19 เม.ย. 2021 เวลา 05:46 • สุขภาพ
ฉันไม่ได้เพี้ยน แค่ชอบพูดคนเดียวอยู่บ่อย ๆ
“ฉันพูดคนเดียวบ่อย ๆ แปลกหรือเปล่านะ ?”
อยู่หน้ากระจกแล้วอดคุยกับตัวเองไม่ได้ หรือแม้แต่เพื่อนข้าง ๆ บางทีก็เห็นว่าเราชอบนั่งพึมพำอะไรไม่รู้คนเดียว นี่เราเป็นแบบนี้คนเดียวหรือคนอื่นก็เป็นเหมือนกัน
.
ถ้าสังเกตดีๆ คนเรามักพูดคนเดียวตลอดเวลา ต่อให้ไม่ได้เปล่งเสียงออกมา แต่ในใจเราก็คุยกับตัวเอง ซึ่งเรียกว่า ‘Self-talk’ นักจิตวิทยาการปรึกษาของอูก้า คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ได้อธิบายว่า “การคุยกับตัวเอง (Self-talk) คือ เสียงภายในหรือการพูดคุยด้วยตนเอง เป็นการรวมกันของความคิดที่มีสติ ความเชื่อและอคติที่ไม่รู้สึกตัวเข้าด้วยกัน เป็นวิธีที่สมองตีความและประมวลผลประสบการณ์” แค่เรามองข้ามไปว่าการนึกในใจ การคิดอะไรไร้สาระก็เป็นการสื่อสารกับตัวเองรูปแบบหนึ่ง เพียงเพราะเราไม่รู้ตัว บางคน Self-talk แบบเปล่งเสียงออกมาจนคนรอบข้างเห็นว่าเรามีนิสัยชอบพูดคนเดียว แต่ถ้ามองในแง่ดีอาจเป็นการช่วยฝึกทักษะการปฏิสัมพันธ์ ช่วยสร้างจินตนาการและทำให้เราได้ฝึกสะท้อนความคิดตัวเองออกมา
.
สิ่งที่สำคัญกว่าคือเนื้อหาของสิ่งที่เราพูดถึงต่างหาก ถ้าทบทวนเราอาจได้เห็นว่าเรามองตัวเองอย่างไร คิดเป็นบวกหรือลบมากกว่ากัน เช่น เราพูดให้กำลังใจตัวเอง “วันนี้งานออกมาดีจัง” หรือเรากล่าวโทษตัวเองบ่อยๆ “ไม่ได้เรื่องเลย ทำไมแค่นี้ถึงทำพลาด” บางทีเราก็พูดกับตัวเองเพื่อเตือนสติ อย่างการพูดทวนย้ำ ๆ ว่าวันนี้ต้องส่งงานอะไรบ้าง แม้แต่การพูดกับสัตว์ สิ่งของ หรือการทำเสียงแปลก ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องผิด
.
อาการพูดคนเดียวเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขและต้องเฝ้าระวังหรือเปล่า ?
#คำตอบจากนักจิตวิทยาของอูก้า
คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยาการปรึกษาจากแอปฯ อูก้า บอกกับเราว่า การ ‘พูดคนเดียว’ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร เพราะการพูดคุยเกี่ยวกับตัวเองของเราสามารถทำให้เกิดกำลังใจ หรือมองโลกในแง่ลบเพื่อเอาชนะตัวเองได้ Self-talk จะเป็นประโยชน์เมื่อพูดในเชิงบวก ผ่อนคลายความกลัวและเสริมสร้างความมั่นใจ
สรุปแล้วอาการพูดคนเดียวเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชหรือไม่ ?
ในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้คนต่างก็มีส่วนร่วมในการพูดคุยกับตนเอง ความคิดของเรามีผลกระทบที่ส่งผลต่ออารมณ์ แรงจูงใจและความสำเร็จที่อาจเกิดขึ้น น่าเสียดายที่ธรรมชาติของมนุษย์มักจะพูดในแง่ลบกับตัวเองรวมถึงการตอกย้ำตัวเอง เช่น “ฉันทำอะไรก็ไม่ถูก” หรือ“ ฉันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง”
.
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการพูดถึงตัวเองส่วนใหญ่ของมนุษย์เป็นไปในเชิงลบ ดังนั้นจึงอาจบั่นทอนจิตใจมากกว่าที่จะพัฒนาตัวเรา ความคิดเชิงลบสร้างความรู้สึกโกรธเคือง หงุดหงิด สิ้นหวังและผิดหวัง นำไปสู่อาการวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งการพูดคนเดียวหากอยู่ในระดับที่พอดีก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามากเกินไปก็เป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและแก้ไข เพราะข้อดีของนิสัยพูดคนเดียวที่เป็นคำพูดเชิงบวกคือ เป็นเพื่อนคลายเครียดให้กับตนเอง บ่งบอกว่าเรามีสติและตระหนักรู้ (Self-awareness) จะได้ตรียมความพร้อมรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ที่สำคัญเป็นสัญญาณให้เราสำรวจและคลี่คลายความรู้สึกสิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจ
.
ลองสังเกตสิ่งที่เราพูดคุยหรือคิดเกี่ยวกับตนเอง ฝึก Self-talk ด้วยวิธีการใหม่ ๆ เรียนรู้วิธีระบุคำพูดเชิงลบและเชิงบวก และฝึกทักษะการเปลี่ยนมุมมองความคิดเป็นการพูดในเชิงบวกด้วยตนเอง เมื่อมีการพูดถึงตนเองในแง่ลบ ให้เราฝึกฝนปฏิกิริยาตอบสนองใหม่ ๆ และพยายามเปลี่ยนสถานการณ์นั้นดู
.
จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการฝึกฝนทำให้เกิดทักษะการควบคุมตนเองได้โดยด้วยการพูดคุยกับตนเองในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการคุยกับตัวเองแง่ลบมากเกินไปจนรู้สึกจัดการไม่ได้ ความคิดเราทำร้ายตัวเองจนยากจะควบคุม แนะนำให้เข้ารับบริการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
#OOCAissue
.
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล ฯ นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/selftalkbd
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca
.
.
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์
โฆษณา