Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ARTimalia
•
ติดตาม
23 เม.ย. 2021 เวลา 05:00 • สิ่งแวดล้อม
ปล่อยปลา ได้บุญหรือได้บาป?
นี่เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผม”กลัว”ที่จะเขียนที่สุด
แต่ก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่”อยาก”เขียนที่สุดเช่นเดียวกัน
เพราะนี่เป็นปัญหาที่ใหญ่มากทั้งในบ้านเรา และต่างประเทศ แต่ของบ้านเรา ผมมีความรู้สึกว่ามีการแก้ใขในเรื่องนี้น้อยที่สุด....
ทุกวันนี้ เวลาเราอยากจะไปทำบุญ เราคงนึกถึงวัด หรือการบริจาคต่างๆ เวลาเราไปทำบุญ ในวัดก็จะมีกิจกรรมให้เราทำหลายอย่าง
ซึ่งสิ่งหนึ่งที่คนไทยนิยมมากคือการปล่อยปลา เพราะมองว่าเป็นการไถ่ชีวิตปลา การปล่อยปลา ก็คือการให้โอกาสให้พวกมันมีชีวิตรอด.....เพราะฉะนั้นต้องได้บุญ
ซึ่งผมขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า
มันไม่ใช่โว้ยยยยยย
ก่อนที่ผมจะพูดถึงสาเหตุ
ผมขอพูดก่อนว่า
“ธรรมชาติมันละเอียดอ่อน”
คำๆนี้สำคัญมาก เพราะถ้าทุกๆคนสามารถนึกถึงคำๆนี้ได้ พวกคุณจะได้ลองไตร่ตรองถึงสิ่งต่างๆที่กำลังจะทำ
และผมอยากให้ทุกๆคนลองใช้”common sense”
ในการคิดตามผมนะ
เอ้าเริ่ม!
คุณกำลังไปที่ร้านอาหารร้านนึง
คุณเห็นปลากลุ่มนึงกำลังจะถูกกิน คุณรู้สึกสงสารมากๆ
คุณจึงอยากเอามันมาปล่อย...แต่เนื่องจากคุณรู้ว่าธรรมชาติมันละเอียดอ่อน
คุณจึงเริ่มคิดอย่างรอบคอบแล้วว่าปลาที่คุณกำลังจะซื้อคือปลาอะไร?
สมมติว่าเป็นปลาดุกบิ๊กอุย หนึ่งในปลาที่คนไทยชอบปล่อยที่สุด
ถ้าคุณนึกถึงคำว่า”ธรรมชาติมันละเอียดอ่อน”อีกครั้ง คุณก็จะเริ่มอยากรู้แล้วว่า ปลาดุกบิ๊กอุยมันเกิดจากอะไร มันกินอะไรเป็นอาหาร เพราะธรรมชาติมันละเอียดอ่อน จึงทำให้เราต้องศึกษามห้ดีว่าปลาที่เราจะปล่อย มันส่งผลต่อระบบนิเวศมากแค่ใหน และ ไปทางใหน
ปลาดุกบิ๊กอุย คือปลาดุกลูกผสม ระหว่างปลาดุกไทย(ปลาดุกอุย)กับปลาดุกแอฟริกัน(ปลาดุกเทศ) เนื่องจากเราต้องการปลาดุกที่ตัวใหญ่ เนื้อแน่น และอร่อย เราจึงเอามันมาผสมข้ามพันธุ์กัน
ซึ่งในทางการค้า คงเป็นเรื่องที่ดีไม่ใช่น้อย เพราะมันทำกำไรให้กับผู้ขายได้มาก แต่กับการปล่อยปลา.........
ปลาดุกบิ๊กอุย....ปลาดุก....มันคือปลาที่เป็นชาวดัด....
ดัดสารแพก แดกสารพัด😂(แป็ก)
มันเป็นปลาที่กินแทบจะทุกอย่างเลยครับ ปลาที่ตัวเล็กกว่ามันล้วนเป็นอาหารได้ รวมทั้งไข่ปลา และสัตว์ต่างๆก็เป็นอาหารของมันได้หมด เป็นเทพแห่งการทำลายล้างอย่างแท้จริง
“เห้ย แต่ปลาดุกในธรรมชาติก็กินแบบนี้เหมือนกันไม่ใช่หรอ”คุณที่กำลังหาคำตอบเกี่ยวกับธรรมชาติอันละเอียดอ่อนกำลังคิด
และถ้าคุณนึกถึงคำว่า”ธรรมชาติมันละเอียดอ่อน”อีกครั้ง บวกกับcommon sense คุณก็จะรู้ว่า
“ก็ปลาดุกไทยในธรรมชาติมันไม่ได้เยอะจนเกินไปนิ”
นั่นหละครับผม คือการที่เราเอาสิ่งมีชีวิตอะไรซักอย่างจำนวนมากๆ ไปลงในระบบนิเวศนึงที่ไม่เคยมีมันมาก่อน หรือไม่เคยมีเยอะขนาดนี้มาก่อน ก็ล้วนจะทำให้ระบบนิเวศนั้นพังย่อยยับได้เหมือนกันครับ เพียงแต่อยู่ที่ว่ามันย่อยยับมากแค่ใหนเท่านั้นเอง
(สิ่งมีชีวิตที่ถูกย้ายมาอยู่ในระบบนิเวศใหม่
จะถูกเรียกว่าเป็น”alien species”ของระบบนิเวศนั้น)
“แล้วเราควรทำอย่างไรกับปลาดุกบิ๊กอุยพวกนี้ดีล่ะ”
ง่ายๆครับ
กิน!!!!สิครับ จะได้ไม่เป็นภาระกับธรรมชาติ
พวกเราสร้างมันขึ้นมาเอง พวกเราสร้างภัยกับธรรมชาติขึ้นมาเอง เราก็ต้องกำจัดพวกมันด้วยสิ่งที่เราถนัดที่สุด ก็คือการกิน5555
ผมว่านี่คือสิ่งที่เราจะได้บุญมากกว่าการปล่อยพวกมันนะ เป็นบุญอย่างแท้จริงด้วย ไม่ได้เป็นบุญแค่ชื่อ เพราะเราไม่ได้เบียดเบียนผู้อื่น(ธรรมชาติ)
ปลาดุกย่างนี่ของโปรดผมเลย😅
“แล้วเรายังสามารถปล่อยสัตว์ ไถ่ชีวิตทำบุญได้อีกมั้ย”
ถ้าผมเป็นคนหัวแข็ง ผมจะบอกว่า
“มั่ย”
(ถ้าเป็นสัตว์ป่าที่ถูกจับมา ก็ควรจะปล่อยเค้าไปนะครับ แต่ถ้าเป็นพวกที่จับสัตว์มาเพื่อให้เราซื้อไปทำบุญโดยเฉพาะก็ไม่ควรสนับสนุนนะครับ พวกนั้นเค้าหากินกับความเมตตาของเรา)
แต่มันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะบังคับให้ทุกคนเลิก เพราะพวกเราคุ้นชินกับการไถ่ชีวิตสัตว์กันไปแล้ว
เพราะฉะนั้นผมจะนำเสนอวิธีการ
“ปล่อยสัตว์อย่างไรให้ได้บุญ”
มีกฏเหล็กอยู่4ข้อครับ ที่เราต้องคำนึงทุกครั้งก่อนปล่อย
1. มันเป็นสัตว์จากใหน
เราต้องรู้ก่อนครับว่ามันเป็นสัตว์ในไทยหรือไม่
(เช็คให้ดีนะครับ บางทีถ้าถามคนรอบตัวหรือจากที่ที่เราได้ปลามา.....เค้าก็อาจจะเข้าใจผิดเหมือนกัน บางคนยังไม่รู้เลยว่าปลาหางนกยูงไม่ใช่ปลาไทย)
1.1 ถ้าไม่ใช่ เราก็ไม่ควรปล่อยในธรรมชาติ เราควรปล่อยในพื้นที่ๆเป็นระบบปิด ไม่ยุ่งเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ปลา เต่าก็ต้องปล่อยในบ่อเลี้ยง......
