20 เม.ย. 2021 เวลา 16:52 • ธุรกิจ
1.Series Acquisition - ความหมายของทรัพย์สิน
Good day and I hope you are fine very well.
สวัสดีทุกๆคนนะคะ ขอบคุณที่ติดตามเรา Series นี้จะเป็นความรู้เกี่ยวกับการรับรู้ทรัพย์สิน ซึ่งค่อนข้างมีข้อมูลที่เยอะ และละเอียดมากๆ
โดยวันนี้เรามาเขียนข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การบัญชี และภาษี
ซึ่งเราขอเริ่มต้นจากรากในส่วนของความหมายกันก่อนนะ เพราะเราคิดว่าจะได้มีความเข้าใจในบัญชีทรัพย์สินอย่างลึกซึ้ง
1.ความหมายของทรัพย์สิน สรุปสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 , 138
เป็นวัตถุที่มีรูปร่าง Tangible Asset
เป็นวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง Intangible Asset
อาจมีราคาได้
อาจถือเอาได้
2.ความหมายของทรัพย์สินทางบัญชี ตามมาตราฐานบัญชีฉบับที่ 16 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
คำว่า ทรัพย์สิน นั้นตามศัพท์ของบัญชีไทยจะใช้คำว่า สินทรัพย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกัน
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งกิจการ มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหาร และคาดคะเนว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี
ตามหลักปฏิบัติทางบัญชีจะพิจารณาจาก
-หลักกรรมสิทธิ กล่าวคือบริษัทจะบันทึกเป็นทรัพย์สินของกิจการ เมื่อได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น
-หลักประโยชน์ กล่าวคือ คาดคะเนว่าทรัพย์สินนั้นมีประโยชน์ในการใช้งานเกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชี
-หลักสาระสำคัญ กล่าวคือ แม้จะเข้าเงื่อนไขตาม 2 เกณฑ์แรก แต่ถ้ามีมูลค่าทรัพย์สินที่จำนวนต่ำ ไม่เป็นสาระสำคัญ ก็อาจถือเป็นรายจ่ายได้ โดยอาจกำหนดนโยบายของบริษัท ในส่วนของมูลค่าการบันทึกทรัพย์สินได้
สินทรัพย์แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ สินทรัพย์หมุนเวียน และ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
สินทรัพย์หมุนเวียน เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร สินค้าคงเหลือ วัตถุดิบ เป็นต้น
ซึ่งในส่วนของบัญชีทรัพย์สิน จะอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตน และ ไม่มีตัวตน
อีกทั้งยังมีสินทรัพย์อื่น คือ สินทรัพย์ที่มิใช่สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพยถาวร เป็นต้นทุนที่ยังมิได้ตัดเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ที่ดินที่ถือไว้เพื่อขาย หรือเพื่อขยายโรงงาน เป็นต้น
3.ทรัพย์สินตามความหมายทางภาษีอากร
ประมวลรัษฎากร ไม่ได้บัญญัติความหมายของทรัพย์สินไว้โดยตรง จึงใช้ความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ได้บัญญัติห้ามนำรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาหักเป็นรายจ่าย(รายจ่ายต้องห้าม)ซึ่งคำว่ารายจ่ายอันมีลักษณะการลงทุน จึงมีความหมายในทำนองเดียวกันกับทรัพย์สินนั่นเอง
อันนี้เราสรุปมาคร่าวๆ เพื่อนๆลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงค์อ้างอิงท้ายบทความนะคะ
ขอบคุณมากๆที่อ่านหรือฟังจนจบ หากใครมีข้อแนะนำ เสนอแนะเรา เราก็ยินดีและขอบคุณมากๆเลยค่ะ หรือหากมีใครอยากพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องบัญชีทรัพย์สินกับเรา ก็ยินดีมากเช่นๆค่ะ
บทความหน้าเราจะมาแบ่งปันเรื่องการรับรู้ทรัพย์สิน (Capitalization) และการวัดมูลค่าต้นทุนเริ่มแรกของทรัพย์สิน (Components)ว่ามีต้นทุนใดบ้างที่สามารถเป็นรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินได้ ฝากติดตามด้วยนะคะ
เราอยากให้คุณมีความสุขกับการทำงาน😊
Stay safe and Stay Healthy kha.
บัญชีขาลุย
อ้างอิง
กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน : http://old-book.ru.ac.th/e-book/l/LW104(49)/LW104(49)-2-5.pdf
มาตราฐานการบัญชีที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ : https://www.tfac.or.th/upload/9414/L0MtN14QDC.pdf
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) : https://www.rd.go.th/827.html
โฆษณา