16 เม.ย. 2021 เวลา 22:30 • การเมือง
ชาวเน็ตงงกันทั่ว ท่านนายกหมายถึงใคร?
ผู้กล้าหาญ? คนไม่พูดพล่าม? คนเป็นที่รัก? บัณฑิต?
2
จากแถลงการด่วนของท่านนายกรัฐมนตรีเมื่อบ่ายสี่โมงเย็นวันที่ 16 เมษายน 2564 แม้หลายคนจะบ่นว่าท่านนายกฯ พูดรัวลิ้นฟังไม่รู้เรื่องอีกแล้ว แต่ประโยคที่สื่อหลายสำนักในโลกออนไลน์ไม่พลาดก็คือ
2
" ยามคับขัน ประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ
   ยามปรึกษาการงาน ต้องการคนไม่พูดพล่าม
   ยามมีข้าวน้ำ ต้องการคนเป็นที่รักของตน
   ยามเกิดปัญหา ต้องการบัณฑิต "
1
แน่นอนประโยคข้างต้นเป็นสัจจะ อัน “สัจจะ” หมายถึงเป็นความจริงอันปฏิเสธไม่ได้ ประชาชนย่อมต้องการผู้กล้าหาญในยามคับขัน และไม่ต้องการคนพูดพล่ามเวิ่นเว้อในยามต้องปรึกษาการงาน เรื่องนี้คือสัจจะ
แต่เมื่อออกจากปากท่านนายกฯ ในวันที่แจ้งว่าจะมีแถลงการด่วนนั้น ผู้ฟังควรตีความว่าอย่างไร? ท่านนายกฯ ต้องการประกาศตนว่าเป็นผู้กล้าหาญ? ต้องการเคลมว่าตนเองเป็นคนไม่พูดพล่าม? หรือจะบอกว่าตนเองคือบัณฑิต ผู้ซึ่งจะเข้ามาแก้ปัญหา?
หลังจบการแถลงการของท่านนายก สื่อดังหลายเพจก็ทำสรุปแจ้งให้ผู้อ่านทราบโดยขึ้นต้นคล้าย ๆ กัน เช่น
1
📍อีเจี๊ยบ เลียบด่วน เริ่มว่า “ช่วงแรกที่ลุงออกมาพูดรัว ๆ ฟังรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง หนักไปทางบ่นร่วม ๆ ไม่จำเป็นต้องตั้งใจฟังมาก ไม่ได้ฟังก็ได้”
2
📍Drama Additct เริ่มว่า “ลุงแกบ่นไรวะ ไม่มีสาระ ข้ามไป”
4
📍หนุ่มเมืองจันท์ ก็โพสท์สั้น ๆ หลังจากโควท “ยามคับขัน ประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ....” ว่า ยามฟังคำแถลงของผู้นำไม่รู้เรื่อง ประชาชนต้องการ"น้าค่อม"
14
📍ส่วนเพจใหญ่อย่าง The Matter หันไปเล่นเรื่อง “พูดอย่างไร ให้ประชาชนมั่นใจ? งานวิจัยสปีชจากผู้นำนานาชาติ ค้นพบวิธีพูดของผู้นำที่มีประสิทธิภาพช่วง COVID-19” แทน
2
กล่าวโดยสรุปคือท่านนายกใช้ช่วงเวลาแห่งการสื่อสารกับประชาชนได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่ประชนหวังในช่วงที่ “ความหวัง” เป็นสิ่งเดียวสุดท้ายที่ประชาชนทั้งประเทศมีอยู่เท่านั้นในเวลานี้
8
อย่างไรก็ตามข้อความข้างต้นที่ท่านนายกฯ กล่าว
1
" ยามคับขัน ประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ
   ยามปรึกษาการงาน ต้องการคนไม่พูดพล่าม
   ยามมีข้าวน้ำ ต้องการคนเป็นที่รักของตน
   ยามเกิดปัญหา ต้องการบัณฑิต "
2
เป็นข้อความที่คัดมาจากอรรถกถา มหาสารชาดก ว่าด้วย ต้องการคนที่เหมาะกับเหตุการณ์
กล่าวถึงคราวที่พระศาสดาได้ตรัสเล่าถึงเรื่องราวในอดีตชาติที่เกิดเป็นอมาตย์ในรัชสมัยของพระเจ้าพรหมทัตในกรุงพาราณสี
วันหนึ่งพระราชาได้เสด็จไปกับนางสนมกำนัลและบริวาณมากมีสู่ละแวกป่า เสด็จลงสู่สระโบกขรณีอันเป็นมงคล และรับสั่งให้พวกสตรีเปลื้องอาภรณ์และเครื่องประดับ มอบให้นางทาสีรับไว้ดูแล
ในจังหวะนั้นมีนางลิงตัวหนึ่งมองเห็นสร้อยมุกดาหารแวววาว เมื่อนางทาสีที่เฝ้าของหลับ นางลิงก็ย่องไปขโมยสร้อยมุกดาโดยไวแล้วนำไปซุกซ่อนไว้ในโพรงไม้
เมื่อทาสีรู้สึกตัวตื่นพบว่าของมีค่าหายไปจึงร้องโวยวายลั่น เหล่าทหารที่เฝ้าอารักษ์ก็ตกใจคิดว่ามีใครแอบลอบเข้ามาจึงวิ่งเฮโลกันออกตามจับโจรขโมยของ
ในเวลานั้นเองก็มีชายชาวบ้านคนหนึ่งเดินอยู่ในละแวกได้ยินเสียงทหารก็ตกใจวิ่งหนี เหล่าทหารก็คิดว่าชายผู้นั้นเป็นขโมย จึงตามจับกุมมาได้ในที่สุด ด้วยความกลัวชายผู้นั้นจึงยอมรับสารภาพแล้วโบ้ยว่าเอาไปขายให้เศรษฐีแล้ว
เมื่อไปตามจับเศรษฐี เขาก็ยอมรับและโบ้ยต่อว่ามอบให้ปุโรหิต พอสอบปุโรหิตก็บอกว่ามอบให้คนธรรพ์ ครั้นถามคนธรรพ์ ก็โบ้ยว่านำไปให้นางวัณณทาสีไปแล้ว แต่เมื่อสอบสวนนางวัณณทาสีกลับให้การปฏิเสธว่าไม่รู้เห็นเกี่ยวข้องอะไรกับสร้อยมุกดาเลย
1
ท่านอมาตย์ผู้ที่ได้รับคำสั่งจากพระราชาว่าต้องรู้เรื่องให้ได้ในวันพรุ่งนี้ จึงจับคนทั้งห้าเข้าห้องขังด้วยกัน แล้วสั่งให้ทหารแอบฟังว่าในคืนนั้นทั้งหมดคุยอะไรกันบ้าง พอรุ่งเช้าทหารก็รายงานท่านอมาตย์ว่าทั้งห้าคนทะเลาะกันวุ่นวายอีกทั้งยังไม่ได้รู้จักมักจี่กันมาก่อนด้วย ต่างก็ไม่เคยเห็นสร้อยมุกดากันสักคน
4
เมื่อฟังความทั้งหมดแล้วท่านอมาตย์ก็แน่ใจว่า ทั้งห้าไม่ใช่คนร้ายที่ขโมยสร้อยมุกดาไป แต่พิจารณาดูว่า ในสวนป่าแห่งนั้นมีลิงอยู่มากมาย อีกทั้งการอารักขาบริเวณนั้นก็แน่นหนา ยากที่ใครจะเล็ดลอดเข้าไปได้ ผู้ที่เอาสร้อยไปต้องเป็นลิงอย่างแน่แท้
คิดได้ดังนั้นจึงออกอุบายให้คนทำสร้อยไม้ไปให้ลิงใส่หลายตัวแล้วปล่อยไป จากนั้นก็ตามดูพฤติกรรมลิง โดยคะเนว่าลิงตัวที่ขโมยสร้อยมุกดาไปต้องรีบไปหยิบมาใส่อวดลิงที่ใส่สร้อยไม้เป็นแน่ ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น ทำให้ท่านอมาตย์นำสร้อยมุกดากลับไปถวายคืนแก่พระราชาได้สำเร็จ
พระราชาดีพระทัยจึงตรัสคาถาคำชมนี้ให้แก่ท่านอมาตย์ว่า
1
" ยามคับขัน ประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ
   ยามปรึกษาการงาน ต้องการคนไม่พูดพล่าม
   ยามมีข้าวน้ำ ต้องการคนเป็นที่รักของตน
   ยามเกิดปัญหา ต้องการบัณฑิต "
2
อ้างอิงมหาสารชาดกจาก
กรุณาคอมเมนท์ด้วยความสุภาพและสร้างสรรค์ค่ะ🙏
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา