Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณัฐมาคุย
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 เม.ย. 2021 เวลา 01:59 • สุขภาพ
วัคซีน Sinovac ก็อาจจะไม่ปลอดภัย?
1
เมื่อวานนี้ (20 เม.ย. 2564) อ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้เปิดเผยข้อมูลรายงานผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน Sinovac ไว้ มีรายละเอียดดังนี้
3
โรงพยาบาลระยอง ได้รายงานความผิดปกติจากการฉีดวัคซีน Sinovac ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนชนิดรุนแรง ช่วงระหว่างวันที่ 5-9 เม.ย. 2564
3
ทั้งนี้มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 6 รายจากโรงพยาบาลระยอง ที่มีอาการคล้ายอาการอัมพฤกษ์เกิดขึ้นจากอาการลิ่มเลือดอุดตัน และ 5 ใน 6 รายได้รับยา rTPA เพื่อทำการละลายลิ่มเลือด และทุกรายมีอาการดีขึ้นแล้วตามลำดับ มีรายละเอียดดังนี้
5
หญิงอายุ 29 ปี ฉีดวัคซีนที่ต้นแขนซ้าย ต่อมาเกิดอาการตึงแขนขวา ก่อนจะเกิดอาการแขนขาชาครึ่งซึกและอัมพฤกษ์ครึ่งซีก ทำให้เจ้าหน้าที่ตัดสินใจย้ายผู้ป่วยไปแผนกฉุกเฉิน มีอาการปวดตึงท้ายทอยและพูดไม่ชัด ต่อมาจึงนำไปพักพื้นในแผนกผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด และนำเข้าเครื่องซีทีสแกน เพื่อตรวจสอบสมอง แอดมิต 3 วัน - แพ้อาหาร (กุ้ง), ทานยาคุมกำเนิด, มีประจำเดือน
8
หญิงอายุ 33 ปี ฉีดวัคซีนที่ต้นแขนซ้าย ต่อมาปวดท้ายทอย อีกประมาณ 14 นาที รู้สึกเจ็บหน้าอกด้านซ้ายเป็นพักๆ ใจสั่น อ่อนแรง ชามากบริเวณแขนซ้าย เจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจย้ายไปยังแผนกฉุกเฉิน ต่อมายังปวดตึงแขนซ้าย แล้วมีอาการแขนขาชาครึ่งซีกและอัมพฤกษ์ครึ่งซีก จึงส่งต่อไปยังแผนกผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด ก่อนเข้าเครื่องซีทีสแกน ผลออกมาเป็นปกติ แอดมิต 2 วัน - แพ้อาหารทะเล, มีประจำเดือน, มีธาลัสซีเมียชนิดแฝง
6
หญิงอายุ 21 ปี ก่อนฉีดมีอาการเจ็บหน้าอกซ้ายอยู่แล้ว หลังจากฉีดที่ต้นแขนซ้าย ก็เจ็บหน้าอกและหายใจไม่อิ่ม ต่อมายังเจ็บหน้าอกด้านซ้ายเป็นพักๆ ใจสั่น มีอาการแขนขาชาครึ่งซีกและอัมพฤกษ์ครึ่งซีก จึงย้ายผู้ป่วยไปแผนกฉุกเฉิน หลังจากนั้นปวดตึงแขนซ้าย ชาเริ่มจากปลายมือซ้ายขึ้นไปแขนซ้าย ก่อนไปต้นแขนซ้าย ชาน่องและต้นขาซ้าย แล้วขาเท้าซ้าย จึงถูกส่งเข้าแผนกผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด เพื่อทำซีทีสแกน ผลออกมาเป็นปกติ ใช้เวลา 21 ชั่วโมงอาการจึงดีขึ้น แอดมิต 2 วัน - มีธาลัสซีเมียชนิดแฝง ไม่มีประวัติแพ้ยา, อาหาร
2
หญิงอายุ 54 ปี ฉีดวัคซีนที่ต้นแขนซ้าย แต่หลังจากนั้น 10 นาที มีผื่นแดงที่แขน 2 ข้าง ก่อนชาปลายเท้า 2 ข้าง ยังไม่ลามขึ้นต้นขา ชาปาก ลิ้นแข็ง สมองสั่งการช้า ก่อนแขนขาทั้ง 2 ข้างจะอยู่ในภาวะอ่อนแรง ตาฝ้าคล้ายควันขาวบังทั้ง 2 ข้าง ไม่มีหนังตาตก จึงส่งเข้าแผนกโรคผู้ป่วยสมองขาดเลือด เพื่อทำซีทีสแกน ผลออกมาว่าปกติดี แอดมิต 2 วัน - มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านม และได้รับเคมีบำบัดมาก่อน, รับประทานยาแก้แพ้, ไม่มีประวัติแพ้ยา, อาหาร
5
หญิงอายุ 25 ปี ฉีดวัคซีนที่ต้นแขนซ้าย เกิดอาการแขนขาชาครึ่งซีกหลังฉีดประมาณ 30 นาที ต่อมาชาที่ต้นคอ ปวดแขนซ้าย พูดไม่ชัด ขาไม่มีแรงทั้ง 2 ข้าง เจ้าหน้าที่จึงส่งตัวไปยังแผนกผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเพื่อทำซีทีสแกน แอดมิต 1 วัน - ไม่มีประวัติแพ้ยา, อาหาร
4
หญิงอายุ 27 ปี ฉีดวัคซีนที่ต้นแขนซ้าย หลังฉีดประมาณ 55 นาที เกิดอาการแขนขาชาครึ่งซีก และง่วงซึมลง จึงย้ายไปแผนกฉุกเฉิน เพื่อทำซีทีสแกน ผลออกมาปกติ และเข้าพักฟื้นที่แผนกผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด แอดมิต 1 วัน - ไม่มีประวัติแพ้ยา, อาหาร เคยมีปัญหาเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
ทั้งนี้ เป็นเรื่องน่าสนใจว่า เหตุการณ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลแห่งเดียว และผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีน J202103001m6dik และเป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 21-54 ปี จึงมีการคาดเดาว่า วัคซีนเฉพาะล็อตดังกล่าวอาจจะมีปัญหา แทนที่จะเป็นปัญหาจากวัคซีนของ Sinovac เอง
9
นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยอีก 1 รายจากโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ซึ่งได้ น.พ. อภิวุฒิ เกิดดอนแฝก ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท ให้ยาละลายลิ่มเลือดและกลับมาเป็นปกติ ยืนยันด้วย MRI
2
ความน่าสนใจของเคสนี้คือ อาการดังกล่าวใกล้เคียงกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับวัคซีน AstraZeneca/Oxford และ Johnson & Johnson/Janssen ซึ่งมีการรายงานไปก่อนหน้านี้แล้ว
3
ทางกระทรวงสาธารณสุขกำลังอยู่ในการระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้เพิ่มเติม
1
Update เพิ่มเติมจากการแถลงวันที่ 21 เมษายน 2564:
- ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบวัคซีนล็อตนี้ และไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด
1
- วัคซีนล็อตนี้มีการกระจายไปตามโรงพยาบาลต่างๆ กว่า 501,600 โดส และมีผู้รับวัคซีนจากล็อตนี้ไปแล้วกว่า 280,840 โดสแล้ว
1
- แต่ไม่เคยมีการรายงานเคสลักษณะนี้มาก่อนหน้านี้ทั้งกับผู้รับวัคซีนในประเทศไทย และในประเทศอื่น
2
- ทางกระทรวงจึงตัดสินใจไม่ระงับการฉีดวัคซีนล็อตนี้
ที่มา:
https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/4422566954443491
1
58 บันทึก
49
24
263
58
49
24
263
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย