใคร ๆ ก็รักพระเอกกันใช่ไหม แต่ถ้าคุณชอบผู้ร้ายล่ะ?
คุณอาจจะเป็นส่วนน้อย เหตุผลของคนอยู่ข้างตัวร้ายอาจเป็นเรื่องราวที่ไม่ค่อยมีใครรู้ และช่วยให้คนมองเห็นเรื่องราวอีกด้านได้ จะผสมด้วยการเสนอว่า อีกฝ่ายคิดผิดอย่างไรด้วยก็ได้นะ
72. เขียนจดหมายเปิดผนึก
อาจจะจดหมายหาคนดัง บริษัทที่น่าสนใจ นั่นอาจเป็นอีกหนึ่งวิธีในการดึงดูดความสนใจมาที่เพจของเราก็ได้นะ
สตาร์ตอัพไทยรวมตัว ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลไทย
73. ท้าทายความคิดเห็นยอดนิยม
เช่น มีส่วนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ โดยอาจจะเป็นความเห็นที่แตกต่าง ท้าทายความคิดเห็นหรือทฤษฎีของพวกเขา อย่างสร้างสรรค์ แล้วทำมันเป็นบทความดูครับ
74. เน้นไปในสิ่งที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง
ในโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ บอกผู้คนถึงสิ่งที่คุณต้องการเห็นการปรับปรุงในอนาคตผ่านบทความกันเลย
เช่น ควรยกเลิกกิจกรรมชุมนุม แม้จะเป็นประเพณี เพราะโควิด-19 เป็นต้น
75. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ล้าสมัยในสิ่งต่าง ๆ
ถ้ามีแนวคิดใดที่เก่า และไม่ได้ผล เขียนถึงมัน อธิบายว่าเหตุใดต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
อาทิ การเพิ่มราคาอาหารครั้งละ 5 บาท แทนที่จะเพิ่มตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เป็นต้น
76. อธิบายว่าทำไมบางสิ่งบางอย่างจึงล้มเหลว
ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องเสียหายหากเรามองว่ามันคือบทเรียน แถมยังนำมาเขียนเป็นบทความได้ด้วยนะ
เช่น ความล้มเหลวจากการลงทุนกับธุรกิจลูกโซ่ เป็นต้น
(9) การเขียนบทความในหัวข้ออื่น ๆ
77. เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในงานที่คุณทำ
เหมือนการพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในงานของคุณ ว่าในระหว่างทางมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงบ้าง และคุณได้เรียนรู้อะไรจากมันบ้าง?
อาทิ กว่าจะมาเป็นบริษัทระดับประเทศ ผ่านการเปลี่ยนแปลงสำคัญมากี่ครั้ง
78. ให้คนอื่นได้เห็นสำนักงานหรือที่ทำงานของคุณ
อันนี้ถ้าไม่เป็นความลับทางธุรกิจ หรือสร้างความเสียหายแก่องค์กร ก็สามารถทำบทความแนวนี้ได้เช่นกันนะ
เช่น มุมนั่งเล่น พื้นที่สันทนาการ เป็นต้น
79. อะไรอยู่ในกระเป๋าของคุณ?
คว้ากระเป๋าใบเก่งของคุณแล้วเปิดออก แสดงให้ผู้คนเห็นว่ามีอะไรอยู่ข้างใน บางทีอาจเป็นบทความที่น่าสนใจก็ได้นะ
สิ่งที่ต้องพกไปไหนมาไหนด้วยตลอด
80. วาดการ์ตูนหรือลายเส้น
บทความในเพจไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูดทั้งหมดเสมอไปนะ เพิ่มสีสันด้วยการ์ตูนแนวสนุกสนาน จะตลกหรืออะไรก็ได้ ลองดูครับ
เช่น อาจเป็นรูปที่วาดในวัยเด็ก หรือ คุณกำลังหัดวาดอะไรอยู่ เป็นต้น
81. รวบรวมเรื่องตลกในสายงานของคุณ
การทำให้ผู้อ่านของคุณหัวเราะบ้างด้วยเรื่องใกล้ตัวคุณ บางครั้งก็ดีไม่หยอกเหมือนกันนะ
อาทิ เรื่องเปิ่น ๆ ระหว่างทำงาน ฯลฯ
82. สนุกกับมีมบ้างก็ได้
ใครจะรู้ว่าบทความที่ประกอบด้วยมีมอาจจะมียอดวิวสูงก็ได้นะ
จะเป็นมีมสมัยไหนก็ได้นะ จับมายำเป็นเรื่องเล้ย
83. สร้างโพสต์โดยใช้ A ‑ Z เป็นหัวข้อ
อาทิ เริ่มที่หัวข้อ A ต่อไปก็ B แล้วเรียงไปเรื่อย ๆ จนถึง Z มาสร้างโพสต์สนุก ๆ ที่ใช้ตัวอักษรในการอธิบายหัวข้อกัน
84. รีเฟรชโพสต์เก่า
ความคิด และความคิดเห็นของคุณย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ย้อนกลับไปดูบทความเก่า ๆ ของคุณ แล้วอัปเดตด้วยแนวคิดใหม่ของคุณในปัจจุบัน บางครั้งก็ดีเหมือนกันนะ
เช่น โพสต์แรกที่ลงแล้วไม่ค่อยมีคนอ่าน จับมาแปลงโฉมเลย
85. ดึงหัวข้อจากบทความในเพจของคุณเองมาสร้างเรื่อง
บางหัวข้อก็น่าเอามาขยายความเป็นบทความใหม่ได้ ลองดูครับ
อาทิ หัวข้อที่มีคนสนใจ และพูดถึง เอามาขยายความเลย
86. เชิญชวนให้ผู้อื่นมาเขียนเพจของคุณ
หากคุณทำทั้ง 85 ข้อที่กล่าวมาแล้วล้มเหลว ก็คงต้องเปลี่ยนให้คนอื่นมาเขียนเพจของคุณแทนแล้วล่ะ 555
อาจต้องพิจารณาตัวเองเป็นการด่วน!!!
ข้อคิดสุดท้าย
หากคุณจริงจังกับการทำเพจ และเขียนบทความ เชื่อว่าสักวันต้องสำเร็จอย่างแน่นอน สู้ ๆ ครับอย่าเพิ่งท้อ เป็นกำลังใจให้ทุกคนครับผม
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลก์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ขอบคุณครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณที่มา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา