21 เม.ย. 2021 เวลา 07:03 • การศึกษา
สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา มีกี่ประเภท ?
สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา มีกี่ประเภท ?
เนติบัณฑิต เป็นอะไรที่สร้างความสับสนให้กับบุคคลทั่วไปไม่น้อย ว่ามันคืออะไร มันคือสอบผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ สอบแล้วได้เป็นผู้พิพากษา อัยการเลยไหม หรือสอบไปเพื่ออะไรกัน แล้วใครจะต้องมาสอบ
คำถามมากมายเต็มไปหมด ที่ยังไม่ได้รับคำตอบแบบชัดเจน แต่ก่อนจะไปรู้อย่างอื่นวันนี้ เรามารับทราบกันก่อนครับว่า "เนติบัณฑิต" นั้น แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา มีทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้ครับ
1) ประเภทสามัญสมาชิก
2) ประเภทสมาชิกวิสามัญ
3) ประเภทสมาชิกสมทบ
4) ประเภทภาคีสมาชิก
5) ประเภทสมาชิกกิตติมศักดิ์
อันดับแรก สามัญสมาชิก
ได้แก่ ผู้สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักฝึกอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา คือนักศึกษาที่สอบได้แล้ว ทั้งขาแพ่ง อาญา วิแพ่ง วิอาญา ซึ่งเป็นไปตามหลักสูจตรของทางเนติบัณฑิตยสภา
อันดับที่สอง สมาชิกวิสามัญ ได้แก่
1. ผู้ที่จบนิติศาสตรบัณฑิตจาก 5 มหาวิทยาลัยของประเทศไทยมีสิทธิสมัครวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาได้ทันที คือ
(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(3) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
(4) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(5) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. ถ้าไม่จบจาก 5 มหาวิทยาลัยดังกล่าวตามข้อ 1 ต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านวิชาว่าความและได้รับประกาศนียบัตรสอบผ่านวิชาว่าความแห่งสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ก่อนจึงจะสมัครวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาได้นะครับ
อับดับที่สาม สมาชิกสมทบ
ปัจจุบันยกเลิกไปแล้วเรียบร้อย
อันดับที่สี่ ภาคีสมาชิก
ได้แก่ศึกษาในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาซึ่งมิได้เป็นสมาชิกวิสามัญหรือสมาชิกสมทบถือว่าเป็นภาคีสมาชิก
และอันดับสุดท้าย สมาชิกกิตติมศักดิ์ได้แก่
1. ผู้ทรงเกียรติคุณและมีความรู้นิติศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภายกย่องและเชิญเป็นสมาชิก และ
2. ผู้ดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษแห่งเนติบัณฑิตยสภา
หมายถึงไม่ได้สอบไล่ได้ผ่าน แต่มาจากการเลือกของทางเนติบัณฑิตยสภา นั่นเอง
ทั้งนี้เมื่อคนใดมีสถานภาพเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาแล้ว คนนั้นก็จะมีสิทธิสวมครุยเนติบัณฑิตได้ตามกฎหมาย : ข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ.2507 (คุรยเนติบัณฑิต ก็คือ ครุยที่เราเห็นทนายความ หรืออัยการ ในหนังหรือละครใส่ขึ้นว่าความนั่นล่ะครับ) ยกเว้น ครุยผู้พิพากษา จะเป็นอีกแบบ
❤️วันนี้ผมขอจบบทความนี้แต่เพียงเท่านี้ก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า ฝากติดตามเป็นกำลังใจให้กันต่อไปด้วยนะครับ Thank you very much 🙏🏻😊
📌สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ จากเพจความรู้คู่ความโง่ (Stupid with Knowledge) ✔ทุกคนจะฉลาดมากขึ้น หากเกิดข้อสงสัย ตั้งคำถาม และหาคำตอบให้กับเรื่องนั้นๆ 🙂🐻
💓 อย่าลืมกด " Like " กด " Share " เป็นกำลังใจให้แอดมินด้วยนะครับ
📝 Feedback ให้แอดมินได้เสมอนะครับ ทางเพจยินดีน้อมรับทุกคำติชมจากทุกท่าน 💙
Please Support & Follow us ♥️✍🏻
โฆษณา