20 เม.ย. 2021 เวลา 07:51 • ธุรกิจ
.
.
5. ประสบการณ์ที่ประทับใจในการจัดสร้างระบบบริหารงานบำรุงรักษาในโรงไฟฟ้า
1
สมัยที่เริ่มทำงานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ทำงานที่สองของผม เป็นช่วงที่เริ่มจัดทำระบบบริหารงานบำรุงรักษาในโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ เนื่องจากหัวหน้าหน่วยงานบำรุงรักษาทั้งระดับหัวหน้ากองและหัวหน้าแผนกเริ่มไม่ไหวกับการเสียนอกแผน (Breakdown) ทำให้ Reliability ของโรงไฟฟ้า ตกต่ำ แต่โชคดีที่มี System Reliability ของระบบส่งช่วยค้ำยันเอาไว้ ไม่เช่นนั้นบ้านเราคงไฟฟ้าดับทุกวัน
1
ในช่วงนั้น (ประมาณปี 2525-26) ตำรา เอกสารที่เกี่ยวกับการบริหารงานบำรุงรักษายังมีน้อยมาก ได้ Paper บางๆจาก CEGB ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าของอังกฤษ ของค่ายญี่ปุ่นก็หนักไปทาง QC Circle ช่วงนั้นยังไม่รู้จัก TPM ในประเทศไทยช่วงนั้นมีผู้เขียนหนังสือจากประสบการทำงานออกมา 2 เล่ม บังเอิญผมจำชื่อหนังสือไม่ได้แล้วต้องขออภัย เล่มแรกเป็นของคุณอลงกต ชุตินันท์ จากบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด เขียนหนักไปทาง Systematic Preventive Maintenance อีกเล่มหนึ่งเป็นของอดีตผู้ช่วยผู้ว่าการ การประปานครหลวง ชื่อคุณกล้าหาญ วรพุทธพร ชื่อหนังสือถ้าจำไม่ผิดคือ การบำรุงรักษาทวีผล ใช้ภาษาอังกฤษว่า Productive Maintenance เนื้อหาน่าสนใจมาก เริ่มมีวิธีคิด Mean Time Between Failure (MTBF), Mean Time to Repair (MTTR) แนวคิดเรื่อง Equipment Reliability การบริหารอะไหล่ การเก็บข้อมูลบำรุงรักษา การรายงานและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งน่าสนใจมาก
การจัดทีมผู้ทำงานที่เรียกว่า MMS หรือ Maintenance Management System มาจากวิศวกรโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ มีทั้งโรงไฟฟ้าพลังความร้อน เช่น Steam Turbine, Gas Turbine, Combined Cycle, Lignite, Diesel, และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ได้แก่เขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหลาย
เมื่อรวมพลได้ ก็มีการแบ่งกลุ่มกันทำงาน จะไม่ขอพูดถึงตัวบุคคลหรือโรงไฟฟ้า แต่จะเน้นที่เนื้องานเลยนะครับ โดยทีมงานแบ่งออกประมาณ 7 กลุ่ม เพื่อไปคิดวิธีในการเริ่มต้นจัดสร้าง การ Implement การเก็บข้อมูล การจัดทำรายงาน และการวิเคราะห์ โดยมีกลุ่มที่สำคัญดังนี้
1. ระบบควบคุมงานบำรุงรักษา (Work Control System) ศึกษากระบวนการในการควบคุมงานบำรุงรักษาทั้งในมุมมองของกระบวนการทำงาน กระบวนการเก็บข้อมูล และการรายงาน โดยเริ่มตั้งแต่การแจ้งซ่อม การออกใบสั่งงานซ่อม การออก Work Permit สำหรับงานที่ต้องการความปลอดภัย แบบฟอร์มการแจ้งซ่อมและสั่งงานซ่อมต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง การไหลของเอกสาร (Work Flow) เป็นอย่างไร ใครจะต้องเป็นผู้อนุมัติเอกสารบ้าง และทำในขั้นตอนไหน การรายงานผลการบำรุงรักษาต้องมีข้อมูลอะไร ข้อมูลสาเหตุการเสียเริ่มต้นมีอะไรบ้างสำหรับอุปกรณ์ประเภทต่างๆ การรวบรวมข้อมูลเพื่อมาทำรายงานเบื้องต้นได้แก่ High Cost Area, High Problem Area เป็นต้น
2. ระบบงานบำรุงรักษาป้องกัน (Preventive Maintenance) ศึกษากระบวนการในการสร้างงาน PM ว่ามีวิธีคิดและขั้นตอนอย่างไร มีข้อมูลอะไรบ้าง มีการกำหนด Frequency ในการทำ PM กี่ประเภท แต่ละประเภทมีวิธีการจัดแผนอย่างไร แบบฟอร์มที่ใช้ในการเตรียมงาน PM มีอะไรบ้าง แบบฟอร์มที่ใช้ในการทำแผน PM มีอะไรบ้าง การจ่ายงาน PM ทำอย่างไร การรายงานผลการทำงานทำอย่างไร นำข้อมูลกลับเข้ามาอย่างไร PM ที่มี Inspection Sheet ต้องจัดการอย่างไร Job Specification คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรและมีขั้นตอนการทำอย่างไร Work Procedure คืออะไร การวิเคราะห์เพื่อปรับแผน PM ต้องคำนึงถึงอะไรบ้างและปรับแผนอย่างไร
3. ระบบบริหารพัสดุอะไหล่ (Spare Part Management) ศึกษาสาระสำคัญที่ทำให้การบริหารพัสดุอะไหล่ ตอบโจทก์งานบำรุงรักษา ได้แก่ การทำ Part Catalog ของอะไหล่ คือวิธีการกำหนดชื่อและรหัสอะไหล่ที่เป็นมาตรฐาน ไม่เกิดการซ้ำซ้อน ค้นหาง่าย ซึ่งในโลกนี้มีมาตรฐานหลายค่าย เช่น SFC, Auslang, ฯลฯ กระบวนการเบิกจ่ายอะไหล่จะทำอย่างไรให้ประวัติและค่าใช้จ่ายวิ่งมาที่บำรุงรักษา การกำหนด Max-Min ในการเก็บอะไหล่ที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
4. ดัชนีและรายงานบำรุงรักษา (Maintenance Indices & Reports) สร้างดัชนีและรายงานที่ใช้ในการบริหารและปรับปรุงงานบำรุงรักษาโดยแบ่งเป็นกลุ่มๆได้แก่ ดัชนีด้านเทคนิคและอุปกรณ์และระบบ เช่น MTBF, MTTR, Failure Rate, Availability, ฯลฯ ดัชนีในการปรับปรุงงาน PM ดัชนีด้านบุคลากรงานบำรุงรักษาเพื่อให้เกิด Work Effectiveness ดัชนีเพื่อปรับปรุงค่าใช้จ่ายงานบำรุงรักษา ฯลฯ
5. การจัดทำงบประมาณบำรุงรักษา (Maintenance Budgeting) เพื่อให้เกิดวิธีการตั้งงบประมาณที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นระบบ เรียนรู้ได้ และเกิด Effectiveness ในการทำงานและการเตรียมเงิน
6. การควบคุมงานโครงการ (Project Management) เนื่องจากการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า จะมีงานใหญ่อยู่สองประเภท ได้แก่ Minor Inspection (เดิมใช้ชื่อว่า Yearly Inspection เพราะทำทุกปี) เพื่อหยุดโรงไฟฟ้า ถอดเปลี่ยนและตรวจสอบอุปกรณ์ที่สำคัญใช้เวลาประมาณ 1 เดือน และงาน Major Overhaul ซึ่งเป็นงานใหญ่ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ตรวจเช็ค ถอด เปลี่ยน ซ่อม อุปกรณ์ที่ชำรุดทั้งหมด ซึ่งการทำงานใหญ่ทั้ง 2 ประเภทใช้ทรัพยากรและเวลามาก จำเป็นต้องควบคุมให้เสร็จตามแผน จึงต้องมีกระบวนการควบคุมโครงการที่ดี
1
7. การกำหนดโครงสร้างและรหัสและข้อมูลอุปกรณ์ (Equipment Structure, Coding and Data) เพื่อจัดทำโครงสร้าง รหัส และข้อมูลอุปกรณ์ โดยวางโครงสร้างให้ครอบคลุมโรงไฟฟ้าทุกประเภท และเป้าหมายเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบ (Compare) ดัชนีบำรุงรักษาข้ามโรงไฟฟ้าได้ โดยกำหนดโครงสร้างรหัส 13 digit ขึ้นมาเอง โดยผสมผสานและดัดแปลงจากโครงสร้างรหัส KKS เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการทำงานภายใน กฟผ.
1
เมื่อทำงานด้านความคิดเสร็จ จะได้เอกสารกึ่งคู่มือ ออกมา 7 ชุด ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารต้นแบบในเชิงหลักคิดและวิธีการปฏิบัติในการจัดสร้างระบบริหารงานบำรุงรักษาที่ละเอียดมาก ไม่เคยเห็นที่ไหนทำมาก่อน
ขั้นตอนถัดไปคือการ Implement โดยให้แต่ละโรงไฟฟ้านำไป Implement และสามารถปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับแต่ละโรงไฟฟ้า มีการดูงานระหว่างโรงไฟฟ้า เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการ ปัญหาและการแก้ไข ของแต่ละโรงไฟฟ้า ทำให้มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจึงมีการจัดหา Software ระบบบริหารงานบำรุงรักษา (Computerized Maintenance Management System หรือ CMMS) เข้ามาใช้งาน
1
บทสรุป
การจัดสร้างระบบบริหารงานบำรุงรักษาในครั้งนั้น ทำให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การเก็บข้อมูล การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงการทำงาน ทำให้ได้ประโยชน์ต่อมาอีกมากมาย ได้แก่
1. ผู้บริหารให้ความสำคัญกับ Maintenance Management มากขึ้น โดยจัดตั้งหน่วยงานใหม่ชื่อว่า แผนกวางแผนบำรุงรักษาขึ้นมา เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารงานบำรุงรักษา
2. ผลจากการทำงานที่เป็นระบบ มีข้อมูลในการปรับปรุงงาน ทำให้ Reliability ของโรงไฟฟ้าดีขึ้น ลดการ Breakdown หรือเสียแบบนอกแผน (Unplanned) ช่างไม่ต้องเข้ากะ ปรับ Interval ในการทำ Minor Inspection (Yearly Inspection) จาก 1 ปี เป็น 1 ปีครึ่ง และ Major Overhaul จาก 4 ปีเป็น 6 ปี ทำให้ใน 1 รอบของ Major Overhaul ได้เวลาในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ประสบการที่ประทับใจนี้ทำให้ผู้เขียนใช้ความรู้ที่ได้จากการทำงานในครั้งนั้นเป็นอาชีพมาจนถึงทุกวันนี้
#CMMS
#Maintenance #PM
#Maintenance Management
#IDYL #Cedar
#Productivity #TPM
#RCM #SPO #OEE
#SpareOptimizer
#Powerplant
โฆษณา