23 เม.ย. 2021 เวลา 05:16 • สุขภาพ
การเลือกเชื่อถือที่มาของข่าวว่า เป็นแค่ข่าวลือ ข่าวจริง ข่าวจริงบางส่วน ข่าวสร้างกระแสที่เราควรติดตามหรือเลิกติดตาม
การติดตามข่าวที่มีข้อเท็จจริง 100% หรือมากกว่านั้นตามแต่จะเรียก
หรือโฆษณา ยังเป็นจำเรื่องเป็นหรือไม่ โดยเฉพาะข่าวการแพร่ระบาดของโควิด-19ในระลอก3 ที่บางประเทศเริ่มสงบ ประกาศชัยชนะเหนือ
โควิดได้ มีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร มีเบื้องลึกคืออะไร
กับเรื่องข้อเท็จจริงของการแย่งวัคซีนที่ทั่วโลก กำลังร้อนแรง มุ่งหาทางรอดจากวัคซีน ที่มีชะตาชีวิตเสี่ยงตายของประชากรทั่วโลกเป็นเดิมพัน ประเทศไทยอยู่ในลำดับใดของห่วงโซ่อุปทานที่ถูกกำหนด ประเทศเรากำลังเผชิญวิกฤตที่สำคัญมากที่ใดในขณะนี้คืออะไร
การเตรียมความพร้อมจากสิ่งที่เรามีเพียงพอหรือไม่
ข่าว
 
คนมีเงินเช่นประเทศอิสราเอลออกมาประกาศว่าเอาชนะโควิดแล้ว ไม่ต้องสวมหน้ากากตามที่สาธารณะ การวิเคราะห์เจาะลึก เพื่อสรุป จะเป็นเพราะ อิสราเอลร่ำรวยล้นฟ้า? คนระดับมหาเศรษฐีและทรงอิทธิพลอยู่ในประเทศอเมริกา ต้นทางผู้ผลิตคหรือเจ้าของคือกลุ่มอิทธิพลที่มาจากประเทศอิสราเอลที่เคยเป็นบบ้านเกิด การเจรจาต่อรองเพื่อให้ส่งวัคซีนจำนวนมหาศาลให้อิสราเอลโดยให้ราคาที่จับต้องได้ยาก เช่นตกลงซื้อขายสั่งจองที่ราคา19$ แต่ถ้าขายให้อิสราเอลจะได้ถึง 30$(สหรัฐ) และอิสราเอลก็กล้าพอที่จะซื้อ บริษัทผู้ผลิต จะยอมโง่ขายราคาต่ำหรือสูงถ้าความต้องการมากมาย จะเลือกขายให้ใครดีคงต้องขึ้นกับอะไรคงเดาไม่ยาก
DEMAND 》 SUPPLY
หลายๆคนพร้อมจะเชื่อเพราะพวกเราใช้ตรรกที่เป็นเหตุเป็นผล ตามสิ่งที่เห็นและเกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
การปรากฏข่าวในสถานการณ์ความเป็นความตายจากโรคโควิด ที่เราต่างรับรู้อาจมีข่าวที่ต่างก็โฟกัสเรียกผู้สนใจให้เข้ามาอ่าน ด้วยการพาดหัวข่าวให้สะดุดตา โดยส่วนตัวคิดว่า แนวทางการเสพข่าวในช่วงนี้ คงต้องใช้วิจารณญาณให้สูงมากๆ บวกเพิ่มการทำใจ และการหาข้อมูลเปรียบเทียบข่าวและต้องไม่ตัดสินใจเชื่อข่าวที่ได้รับมาในทันที
1
มีหลายคอมเม้นต์ที่ออกมาตำหนิการนำเสนอข่าวของหลายสื่อๆ ที่เล่นเรื่องกระแส การระบาดและสิ่งที่สร้างความตื่นตระหนักให้กับประชาชนที่ขาดความเข้าใจในระบบบเริ่มหวั่นวิตกว่า กลัวว่าตัวเองจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นตายแล้วจะขาดการดูแล หรือต้องเผชิญชะตากรรมที่ถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยวและเสียชีวิตตามลำพัง
ท่านนายกฯบอกว่า ได้ทดลองให้ลูกน้องโทรติดต่อกับ สายด่วน1669 ,1668 ตามข่าวที่เสนอออกมา ว่าไม่มีผู้รับสายในทันที หน่วยงานสำคัญไม่มีคนรับสายเป็นเรื่องบกพร่องร้ายแรง ใช่หรือไม่ นาทีทองของชีวิตที่จะรอดหรือตาย
เพราะเป็นการบริการที่สำคัญ ต้องสามารถประสานขอความช่วยเหลือเป็นที่พึ่งของประชาชนตาดำๆได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่นั้นคือสถานการณ์ความเสี่ยงปกติ แต่วิกฤตโควิดมันใช้ได้หรือไม่?
เป็นที่มาของคนที่ต้องหาทางช่วยตัวเอง ด้วยการตามรถเอกชนเสียเงินทองจำนวนมาก มันควรหรือไม่ที่ความช่วยเหลือของภาครัฐ
มีไม่มากเพียงพอกับความต้องการ ที่สูงมากของประชาชนในขณะนี้
ข่าวอาม่าที่ป่วยโควิด มีคนตายไปแล้วในบ้าน ยังไม่มีคนมารับศพ หรือมารับอาม่าไปส่งโรงพยาบาลก็เป็นข่าวที่เกิดขึ้น
ข่าวรถกู้ชีพเอกชนคิดราคา 7,000 บาทในการนำส่ง หลายคนบอกว่าไม่แพงหลายคนบอกว่าแพง(ไม่ควรต้องเสียเงิน?) ความจริงคือมีการคิดราคาตามระยะทางและข้อกำหนดที่มีการอ้างอิงของการกำหนดราคาอยู่แล้ว เมื่อตัดสินใจซื้อบริการก็กลายเป็นกระแสย้อนกลับ
ไม่มีอะไรได้มาเปล่าๆ ในยุคที่ความต้องการมีมากกว่าที่มีอยู่จริง การที่บางคนบอกไม่แพงเพราะถ้า ต้องซื้อชีวิต ซื้อความรวดเร็วดความปลอดภัย ความกลัวจากความที่ไม่รู้จะต้องเผชิญชะตากรรมแบบใด ยอมจ่ายดีกว่า
ความจริงคือเราเข้าสู่ความจริงที่ต้องยอมรับว่าประเทศเรากำลังขาดแคลน ทรัพยากรจำเป็นหลายอย่างในขณะนี้😱😰
ถ้าท่านนายกฯจะออกมาตราการที่จะช่วยประชาชนให้ผ่านวิกฤตไปด้วยกัน ในสถานการณ์ ที่เลวร้ายจากโควิดในสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับประเทศไทย
เปรียบเทียบกับของต่างประเทศ เมื่อปีกลาย ประเทศร่ำรวยมีความพร้อมทุกอย่าง เช่นสหรัฐ เมื่อเกิดการระบาดด้วยโควิด-10 สายพันธุ์
ที่เจอครั้งแรกที่มีความร้ายแรงและอันตราย ซึ่งน่าจะมีฤทธิ์น้อยกว่าสายพันธุ์อังกฤษในขณะนี้ ระยะฟักตัวและความรุนแรงที่พบก็น้อยกว่า
แต่สุดท้ายก็จบด้วยการเสียชีวิตของประชากร ประดุจใบไม้ร่วงต้องเจอ
ภาพ ตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกนำมาปรับเพื่อเป็นห้องเย็นเก็บศพและสถิติการเสียชีวิตสูงสุดแซงทั่วโลก
คนป่วยคนตายถูกทอดทิ้ง ที่ถูกทิ้งขว้างอาจเป็นภาพที่เกิดขึ้นกับไทย
ในระยะต่อไปจากนี้
ภาพเก่าจากกระปุก.คอม ปีพ.ศ.2563
การติดตามข่าวมาถึงวันนี้ คงส่งผลให้หลายท่านวิตกจริต กังวลว่า
ถ้าฉันต้องเผชิญกับความจริงว่า การระบาดของโควิดสายพันธุ์อังกฤษ คือของจริงที่จะทำให้ไทย ต้องยอมรับว่าประเทศเราคงไม่ต่างจากสหรัฐอเมริกา บราซิล อิตาลี หรืออินเดีย หรือเราจะทำได้ดีกว่า
บทเรียนและความจริงจากประเทศที่ร่ำรวยบอกอะไรเรา
โควิดไม่ใช่เรื่องล้อเล่น อีกต่อไป ความจริงของข่าวที่ออกมาจริงเท็จแค่ไหนต้องศึกษา หาข้อมูลรอบด้าน โดยเฉพาะการวางแผนล่วงหน้าคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน เพราะประชาชนชาวไทยแตกต่างกับชาวต่างชาติ ความพร้อมในการป้องกัน
ถ้ามองในแง่ดี คนไทยมีความเชื่อฟัง จากมาตรการต่างๆที่รัฐกำหนด
เราพร้อมจะทำ และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ฝ่าฝืน แต่เพราะโรคมีความร้ายแรงและน่ากลัวกว่าเมื่อปีกลาย จึงเป็นเหตุให้ไทยเข้าสู่วิกฤตอย่างรวดเร็ว
และหัวใจของทั้งหมด คือเป้าหมายลดจำนวนผู้ติดเชื้อให้เร็วที่สุด
คือสิ่งที่ควบคุมให้ได้ จะได้ยุติการแพร่กระจายของเชื้อโรค ลดความรุนแรงของการระบาด
ต้องรีบออกมาตรการและสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ นำไปสู่มาตรการที่เข้มแข็ง ให้ดำเนินการไปพร้อมๆกับแนวทางการรักษา เพื่อที่จะช่วยลดอัตราการป่วยตายจากโรค ให้ประชาชนมั่นใจว่าเมื่อป่วย จะได้รับการดูแงอย่างทั่วถึงและเป็นไปตามมาตรฐาน ไม่ใช่ใครมีเงินมากกว่าได้บริการเร็วหรือสามารถเข้าถึงการรักษาได้มากกว่า
คำว่าสาธารณสุขไทยที่หลายประเทศให้คำชื่นชม ก็คงไม่สามารถดำเนินการตามเป้าหมายได้ ถ้าพวกเรา คนไทยทุกคน ภาครัฐและเอกชน ทุกสายอาชีพไม่ช่วยกันดึงกราฟหรืออัตราการแพร่ระบาดลงให้ได้
สื่อและผู้ให้ข่าวต้องร่วมมือกันในการเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นกระบอกเสียงและเป็นธรรม หยุดให้ข่าวที่สร้างความกลัวและเป็นข่าวที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ ให้- ชัด-เจน
การที่ท่านนายกฯ ได้ลงมือตรวจสอบข้อเท็จจริงจากข้อมูลที่ได้ด้วยตัวท่านเองนับว่าเป็นหลักบริหารที่น่าชื่นชม เพราะไม่ใช่แค่นั่งโต๊ะรอการรายงานสั่งการเพียงอย่างเดียว
ในฐานะประชาชนที่ต้องวนลูปในชะตากรรม การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงคงไปตำหนิ หรือตามหาคนผิดมาลงโทษคงยาก และไม่ควรกล่าวโทษกันไปโทษกันมา
ควรใช้สติปัญญาที่อยู่บนวิจารณญาณที่ถูกต้องมากขึ้นในการตัดสิน
ช่องทางที่จะรอดจากโควิดคืออะไรใครตอบได้
หลายสิ่งที่ชัดเจนเป็นเหตุเป็นผลที่ผู้เสพข่าวสารต้องรับรู้
1.เราจะไม่เป็นโควิดถ้าเราไม่ได้ไปสัมผัสหรือไปอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงหรือพื้นที่เสียง
2.ทำได้หรือไม่ที่จะหลีกเลี่ยงเหตุใน ข้อที่1
3.ถ้าตอบว่าทำได้เพราะมีความพร้อม ลงมือทำเลย(คงเข้าใจหลักการว่าโอกาสรับเชื้อได้จากช่องทางไหนบ้าง)
4.ถ้ายังต้องตอบว่าทำไม่ได้ จะด้วยสาเหตุใด
- ต้องทำงานเลี้ยงชีพ
- ต้องพบปะกับคน
- ต้องประสานงาน ฯลฯ
ก็ต้องวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เราทำอยู่ณขณะนี้เสี่ยงอย่างไร และเสี่ยงขนาดไหนเมื่อเลี่ยงไม่ได้ ป้องกันได้หรือไม่ ทำอย่างไร
5.หาทางลดความเสี่ยงทั้งจากการ ทำงานที่บ้าน งานที่ทำมันเสี่ยงหรือการใช้ชีวิตมันเสี่ยง เช่นเดินทางไปกับยานพาหนะสาธารณะใกล้ชิดคนแปลกหน้า หรือไปที่แออัดเพราะร้องจับจ่ายซื้อหาอาหารของใช้เพื่อสมาชิกในครอบครัว
6.ท่องไว้คือลดจำนวนที่จะไปสัมผัสกับ บุคคลเสี่ยง หรือสถะานที่เสี่ยงให้มากที่สุด
#@#และนี่คือที่มาว่าเราต้องเสพข่าวอย่างมีสติ โดยต้องติดตามไตร่ตรองด้วยวิจารณญาณ เช่น มีการระบาดกลุ่มก้อนที่ทองหล่อ หรือห้างสรรพสินค้าชื่อดัง เราควรไปสถานที่นั้นหรือไม่ เลี่ยงได้เลี่ยง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ทำยังไงดี
3
#@# ป้องกันสุดชีวิต เช่นอาจต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน แบบชุดใหญ่ เต็มพิกัด และมาตรการการป้องกันพื้นฐานของโรคโควิด และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายเรา เมื่อเราร้องเจอสถานที่หรือบุคคล หยุดเกรงใจ หยุดกลัว ใครไม่สวมหน้ากากเลิกคบชั่วคราว
การตัดสินว่าสิ่งใดถูกผิดเหมาะสมสมควรทำหรือไม่ อะไรมากไปน้อยไปขึ้นกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน แต่ละชุมชน โดยส่วนตัวถือว่า การติดตามข่าวสารยังเป็นเรื่องจำเป็น แต่อะไรจริง อะไรเท็จ อะไรจริงผสมเท็จ หรือบางสิ่งอาจเป็นเท็จล้วนๆ
ความจำเป็นในวิกฤตการเอาตัวรอดอาจ ต้องสร้างรูปแบบการใช้ชีวิตที่ป้องกันตัวเองให้รอบคอบรัดกุม
ตัวอย่างการติดตามข่าวอย่างมีสติ แต่ถ้าการติดตามข่าวแล้วกลับกลายเป็นการสร้างความคิดหวั่นวิตกกลัว ก็ต้องหาทางแก้ไขให้ตัวเอง
เช่นกลัวติดโรค แต่ไม่หยุดพฤติกรรมเสี่ยงของตัวเอง เดิมสังสรรค์กันเป็นแก็งค์ ต่อมาก็ลดจำนวนเหลือ 2-3 คน หยุดสังสรรค์ไม่ได้ หยุด
แอลกอฮอลล์ สุดท้ายก็ไม่รอด ทั้งที่ให้เวิร์คฟอร์มโฮม(WFH )ไม่ไปที่ชุมชน ไม่ต้องไปตลาดหรือติดต่อกับใครมากหน้าหลายตา แต่เพื่อนที่มาบ้านเพราะชอบสังสรรค์เหมือนกัน และท้ายสุดนำเชื้อสู่ครอบครัว ลูกเล็กเด็กแดงพ่อแม่ ลูก ผัวเมีย ก็พากันติดทั้งบ้าน
บางท่านให้WFH แต่มีความต้องการ(อะไรไม่รู้) หยุดงานประจำไปทำงานพิเศษ ร้านอาหารก็ยังเปิด รับเล่นดนตรี 3ทุ่มก็เอา เพราะเป็นร้านเพื่อน สุดท้ายเป็นผู้เสี่ยงสูงเพราะมีการติดเชื้อภายในร้าน ถามว่าWFHของคุณคืออะไร นี้คือตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการคิดของ
พวกเรา
ตอนนี้ชัดเจน ระยะเวลาการติดเชื้อรวมถึงอาการที่ทรุดลงอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาสั้นมากๆๆอาจแค่ 2 วัน คนที่เสียชีวิตคือคนอายุน้อยลงมากๆ มีปัญหาสุขภาพ คือพวกที่เป็นโรคอ้วน สุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัว
ถ้าวันนี้มาตรการต่างๆไม่ได้ผล เราทุกคนอาจต้องเผชิญความตาย
ไม่ต้องโทษใคร ต้องโทษตัวเราเองที่ไปติดเชื้อ จะด้วยสาเหตุอะไร ยุติธรรมหรือไม่ ทำไมต้องเป็นตัวเรา จะเรียกร้องอะไรคงยาก
เศรษฐีก็อาจต้องมาร้องไห้ ขอความช่วยเหลือไม่ต่างกับยาจกในวันที่ไม่สามารถรักษาชีวิตของตัวเองหรือคนที่รักได้
คนที่ติดเชื้อระลอกแรก อาจช่วยสร้างบทเรียนให้กับพวกเขาหลายอย่าง เช่นระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าคนอื่น รวมถึงรู้วิธีที่จะป้องกันตัวเองและครอบครัวได้ชัดเจนกว่ากลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์ บางคนอาจได้เรียนรู้หลายๆอย่าง เช่น ใครเป็นมิตรแท้พึ่งได้ หรือพึ่งไม่ได้
ภาพจากไทยpptv.com
บทพิสูจน์คนที่รอด คือคนที่ธรรมชาติเลือกให้อยู่ต่อ ตั้งสติ มีวิจารณญาณการวิเคราะห์หาช่องทางในการดำเนินชีวิตให้รอดให้ได้
ต่อไป อย่าท้อหรือวิตกเกินไป ไม่ถึงที่ตายไม่วายชีวาวาด แต่ถ้าจะต้องตาย ป้องกันที่ว่าดีก็อาจไม่รอด แค่จำไว้ 3 คำ "อย่าประมาท"
ภาพจาก YouTube.com you
สรุปได้ว่า อุปสงค์ กับ อุปทาน ที่ไม่เท่ากัน อาจสร้างปรากฏการณ์
นิวนอลมอล(New Normal ) การเอาตัวรอดแบบไทยๆในยุคโควิด อาจมีอะไรดีๆเกิดขึ้นก็ได้ใครจะรู้
มีพร้อมทุกอย่างแล้วใช่มั้ย
หน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักอาจต้องรัดคิวคนที่อาการน้อยกว่าและเพราะเป็นโรคระบาด
ศ.บ.ค.
ทางลัดเข้าสู่การรักษา เตียงที่พร้อมสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักจริง ต้องมีเพื่อความอุ่นใจ
hospitelที่ต้องมีผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ(ไม่ใช่ใครก็ได้ที่อาจมาแบบความพร้อมครึ่งๆกลางๆไม่มี มืออาชีพ จ้างบุคลากรที่เหมาะสม ระบบป้องกันเชื้อที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือขึ้นตอน อุปกรณ์ที่ตัวใครตัวมัน
สรุป คือ ทุกคนต้องผนึกกำลังต้านโควิดในครั้งด้วยกัน ผู้ที่ทำงานเสี่ยงภัยต้องมีหลักประกันที่จะไม่ถูกทอดทิ้ง รวมถึงเมื่อต้องกลายเป็นผู้ป่วยก็ต้องมีผู้รับผิดชอบให้บุคลากรกลุ่มนี้ เพราะบุคคลากรเหล่านี้อาจเป็นเพียงพวกที่ถูกจ้างมาเฉพาะกิจ ค่าจ้างที่น้อยนิดเพื่อชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ถ้าใจไม่รักคงไม่มาทำ เพราะไม่จำเป็นคงไม่เลือกทำ ก็ต้องปกป้องชีวิตเขาอย่างเต็มที่เช่นกัน
# อย่าให้ใบไม้ที่ปลิดปลิวไปทับถมขาดคนดูแล กลายเป็นคลัสเตอร์ที่ทำลายระบบ คัดกรองตัวเองดีๆด้วย
#อย่าประมาท
#ต้องเอาให้อยู่
ขอบคุณภาพจาก
ข่าวคมชัดลึกออนไลน์
ข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์
ข่าวกระปุก.คอม
reference
โฆษณา