1.2 ถ้าใช่ เราจะไปต่อในข้อที่2
2.มันเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใหน
การปล่อยสัตว์ผิดที่ผิดทางก็ส่งผลร้ายทั้งระบบนิเวศและตัวมันเองครับ
เช่น ถ้าอยากจะปล่อยเต่า เราก็ต้องรู้ก่อนว่ามันเป็นเต่าบก เต่าทะเล หรือเต่าน้ำ ถ้าเป็นเต่านำ้ ก็ต้องปล่อยในแหล่งนำ้”ที่ไม่มีคอนกรีตสูงล้อมรอบ” ต้องเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติหรือบ่อนำ้ที่ขอบเสมอกับระดับนำ้ เพราะพวกเต่านำ้จืด ต้องการที่จะมีที่เกาะพัก ถ้าไม่มีที่เกาะ มันจะเหนื่อยตาย
ถ้าเป็นเต่าบก ก็ต้องปล่อยบนบก
ถ้าเป็นเต่าทะเล ก็ต้องปล่อยในทะเล
3.มันเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใหน
คุณต้องรู้ก่อนว่าสัตว์ที่จะปล่อย อาศัยอยู่ในภูมิภาคใหน จังหวัดใหน
อย่างเต่านา เป็นเต่านำ้ที่อาศัยอยู่ตามนา พื้นที่ชุ่มนำ้ทั่วไป ก็สามารถปล่อยได้ง่ายๆ แต่ถ้าเป็นสัตว์ที่พื้นที่ค่อนข้างเฉพาะ เช่น ต้องเป็นพื้นที่ที่มีความสูงระดับ เท่านี้ถึงเท่านี้ จากระดับนำ้ทะเล อยู่ในสภาพอากาศแบบนี้ เป็นป่าแบบใหน ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าทุ่ง อะไรก็ว่าไป
ถ้าคุณสามารถผ่าน3ข้อก่อนหน้ามาได้ จะเหลือเพียงข้อสุดท้าย
4.ปล่อยสัตว์ในปริมาณเท่าใด
ปริมาณเป็นสิ่งสำคัญ การที่เราปล่อยมากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี
ย้อนกลับไปเรื่องปลาดุกบิ๊กอุย ถ้าทั้งประเทศปล่อยกันแค่ไม่กี่ตัว มันคงไม่ส่งผลอะไรเท่าใหร่ครับ แต่ประเด็นคือแต่ละคนปล่อยกันเป็นสิบเป็นร้อยโล แล้วปล่อยกันหลายพันคนต่อปี เลยเป็นปัญหาใหญ่
สัตว์บางชนิดควรปล่อยครั้งละน้อยๆ เช่นพวกสัตว์นักล่าสัญโดษ เพราะพวกมันอยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร ปริมาณพวกมันจะน้อย และมีการแบ่งอนาเขตกัน ถ้าปล่อยพร้อมกันอาจตีกันตายได้ หรือแย่งอาหารกัน ส่วนสัตว์ที่เป็นเหยื่อก็อาจจะโดนล้างบางจนสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่เลยก็ได้
(แต่ปลาดุกบิ๊กอุยเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ กินดีกว่าปล่อยครับ)
ส่วนสัตว์ที่ควรปล่อยครั้งละเป็นฝูง
(แต่ก็ไม่ใช่เป็นร้อยโลนะ555)ก็อย่างเช่นพวกปลาขนาดเล็ก เพราะถ้าเราปล่อยไปแค่ตัวสองตัว....ปล่อยปุ๊บ
โดนงาบบบบบ5555
เพราะงั้นเราก็ควรปล่อยในปริมาณระดับนึง เพื่อให้พวกมันมีโอกาสรอดด้วย
แต่เอาจริงๆผมว่าพยายามปล่อยให้น้อยๆดีที่สุดนะครับเพราะถ้าปล่อยครั้งละมากๆ ระบบนิเวศจะปรับไม่ทัน
จริงๆมีรายละเอียดยิบย่อยอีกเยอะมาก เช่นพวกสัตว์ชั้นสูงตั้งแต่นกไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ ถ้าอยู่กับคนมากจนเกินไปจะเกิดการคุ้นชินกับคน ทำให้สัญชาตญาณสัตว์ป่าหายไป สัตว์พวกนี้ต้องผ่านการปรับพฤติกรรมก่อน
นี่ละครับ แค่การปล่อยสัตว์ กลับยุ่งยากขนาดนี้
ผมบอกแล้วครับ
“ธรรมชาติมันละเอียดอ่อน”
ตัวอย่างพันธุ์สัตว์นำ้ที่ปล่อยได้และไม่ควรปล่อย จากกรมประมง
2 บันทึก
6
11
2
6
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย