Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DEFNET Military
•
ติดตาม
30 เม.ย. 2021 เวลา 11:06 • ประวัติศาสตร์
DEFNET Military Old Cam
เอากล้องเก่า ไป เรือหลวงประแส(ลำที่2)
***หมายเหตุ : ภาพถ่ายที่ประกอบบทความ เกิดขึ้นก่อนการระบาดCovid-19 ครั้งล่าสุด***
ผมชอบกล้องเก่าๆ ทั้งกล้องฟิล์มและดิจิตอล พอดีไปได้กล้องดิจิตอลรุ่นFujifilm HS20EXS ที่ออกมาเกือบ10ปีที่แล้ว ก็เลยเอาออกมาลองถ่ายรูป โดยมาที่ อนุสรณ์สถาน เรือหลวงประแส ซึ่งผมเคยมาครั้งนึงแล้วแต่ครั้งนั้นเอากล้องฟิล์มมาถ่ายครับ บรรยากาศเงียบเหงามา เทียบก่อนรอบที่ผมเอากล้องฟิล์มาถ่าย นักท่องเที่ยวเยอะกว่านี้มาก
สวัสดีท่านผู้อ่าน วันนี้ DEFNET Military จะพาทุกท่านไปเยี่ยมชมเรือหลวงประแส (ลำที่2) ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่ ปากน้ำประแส อ. แกลง จ. ระยอง
ก็ต้องบอกก่อนว่า หนึ่งในทีมงานของ DEFNET Military อยู่ใน อ. แกลง จ. ระยอง นั่นเอง และทั้งนี้ก็ได้กำชับทีมงานท่านนั้นให้สวมแมสตลอดเวลา และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ครับ
ทั้งนี้ ตัวบทความจะอธิบายเรื่องของเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) และในรูปจะมีการแทรกเกี่ยวกับสถานที่ และลักษณะของเรือนะครับ
มาครับ เรามาเริ่มเรื่องกันเลย
เรือหลวงประแส (ลำที่2) สามารถขึ้นมาเยี่ยมชมบนเรือได้นะครับ ผมเป็นคนเดียวในช่วงเวลานั้นที่เดินอยู่บนเรือหลวงประแส(ลำที่2)ก็แปลกไปอีกแบบดีเหมือนกัน
ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมเราจึงเรียกว่าเรือลำนี้ว่า เรือหลวงประแส (ลำที่2) นั่นก็เป็นเพราะว่า เรือหลวงประแสเคยมีลำแรกมาแล้วครับ
โดยเรือหลวงประแสลำแรก เป็นเรือคอร์เวต ชั้น Flower ของอังกฤษที่รัฐบาลไทยในสมัยนั้น จัดหามาจำนวน 2ลำ หลังจากสงครามโลกครั้งที่2 เข้าประจำการในปี พ.ศ. 2490 เรือหลวงประแสได้เข้าสู่สงครามเกาหลี พร้อมกับ เรือหลวงบางปะกง(ลำที่1) และเรือหลวงสีชัง(ลำที่1) และเรือเช่าสำหรับส่งทหารราบ ไปยังปูซานและเข้าร่วมกองเรือสหประชาชาติในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2493
แต่เพียงแค่ 2เดือน เรือหลวงประแส(ลำที่1) ก็ประสบอุบัติเหตุเกยหาดในพื้นที้แหลมคิซามุน ของเกาหลีเหนือ เนื่องจากถูกพายุหิมะพัดถล่ม แม้จะมีการช่วยเหลือและการกู้เรือจากทั้งทางเรือหลวงบางปะกง(ลำที่ 1) และเรือรบของสหรัฐฯ แต่ด้วยพายุหิมะที่พัดถล่มอย่างรุนแรงและเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ที่มาช่วยกู้ภัย ตกใส่สะพานเดินเรือ ทำให้เรือเสียหายหนักจนไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ จึงทำการทำลายเรือหลวงประแส(ลำที่1) ไป เหตุการณ์ครั้งนั้น มีทหารเรือเสียชีวิต 2นาย บาดเจ็บ 27นายโดยเรือหลวงประแสลำแรก เป็นเรือคอร์เวต ชั้น Flower ของอังกฤษที่รัฐบาลไทยในสมัยนั้น จัดหามาจำนวน 2ลำ หลังจากสงครามโลกครั้งที่2 เข้าประจำการในปี พ.ศ. 2490 เรือหลวงประแสได้เข้าสู่สงครามเกาหลี พร้อมกับ เรือหลวงบางปะกง(ลำที่1) และเรือหลวงสีชัง(ลำที่1) และเรือเช่าสำหรับส่งทหารราบ ไปยังปูซานและเข้าร่วมกองเรือสหประชาชาติในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2493
แต่เพียงแค่ 2เดือน เรือหลวงประแส(ลำที่1) ก็ประสบอุบัติเหตุเกยหาดในพื้นที้แหลมคิซามุน ของเกาหลีเหนือ เนื่องจากถูกพายุหิมะพัดถล่ม แม้จะมีการช่วยเหลือและการกู้เรือจากทั้งทางเรือหลวงบางปะกง(ลำที่ 1) และเรือรบของสหรัฐฯ แต่ด้วยพายุหิมะที่พัดถล่มอย่างรุนแรงและเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ที่มาช่วยกู้ภัย ตกใส่สะพานเดินเรือ ทำให้เรือเสียหายหนักจนไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ จึงทำการทำลายเรือหลวงประแส(ลำที่1) ไป เหตุการณ์ครั้งนั้น มีทหารเรือเสียชีวิต 2นาย บาดเจ็บ 27นาย
จากเหตุการณ์ที่เรือหลวงประแส(ลำที่1) เกยตื้นและถูกทำลายลง เลยกลายเป็นว่า เรือรบของกองทัพเรือไทยที่ใช้รบในสงครามเกาหลีเพียงลำเดียว เนื่องจากเรือหลวงสีชังเป็นเพียงเรื่องส่งกำลังบำรุงไม่ได้มีขีดความสามารถในการรบ ส่วนเรือเอกชนเป็นเพียงเรือที่ใช้ส่งกำลังพลเท่านั้น ทำให้รัฐบาลได้เจรจากับทางสหรัฐฯ เพื่อขอซื้อเรือรบ ซึ่งทางสหรัฐฯยินดีที่จะจายให้ตามการช่วยเหลือทางการทหาร โดยสหรัฐฯได้ขายเรือฟริเกตชั้นTacoma อันเป็นเรือรบสมัยช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่2 จำนวน 2ลำ คือ USS Glendale กับ USS Gallup โดยไทยได้ขึ้นระวางและเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2494 โดยได้รับนามพระราชทาน คือ เรือหลวงท่าจีน(ลำที่2) และ เรือหลวงประเเส(ลำที่2) ตามลำดับ
แต่ทั้งนี้เรือไม่ได้เดินทางกลับไทยเลย แต่ยังคงทำหน้าที่ในกองเรือสหประชาชาติในสงครามเกาหลีต่อไปจนถึงปีพ.ศ.2497 จึงเดินทางกลับประเทศไทย และเข้าประจำการในกองเรือปราบเรือดำน้ำ ซึ่งปัจจุบันคือกองเรือฟริเกตที่ 1
1
เรือหลวงประแส (ลำที่ 2) และเรือหลวงท่าจีน (ลำที่ 2) ก็ถูกใช้งานเรื่อยมา ผ่านการฝึกและการทำภารกิจเพื่อรักษาอธิปไตยทางทะเลของไทย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2537 หลังจากประจำการมา 43 ปี กองทัพเรือก็ได้ลดบทบาทของเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) ไปใช้งานเป็นเรือฝึกสำหรับนักเรียนนายเรือ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 เรือหลวงประแส (ลำที่ 2) ก็ได้ปลดประจำการจากกองทัพเรือไทย รวมอายุเรือ 56 ปี โดยมีระยะเวลาประจำการในกองทัพเรือ 50 ปี
แต่แล้ว ในปี พ.ศ. 2546 จ. ระยองได้ขอซื้อเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) เพื่อนำมาจัดแสดง ต. ปากน้ำประแส อ. แกลง จ. ระยอง ซึ่งได้มีการเคลื่อนเรือออกจากสัตหีบ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 และนำเข้าที่จัดแสดงถาวร เมื่อ 26 ธันวาคม 2546 นับเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) เพื่อทำหน้าที่เป็นอนุสรณ์และสถานที่ท่องเที่ยวอันมีคุณค่า และน่าสนใจของจังหวัดระยองต่อไปครับ
ข้อมูลของเรือหลวงประแส (ลำที่ 2)
หอบังคับการและสะพานเดินเรือของเรือหลวงประแส(ลำที่2) จะมีบันไดข้นมาถึงจุดนี้ได้ และท่านยังสามารถจะเดินเข้าไป ณ สะพานเดินเรือและหอบังคับการได้ วิวทิวทัศน์บนนี้สวยอยู่ครับ แต่พื้นที่จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก และก็ระวังศรีษะด้วย เพราะผมโดนเหล็กในห้องสะพานเดินเรือเข้าเต็มหัวเลย
-วางกระดูกงู
18 ส.ค. 2486
-ปล่อยเรือลงน้ำ
17 ก.ย. 2486
-เข้าประจำการ(ในกองทัพเรือสหรัฐ)
29 ก.พ. 2487
-เข้าประจำการ(ในกองทัพเรือไทย)
29 ต.ค. 2494
-ปลดระวางจากกองทัพเรือไทย
22 มิ.ย. 2543
คุณลักษณะทั่วไป
ความยาวตลอดลำเรือ: 92.80 เมตร
ระวางขับน้ำ
-ปกติ 1,430 ตัน
-เต็มที่ 2,277 ตัน
ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต หรือ 28 กม/ชม
ความเร็วสูงสุด 20 นอต หรือ 37กม/ชม.
ระยะปฏิบัติการไกลสุด 7,383 ไมล์ทะเล ที่ ความเร็ว 15 นอต
กำลังพลประจำเรือ 216 นาย
ระบบอาวุธ
-ปืนเรือ 76/50 มม. จำนวน 3 กระบอก ประกอบด้วยปืนหน้าเรือ 2 กระบอก และท้ายเรือ 1 กระบอก
ปืนเรือ 76/50 ที่ผมถ่ายมาเป็นบริเวณหัวเรืทั้งคู่ กระบอกหนึ่งจะมีหลังคาผ้าใบคลุมอยู่ แต่อีกกระบอก แสดงกลางแจ้ง ส่วนอีกกระบอกจะอยู่ส่วนท้ายเรือเหนือส่วนของป้อมปืน 20มม.ขึ้นมา
- ปืนกลขนาด 20 มม. แบบ MGNECH Mk.2 จำนวน 9 กระบอก
ปืนขนาด 20มม. จะมีกระจายตัวตามจุดต่างๆ เช่นบริเวณสะพานเดินเรือจะมีข้างละ 2กระบอก กราบซ้ายและขวาเรือ ข้างละ 1กระบอก และท้ายเรือจะมีอยู่ 3กระบอก ตัวปืนยังพอจะหมุนได้แต่ก็เสื่อมสภาพไปตามกาลและสภาพอากาศ
- ปืนใหญ่กลขนาดแบบ 40 มม. แบบ Bofor 40/60 จำนวน 2 กระบอก
- เครื่องยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ (Hedgehog) แบบ MK 11 MOD จำนวน 2 แท่นยิงบริเวณหัวเรือ
- ท่อยิงตอร์ปิโด SURFACE LIESSEL MK.32 MOD.0 จำนวน 2 แท่นยิง
- แท่นยิงระเบิดลึกแบบ MK.6 MOD - 1 จำนวน 2แท่นยิง
แท่นยิงระเบิดน้ำลึก Mk.6 mod.1 นับเป็นอาวุธสำคัญอีกแบบในการปราบเรือดำน้ำ
ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องจักรไอน้ำ 4 สูบ สร้างโดย JOSHUA HENDY IRON WORKS จำนวน 2 เครื่อง
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกังหันไอน้ำ ของ WISTING HOUSE จำนวน 2 เครื่อง
- ใบจักร จำนวน 2 เพลาใบจักร
อนุสรณ์สถานเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00-18:00 น.
เรือเปิดให้เข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-18.00น. ตอนกลางคืนจะมีการเปิดไฟพวงรอบเรือก็สวยไปอีกแบบครับ แต่ผมไม่ได้อยู่ถึงค่ำ เพราะว่าอีกวันต้องกลับไปทำงาน เสื้อผ้ายังไม่ได้ซักเลย
เกร็ดความรู้
1. ก่อนหน้าที่สหรัฐฯ จะขายเรือหลวงประแสให้ไทย เรือเคยได้ประจำการในกองเรือสหภาพโซเวียต ในปี พ.ศ. 2488 ก่อนที่สหรัฐฯ จะเจรจาขอคืนในปี พ.ศ. 2492
2. เรือหลวงท่าจีน (ลำที่ 2) อันเป็นเรือชั้นเดียวกันกับเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) ปัจจุบันถูกจัดแสดงที่โรงเรียนเตรียมทหาร จ. นครนายก
#DEFNET
บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
DEFNET Old Cam
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย