Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ooca
•
ติดตาม
20 เม.ย. 2021 เวลา 10:02 • ครอบครัว & เด็ก
OOCAstory : ผิดไหมถ้าความกตัญญูผูกฉันไว้ จนใจเจ็บ
ความรักยังอยู่...แต่ในเมื่อเราไม่สามารถเป็นทุกอย่างที่ทุกคนต้องการได้ เราจะกตัญญูยังไงไม่ให้ใจเจ็บ ?
“กตัญญู” เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยเชื่อว่า “พ่อแม่” เปรียบเสมือนพระของบ้าน ลูกจะต้องทดแทนคุณคนที่เลี้ยงดูเรามาอย่างดี “เราต้องดูแลให้พ่อแม่สุขสบาย” ใครที่ทำดีกับคนที่มีพระคุณจะไม่มีวันตกต่ำ นี่คือความเชื่อที่เราได้ยินจากรุ่นสู่รุ่น แต่ในปัจจุบันหลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า “ต้องทำมากแค่ไหนจึงจะเรียกว่ากตัญญู” ด้วยรูปแบบสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป จากการอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ เราเริ่มมีครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นหลายคนก็เริ่มแยกย้ายไปเติบโตสู่โลกกว้าง ทำให้เราได้เห็นว่าทุกคนต่างมีชีวิตเป็นของตัวเอง แต่ค่านิยมบางอย่างกลับผูกเราไว้กับการใช้ชีวิตเพื่อคนอื่น
ตั้งแต่เด็กเรารับรู้ว่าพ่อแม่รักเราอย่างไม่มีเงื่อนไข รักโดยไม่คาดหวัง เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกเราว่า “การที่พ่อแม่บอกว่าไม่คาดหวังอะไร นอกจากให้ลูกโตไปเป็นคนดี มีความสุข นั่นแหละ...ก็เรียกว่าคาดหวังแล้ว” ในความเป็นจริงหลายครอบครัวแสดงความคาดหวังอย่างเห็นได้ชัด เช่น ต้องเลือกเรียนในสิ่งที่พ่อแม่เลือกให้ ต้องสานต่อธุรกิจของที่บ้าน เมื่อมีเงินเดือนจะต้องแบ่งเบาภาระที่บ้าน ฯลฯ ด้วยเงื่อนไขในชีวิตที่แตกต่างกัน หากเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการของครอบครัวได้ อาจรู้สึกถึงความกดดันมหาศาลและรู้สึกล้มเหลวที่จะเป็นคน “กตัญญู”
ถ้าใครเคยดูซีรี่ย์เรื่อง It’s Okay, that’s Love (2014) ที่นำแสดงโดยโจอินซอง มีประโยคหนึ่งจากซีรี่ย์เรื่องนี้ที่ผู้เขียนจำได้แม่นยำคือ “ได้รับความรัก ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เจ็บปวด” จุดเริ่มต้นของความเศร้าในวัยผู้ใหญ่ คือภาพสะท้อนจากชีวิตวัยเด็ก ทั้งที่ตัวพระเอกมีแม่ที่รักและเอาใจใส่อย่างดี แต่บางครั้งเขากลับพยายามเป็นลูกชายที่แม่ภูมิใจมากจนเกินไป เพียงเพราะอยากจะชดเชยบาดแผลในอดีตที่แม่ได้รับจากพ่อเลี้ยง การเข้มแข็งเพื่อแม่ทำให้เขาลืมที่จะมอบความรักให้ตัวเอง
นี่อาจเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ย้ำเตือนเราว่าอะไรที่เกินกำลัง สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ตรงข้ามได้ ไม่ใช่ความกตัญญูเป็นสิ่งต้องห้ามหรือไม่ดีงาม เราอยากบอกว่าตราบใดที่ทำด้วยความสุขและความเต็มใจ เราจะมองเห็นด้านที่สวยงามเสมอ สุดท้ายพระเอกก็ได้เรียนรู้ว่าในบางครั้ง “ความรัก...ไม่จำเป็นต้องเสียสละบางอย่างเพื่อคนที่รักเสมอไป แต่อาจหมายถึงการทำบางอย่างให้สำเร็จ” การจะรักและทำเพื่อความฝันของตัวเองบ้าง ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะเรามีสิทธิ์ที่จะมีความสุขไม่ใช่หรอ ?
ปัจจุบันเราต่างเดินทางไขว่คว้าความก้าวหน้าในชีวิต จนถูกตำหนิว่า “เห็นแก่ตัว” หลงลืมคนสำคัญไว้ข้างหลัง ก่อนอื่นให้ทำความเข้าใจโลกใบนี้ว่ารูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปแล้ว รักอิสระ มีเป้าหมาย แสวงหาการเปลี่ยนแปลง บ้างเลือกจากไปไกลพ่อแม่ ไม่ได้อยู่ดูแลใกล้ชิด นำไปสู่ความห่างเหินของคนในครอบครัว ในขณะที่อีกซีกโลกที่ดำเนินชีวิตโดยปราศจากข้อผูกมัดระหว่างรุ่นปู่ย่าตายาย พ่อแม่และลูก ชาวต่างชาติอยู่กับครอบครัวแค่เพียงช่วงหนึ่งของชีวิต ก่อนจะแยกย้ายกันไปใช้ชีวิต ไม่แปลกที่เด็กต่างชาติมีความเป็นตัวของตัวเองสูง แต่เรายึดความคิดเห็นพ่อแม่เป็นสำคัญ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดเพราะเราเห็นว่าเขาสำคัญกับเราจริง ๆ
ในขณะเดียวกันการรับผิดชอบตนเองและค้นพบความหมายของชีวิต อาจเป็นการแสดงความกตัญญูรูปแบบหนึ่งก็ได้
ความกตัญญูส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเรามากแค่ไหน ?
น่าเสียใจที่ความ “กตัญญู” บางครั้งไม่ได้สะท้อนออกมาจากใจ แต่กลายเป็นการบีบบังคับด้วยสายสัมพันธ์ เป็นความขัดแย้งประชดประชันในครอบครัว หลายครั้งถึงกับได้ยินเด็กรุ่นใหม่กล่าวว่า “ทำไมต้องบังคับให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ชอบพูดว่าเลี้ยงดูเรามายากลำบาก ไม่ได้ดั่งใจก็บอกว่าเราไม่น่าเกิดมา เราก็ไม่ได้อยากเกิดมาในครอบครัวแบบนี้” ลองทบทวนดูว่านี่ใช่ความกตัญญูในแบบที่เราต้องการจริงหรือเปล่า ? จนสิ่งเหล่านี้ถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดบาปต่อผู้มีพระคุณและสร้างบาดแผลฝังลึกอยู่ในหลายครอบครัว
อย่างไรก็ตาม “ใจเรารู้ดีที่สุดว่าเราจะสร้างสมดุลของความกตัญญูและความสุขได้อย่างไร ?” เพราะความกตัญญูเป็นสิ่งที่เราแสดงออกได้ในหลายรูปแบบ ไม่มีแบบแผนชัดเจนและไม่ใช่เพียงเพราะคนส่วนใหญ่ทำ เราจึงต้องทำ แต่เป็นความสมัครใจ ที่ไม่เบียดเบียนความรู้สึกภายในใจ เป็นความปรารถนาดีต่อคนที่เรารักและรักเรา ลองทำความเข้าใจกับครอบครัวดูอีกครั้งและเลือกที่จะ “กตัญญู” ในแบบที่ไม่ทำร้ายหรือฝืนใจเราเอง
เพราะใจหนึ่งเราเชื่อว่า...ความกตัญญูควรเป็น “รางวัล” ไม่ใช่การ “ลงโทษ”
การกดดันตัวเองมากไปใจอาจจะบอบช้ำ ลองเว้นพื้นที่ให้เราได้เป็นตัวเองบ้าง ใช้ชีวิตเพื่อคนอื่นเท่าที่เรารับไหว หากเรื่องพวกนี้กำลังทำให้เราอึดอัดใจ ขอให้อูก้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับใจคุณ โดยสามารถเข้ามาปรึกษาจิตแพท์และนักจิตยาในระบบอูก้าได้ เราพร้อมรับฟังทุกเรื่องในใจคุณ แล้วมาหาทางออกไปด้วยกันกับอูก้านะ
.
#OOCAstory
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ >
https://ooca.page.link/gratitudebd
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่
https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา >
bit.ly/msgfbooca
.
.
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์ #สุขภาพจิต
1 บันทึก
5
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย