19 เม.ย. 2021 เวลา 14:36 • หนังสือ
จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถ “มีความสุข” “มีชีวิตที่มีความหมาย” และ
“สร้างคุณค่าให้กับโลกใบนี้” ไปพร้อมๆกัน
ถ้าคุณอยาก “พัฒนาสังคม” และ “สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกใบนี้ไปในทางที่ดีขึ้น”ลองอ่านดูครับ
คนหลายคน (รวมถึงผมด้วย) ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงมากกว่าสร้างความสำเร็จของตัวเอง
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ก็ถือว่าดีมากๆ และ คนหลายคนต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นให้กับสังคมและโลกใบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การสนับสนุนเหลือเกิน และถ้าเป็นเยาวชนก็จะไม่อยากรอถึง 20 ปีกว่าจะได้ทำในสิ่งที่คุ้มค่าและน่าสนใจ พวกเขามีความยืดหยุ่นมาก และมีแนวโน้มจะออกไปถามคำถามมากกว่าจำเป็นต้องได้คำตอบ
พวกเขายังคิดถึงเรื่องระดับโลกมากกว่า และเห็นโลกกว้างนอกประเทศมากกว่าด้วย สุดท้าย พวกเขาสบายใจที่จะร่วมมือกันมากกว่า พวกเขามีจุดยืน และอุดมการณ์ร่วมกันในการสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นให้กับสังคมและโลกใบนี้ พวกเขาให้ความสำคัญกับความสำเร็จของตัวเองน้อยกว่า ในภาษาของพวกเขามีคำว่า ”พวกเรา” มากกว่า
ต่อมา ผมจะพูดถึงเรื่อง “นวัตกรรม” ซึ่ง “นวัตกรรม” คือ การทำงานสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทาง ความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด และ เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
1
เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สังคม ประเทศของเรา และโลกใบนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และ นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม
ผู้บริหารอาวุโสจากบริษัท IBM กล่าวว่า “สิ่งที่อาจเป็นอุปสรรคต่อนวัตกรรม เช่น ระบบราชการที่เคร่งครัด การแยกตัวโดดเดี่ยว และบรรยากาศการทำงานที่เต็มไปด้วยความเครียด”
Tony Wagner ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Harvard กล่าวว่า “ระบบการศึกษาไม่สนับสนุนให้เรากล้าเสี่ยง และลงโทษเมื่อล้มเหลว ผู้ปกครองและครูหลายคนเชื่อว่า อาชีพที่ ปลอดภัย และมีรายได้ดี ในสาขา กฎหมาย หรือการแพทย์ คือเป้าหมายที่คนรุ่นใหม่ควรไขว่คว้ามาให้ได้ มากกว่าจะทำในสิ่งที่จะ เปลี่ยนโลก”
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่อาจเป็นอุปสรรคของนวัตกร ซึ่งถ้าเรามีเงินเยอะตายไปก็เอาไปไม่ได้ แต่ถ้าเราทำในสิ่งที่มีคุณค่าต่อโลกใบนี้ สิ่งนั้นจะคงอยู่ตลอดไปครับ
เราจะพัฒนาคนให้เป็นนวัตกรได้อย่างไร ?
ถ้าเราเห็นตรงกันว่าการพัฒนาคนรวมถึงเด็ก และเยาวชน จำนวนมหาศาลให้เป็นนวัตกรเป็นเรื่องจำเป็น และคุณสมบัติหลายประการของนวัตกรเป็นเรื่องที่เรียนรู้ และพัฒนาได้ คำถามคือ เราจะทำอย่างไร
นวัตกรรม ประกอบด้วย 3 สิ่งคือ ความถนัด ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ และ แรงจูงใจ
ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “แรงจูงใจ”
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจมากๆ และถึงขั้น “เปลี่ยนโลก” !!! ส่วนความถนัด และทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์โดยเฉพาะความถนัดเป็นเหมือนวัตถุดิบ
นวัตกรรม ประกอบด้วย 3 สิ่งคือ ความถนัด ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ และ แรงจูงใจ
ซึ่งแรงจูงใจมี 2 ประเภท คือ แรงจูงใจภายนอก และแรงจูงใจภายใน
แรงจูงใจภายนอก : ความสำเร็จของตัวเอง,เงิน,ชื่อเสียง,เกรด(4.00),การได้รับการยอมรับ,การลงโทษ ให้รางวัล ฯลฯ
แรงจูงใจภายใน : การเล่น ความหลงใหล และเป้าหมาย
การเล่น : การสำรวจ ทดลอง และคิดจินตนาการถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ
ความหลงใหล : การมีความอยากที่จะทำในสิ่งที่ท้าทาย และ “สร้างสรรค์”
เป้าหมาย : ความอยาก ความต้องการ ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นให้กับสังคมและโลกใบนี้
หรือพูดง่ายๆคือ “แรงจูงใจภายใน” เป็นสิ่งที่มาจากใจจริง
ซึ่ง “แรงจูงใจภายใน” มีความสำคัญต่อนวัตกรรม มากกว่า “แรงจูงใจภายนอก” อยู่มาก
นวัตกรรมมักจะหลงใหลในการเรียนรู้ หรือทำอะไรบางอย่าง แต่ความหลงใหลของพวกเขาพัฒนาขึ้น จากการเรียนรู้และการสำรวจ จนกลายเป็นบางอย่างที่ลึกซึ้งขึ้น ยั่งยืนขึ้น และน่าเชื่อถือ หรือก็คือ “เป้าหมาย” นั่นเอง
ทีนี้เรามาดูความคล้ายกันของแรงจูงใจภายใน(เป้าหมาย)ของนวัตกร
Jeff Bezos ต้องการ “สร้างประวัติศาสตร์”
Steve Jobs ต้องการ “ฝากรอยเท้าไว้ในจักรวาล”
Niklas Zennstrom อยาก “ทำลายล้าง แต่เพื่อให้โลกน่าอยู่ขึ้น”
Elon Musk อยาก “มีส่วนร่วมในสิ่งที่จะเปลี่ยนโลก”
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ขอเป็น “คนบ้า(พลัง) ที่กล้าเปลี่ยนแปลงโลก”
จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ และเพื่อนร่วมอุดมการณ์จำนวนหนึ่งร่วมกันจัดตั้ง QTFT
ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาประเทศ และสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกแก่สังคม
และนวัตกรอีกหลายคนที่ ผู้เขียนหนังสือ Creating Innovators: คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก ได้ไปสัมภาษณ์ ทุกคนมีเป้าหมายคือ ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงบางอย่างบนโลกใบนี้
แรงจูงใจภายใน(เป้าหมาย)ของนวัตกร
ก่อนที่เราจะไปดู ความน่าสนใจของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก(ให้ดีขึ้น)
ผมมีสิ่งหนึ่งที่อยากให้คุณดู
ขอบคุณข้อมูลจาก ทันโลกกับ Trader KP
ต่อมาเราลองดู ความน่าสนใจของ Olin College, MIT Media Lab, d.school ซึ่งเป็นโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก(ให้ดีขึ้น)
Olin College (บน), MIT Media Lab (ล่างซ้าย) และ d.school (ล่างขวา)
1.การร่วมมือ
วัฒนธรรมการเรียนการสอนในประเทศ สรรเสริญความสำเร็จรายบุคคล แต่หยิบยื่นโอกาสที่มีความหมายให้การร่วมมือกันอย่างแท้จริง เพียงน้อยนิด
1
แต่ที่ Olin College, MIT Media Lab, d.school ไม่เป็นเช่นนั้นที่เหล่านี้เข้าใจว่าการร่วมมือรวมถึงการบูรณาการมุมมองที่แตกต่างซึ่งเป็นผลมาตามนั้นจำเป็นต่อนวัตกรรม การร่วมมือมีความสำคัญ และนักศึกษาให้คุณค่ากับการร่วมมือมากที่สุด รวมถึงความรู้สึกเป็นกลุ่มเป็นก้อน ซึ่งเกิดจากการได้ร่วมมือกันบ่อยๆด้วย
Mitchel Resnick อาจารย์ด้านการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ และหัวหน้าหลักสูตรวิชาการของ MIT Media Lab กล่าวว่า วิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่ดีที่สุด คือ การออกแบบ และสร้างสรรค์ร่วมกับคนอื่น และจากภาพด้านบนที่ Elon Musk ได้บอกเกี่ยวกับ การมีทีมที่ยอดเยี่ยม ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เขาสามารถเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท SpaceX ได้
2.การเรียนรู้พหุวิทยาการ
ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางและ ความถนัดเฉพาะทางจะมีบทบาท และมีความสำคัญเสมอ แต่การพัฒนาทักษะในการทำความเข้าใจปัญหาจากหลายแง่มุม มีความสำคัญ ปัญหาในปัจจุบันซับซ้อนเกินกว่าจะแก้ด้วยเครื่องมือทางปัญญาจากเพียงสาขาวิชาเดียว
แต่มีบัณฑิตน้อยคนที่มีประสบการณ์ วิเคราะห์ปัญหาจากมุมมองแบบสหวิทยาการ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่นักศึกษาเห็นค่ามากที่สุด
3. การกล้าเสี่ยงอย่างรอบคอบ และการลองผิดลองถูก
การฝึกอบรมนักวิชาการรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะเน้นย้ำว่า การทำงานอย่างรอบคอบและระมัดระวังเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เกิดคำถามว่า สถาบันการศึกษาที่อยู่มาช้านานจะส่งเสริมการลองผิดลองถูก รวมถึงการเสี่ยงทางปัญญา ซึ่งล้วนแต่เป็นจุดเด่นของนวัตกรได้อย่างไร
เนื่องจากที่Olin College, MIT Media Lab, d.school มีพันธกิจที่จะพัฒนานวัตกรจึงสนับสนุนให้ครูลองเสี่ยงและทดลองแนวทางการสอนใหม่ๆในชั้นเรียนของตัวเอง การลองผิดลองถูกหาความล้มเหลว เป็นส่วนสำคัญของการแก้ปัญหา ซึ่งมีนักศึกษาที่ Olin คนหนึ่งบอกว่า ที่นี่ผมไม่ได้คิดเรื่อง"ความผิดพลาด"ด้วยซ้ำ เราไม่ใช้คำนี้เราเรียกว่า"การทำซ้ำ"
ซึ่งส่วนตัวผมมองว่า เราไม่จำเป็นต้องนิยามคำว่า"ความผิดพลาด" เรานิยามว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ แก้ปัญหา และพัฒนา จะดีกว่า นักศึกษาที่ d.school จะทดลองแต่ละ project ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การทดลองแต่ละครั้งทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้น และพบแนวทางแก้ไขที่คาดไม่ถึงมากขึ้น
4. การสร้างสรรค์
งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ บ่งชี้ว่า นักศึกษาจะเข้าใจบทเรียน และจดจำสิ่งที่เรียนได้มากกว่าเมื่อได้ศึกษาและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ นักศึกษาที่ Olin College, MIT Media Lab, d.school มีประสบการณ์เป็นนักสร้างสรรค์ มากกว่าผู้บริโภค นักศึกษา Olin ได้รับการเสริมสร้างพลังในหลายทาง
1
ประการแรก มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้พวกเขาเลือกวิชาเอกได้เอง
ประการที่2 วิชาที่ Olin ส่วนใหญ่เป็นการลงมือทำ และให้นักศึกษาสร้างผลิตภัณฑ์ก่อนจบ และให้คิดอย่างจริงจังว่าผลงานของตนเองในวิชาหนึ่งเชื่อมโยงกับผลงานวิชาอื่นๆอย่างไร
ประการที่3 อาจารย์ที่ Olin พยายามให้นักเรียนเป็นผู้นำการเรียนมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการประเมินตนเองและการประเมินกลุ่มอย่างมาก แทนที่จะเป็นการให้คะแนน
ของครูผู้สอน (ที่Olin มีแต่การให้คะแนนโดยใช้เกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน)
สุดท้ายนักศึกษา Olin ทุกคน ต้องทำ project 2 ชิ้นในปีสุดท้าย ชิ้นแรก สาขาวิศวะฯ ชิ้นที่ 2 สาขาศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญให้พวกเขาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
5. แรงจูงใจภายใน: การเล่น ความหลงใหล และเป้าหมาย
ห้องเรียนวิชาการแบบดั้งเดิม อาศัยสิ่งจูงใจภายนอกเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ คุณเรียนให้ได้เกรดเฉลี่ยที่ดีในขณะที่อาจารย์อาจจะโน้มน้าวให้เห็นว่า การเรียนรู้มีคุณค่าในตัวเอง แต่กลับใช้วิธีเดิมๆคือการให้รางวัลและลงโทษอย่างเต็มที่เพื่อให้นักศึกษาเข้าเรียนเนื้อหา
ซึ่งผู้ก่อตั้ง และอาจารย์ทั้งหลายของ Olin College, MIT Media Lab, d.school เข้าใจดีว่าความปรารถนาที่จะสร้างนวัตกรรมไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจภายนอก อาจารย์มีเป้าหมายชัดเจนที่จะเสริมสร้างแรงจูงใจภายในของนักศึกษาเพื่อเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ และการทำงานของตัวเอง เพื่อทำสิ่งที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นจริง
ซึ่งเรามองผ่านกรอบความคิด เรื่อง การเล่น ความหลงใหล และเป้าหมายได้ ทุกวิชามีหลักฐานมากมายให้เห็นว่าเป็นการเล่นแบบจริงจังของผู้ใหญ่ เช่น การเล่นในนัยของการจดจ่อกับ project จนลืมเวลา หรือการเล่นในนัยขององค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการทำงานสร้างสรรค์ทุกอย่าง
ซึ่งจะเห็นความหลงใหลที่นักเรียนมีต่อ project หลายๆชิ้นได้ชัดเจน นักศึกษามีโอกาสทำเรื่องที่สนใจเพื่อค้นพบสิ่งที่ตัวเองหลงใหล และก้าวสู่การมีเป้าหมาย ซึ่งนวัตกรที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ไปสัมภาษณ์ทุกคนมีเป้าหมายคือต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงบางอย่างบนโลกใบนี้
ทั้งหมดนี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เราทำได้ และจะต้องทำในโรงเรียนมัธยมปลาย และมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และทั่วโลก
และสุดท้าย ผมมี “จดหมาย” ถึงทุกคนที่อยากจะสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมและโลกใบนี้
ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจว่าการซื่อตรงต่อวิสัยทัศน์สำคัญ มันสำคัญมากเพราะคุณทำด้วยเหตุผลหลายอย่าง
1. เพราะคุณคงจะไม่มีความสุขถ้าไม่ทำ คุณมีความต้องการสร้างสรรค์บางอย่างเพื่อ “มีส่วนร่วมในสิ่งที่จะเปลี่ยนโลก”อย่างที่ Elon Musk เคยบอกไว้ มันเป็นสิ่งที่ทำให้คุณเป็น “ผู้ให้” ที่ยิ่งใหญ่ มันเป็นสิ่งที่ ”คุ้มค่า” ที่จะทำ และเป็นสิ่งที่ทำให้ “ชีวิตมีความหมาย”
เหมือนอย่างที่นวัตกรคนหนึ่งบอกว่า “ผมอยากใช้ชีวิตที่มีความหมาย และมีเงินพอ
ที่จะเลี้ยงดูตนเอง และครอบครัว” เราลองนึกภาพว่า จะดีแค่ไหน ถ้าเรามีชีวิตที่ “มีความสุข” “มีความหมาย” และ ”สร้างประโยชน์ สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกแก่สังคม ประเทศ และโลกใบนี้”
2. ประเทศชาติ และโลกใบนี้ต้องการคุณ คุณให้ความสำคัญกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงมากกว่าสร้างเนื้อสร้างตัว คุณอยากทำในสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นให้กับสังคมและโลกใบนี้
คุณอยากทำประโยชน์เพื่อโลกที่ยั่งยืนกว่านี้ คุณอยากจะลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทั้งในประเทศนี้ และประเทศอื่นๆทั่วโลก คุณอยากเปิดโอกาสให้คนอื่นมีชีวิตที่แข็งแรง และน่าพึงพอใจมากขึ้น
ซึ่ง สังคม ประเทศ และโลกใบนี้ ต้องการความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้เหลือเกิน
ซึ่งถ้าคุณอยากจะเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น คุณจะต้องทำอะไรบ้าง
คุณควรตั้งทีมขึ้นมาแล้ว ร่วมมือกัน
จงมองว่าความล้มเหลวเป็นการเรียนรู้
เชื่อมั่นในตัวเอง และวิสัยทัศน์ของตัวเอง แต่ก็ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน
จงมีความสงสัยใคร่รู้ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
จงฝึกฟังผู้คน ความคิด และอ่านหนังสือที่หลากหลาย และไม่เชื่ออะไรง่ายๆต้องดูว่าจริงหรือไม่หรือจริงมากน้อยแค่ไหน
คุณควรผ่อนคลายบ้าง หยุดพักบ้าง เดินเล่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง เป็นอาสาสมัคร ทำให้คุณไม่เครียดจนเกินไป สงบ และสมดุล
คุณต้องบ่มเพาะวินัยหลายอย่าง
1. วินัยในการทำงานหนัก 2. เป้าหมายที่มั่นคง 3. การทบทวนตัวเอง
สุดท้าย ผมอยากจะฝากว่า ถ้าคุณรวยเป็น พันล้าน หมื่นล้าน หรือมีความสำเร็จของตัวคุณเองมากมาย คุณตายไปก็เอาไปไม่ได้ หรือถ้าคุณยังมีชีวิตอยู่ คุณก็อาจไม่มีความสุข หรือชีวิตอาจไม่มีความหมายเท่าที่ควร
แต่ว่าถ้าคุณสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคม ประเทศ และโลกใบนี้ (จะทำก็ ”ทำได้” ถ้าเรา “ร่วมมือ” กัน และเราก็ต้องเรียนรู้ และพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สนุก และมีความสุขกับการเรียนรู้ และพัฒนา) หรือเป็น “ผู้ให้”
ถ้าคุณตายไป คุณค่าที่คุณสร้างไว้ก็ยังคงอยู่ตลอดไป หรือถ้าคุณยังมีชีวิตอยู่ คุณจะสามารถ “มีความสุข” “มีชีวิตที่มีความหมาย” และ “สร้างคุณค่าให้กับโลกใบนี้” ไปพร้อมๆกัน
คนที่มีความหลงใหล สามารถเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นได้ (Steve Jobs)
ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ นี่เป็นเพียงวิธีการของผม (Elon Musk)
หนังสือ Creating Innovators: คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก
# พัฒนาสังคม
# พัฒนาประเทศ
# เปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น
# Change the world
# ความคิดสร้างสรรค์
# นวัตกรรม
# สร้างคุณค่าให้กับโลกใบนี้
# มีความสุข
# ชีวิตที่มีความหมาย
โฆษณา