1. การซักประวัติ คัดกรอง วัดไข้ ผู้ที่มีประวัติเสี่ยงสูงออกไปก่อน ในการรักษาที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน กรณีฉุกเฉินส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงไปรับการรักษาในสถานพยาบาลที่มีความพร้อมสูง
2. ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในคลินิก ยกเว้นผู้รับบริการในขณะได้รับการักษา
3. ผู้รับบริการต้องอมน้ำยาบ้วนปากที่เหมาะสม เพื่อกำจัดเชื้อในช่องปากก่อนรับการรักษา
4. ในการรักษาที่มีการฟุ้งกระจาย ต้องมีเครื่องดูดและกำจัด ละอองลอย(bioaerosols) ผ่านการบำบัดก่อนปล่อยออก
5. ในสถานพยาบาล ต้องมีเครื่องฟอกอากาศ ระบบฆ่าเชื้อในอากาศ หรือระบบระบายอากาศที่เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อที่แพร่ทางอากาศ โดยปกติให้เทียบเท่าการระบายอากาศในหอผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่ 16-20เท่าของปริมาตรอากาศต่อชั่วโมง(Air change per hour: ACH) หรืออาจใช้การวัดทางอ้อมโดยวัดค่าความเข้มข้นของคารบอนไดออกไซด์ในอากาศ หากการระบายอากาศเพียงพอ ค่าความเข้มข้นของ CO2 ไม่ควรเกิน 1,000 ppm ถือว่ามีการระบายอากาศที่ดีเพียงพอ และควรวัดแบบตลอดเวลาเพราะสถานพยาบาลอาจมีคนเข้าเข้าออกได้ตลอดเวลาจำนวนไม่แน่นอน หากระบบระบายอากาศสามารถปรับการทำงานแบบอัตโนมัติให้สัมพันธ์กับระดับ CO2 จะเป็นการดีมาก
6.มีการปกคลุมพื้นผิวสัมผัส เก้าอี้ทำฟัน หรือมีการเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ทุกครั้งหลังเสร็จการรักษา
7. แนะนำไม่ให้คนไข้เอานิ้วมือเข้าไปในปาก หรือสัมผัสฟัน เพราะจะเป็นการแพร่กระจายเชื้อได้ หากมีการเผลอสัมผัส ให้เช็ดทำความาสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล ทันที
8.ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมชุดป้องกันแขนยาว ปิดคอและคลุมผม ใส่หน้ากากป้องกัน และต้องเปลี่ยนหลังเสร็จเคสที่มีการฟุ้งกระจายทุกครั้ง เพราะชุดป้องกันจะมีการปนเปื้อนเชื้อแล้ว จากละอองน้ำที่กระเด็น เนื่องจาก ปฎิบัติงานใกล้กับปากคนไข้มาก หากไม่เปลี่ยนจะนำเชื้อไปแพร่สู่คนไข้คนถัดไปได้
9.ทำการนัดหมายมารับการรักษาตามเวลา เพื่อลดความแออัด ไม่ควรให้นั่งรอในคลินิก เพื่อลดความเสี่ยงแพร่เชื้อ /รับเชื้อ