24 เม.ย. 2021 เวลา 10:08 • สุขภาพ
ข้อเสนอจากประชาชนคนหนึ่ง
3
ในภาวะจำเป็นเร่งด่วน จากสถานการณ์การระบาดของโควิดระลอกสาม ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างชัดเจนนั้น มีสาเหตุมาจากปัจจัยสำคัญดังนี้
1) ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ มีความสามารถในการแพร่เชื้อได้รวดเร็วและกว้างขวางขึ้น มากถึง 70%
2) พฤติกรรมการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้ติดเชื้อเริ่มต้นในระลอกนี้ เป็นผู้ที่เดินทางไปตามที่ต่างๆและนำเชื้อไปแพร่ได้มากกว่าในสองระลอกแรก
1
จากเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น จึงส่งผลให้เกิด
1) จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่อวัน เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด มีนัยสำคัญ (วันนี้ 2,839 ราย)
2) จำนวนผู้ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เพิ่มขึ้นอย่างมาก ( วันนี้ 22,327 ราย)
1
3) จำนวนผู้ป่วยหนัก (วันนี้ 418 ราย) และผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ( วันนี้ 113 ราย ) มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
1
4) จำนวนผู้เสียชีวิต จะเริ่มทยอยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เหตุจากจำนวนเตียงผู้ป่วยหนักและเครื่องช่วยหายใจเริ่มที่จะมีไม่เพียงพอ
6
จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด ในหลากหลายประเทศทั่วโลก จะมีวิธีการออกมาตรการเบาไปหาหนักที่แตกต่างกัน และก็จะมีเหตุผลในแต่ละช่วงเวลา ในแต่ละสถานการณ์ แตกต่างกันออกไป
6
ของประเทศไทยเอง สถานการณ์ของโรคโควิด ประกอบด้วยการระบาดสามระลอก คือ
4
ระลอกแรก ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 มีจุดเริ่มต้นจากสถานบันเทิงทองหล่อและสนามมวยลุมพินี ประเทศไทยตัดสินใจใช้มาตรการเข้มข้นรวดเร็วทันท่วงที จึงคุมการระบาดได้ใน 59 วัน มีผู้ติดเชื้อประมาณ 4000 ราย และเสียชีวิต 60 ราย
5
มาตรการที่ใช้ดังกล่าว เป็นมาตรการมิติสาธารณสุขที่เข้มงวดเข้มข้นมาก จึงคุมจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตได้ดี
2
แต่มีผลกระทบมิติทางเศรษฐกิจที่รุนแรงและกว้างขวาง ซึ่งก็ทำให้เรื่องยุติลงได้ และมีโอกาสผ่อนคลายในเรื่องวิถีชีวิตและการทำมาหากินได้บ้างในระดับหนึ่ง แม้จะไม่เท่าเดิม
ระลอกที่สอง ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2564 เริ่มที่ตลาดกลางค้ากุ้งมหาชัย รัฐตัดสินใจใช้มิติที่ไม่เข้มข้นเข้มงวดเท่าระลอกแรก ที่เรียกว่า มาตรการผ่อนหนักผ่อนเบา
2
เพื่อลดผลกระทบทางด้านมิติเศรษฐกิจ ให้เบากว่าระลอกแรก และยอมรับผลกระทบทางมิติสาธารณสุขที่จะมีเพิ่มขึ้น
และผลกระทบก็ปรากฏว่า มีการติดเชื้อเพิ่ม(ช่วงระบาดมาก) จาก 59 วัน เพิ่มเป็นประมาณ 100 วัน และผู้ติดเชื้อเพิ่มจาก 4000 คนเป็น 20,000 คนเศษ แต่ระบบสาธารณสุขไทยก็พอรองรับได้
1
ระลอกที่สาม รัฐใช้มาตรการทำนองเดียวกับระลอกที่สอง ซึ่งเคยได้ผลดีมาก่อน โดยหวังว่าจะได้ผลแบบเดียวกันคือ สาธารณสุขต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะไม่มากนัก พอที่จะเยียวยายอมรับกันไปได้
2
แต่ในระลอกที่สามนี้ มีเหตุปัจจัยสองประการที่ทำให้มาตรการที่เคยได้ผลในระลอกสอง ไม่สามารถจะได้ผลดังเดิมได้แก่
3
1) ไวรัสเป็นคนละชนิดกัน ไวรัสในระลอกสาม แพร่ได้รวดเร็วและกว้างขวางกว่าเดิมถึง 70% คือไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ
2
2) ประชาชนผู้ติดเชื้อในระยะแรกที่มาจากกลุ่มสถานบันเทิง ได้นำเชื้อแพร่ออกไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว จนการติดตามสอบสวนโรค ไม่สามารถทำได้ครบถ้วนสมบูรณ์ จึงมีการแพร่เชื้อต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
5
ประสบการณ์ การออกมาตรการต่างๆในต่างประเทศ กล่าวเฉพาะกรณีของฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งมีขนาดประเทศและพลเมืองใกล้เคียงกับประเทศไทย
1
ก็พบว่ามีการระบาดหลายระลอกเช่นกัน และรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ก็ประสบปัญหาในการตัดสินใจ เลือกใช้มาตรการเบาไปหาหนักเช่นกัน เช่นเดียวกันกับประเทศไทย
1
ในที่สุดผู้นำทั้งสองประเทศ ก็ได้ตัดสินใจใช้มาตรการผ่อนหนักผ่อนเบา เพราะกังวลผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และหวังว่าจะคุมสถานการณ์ทางมิติสาธารณสุขไว้ได้
แต่ไวรัสเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน เกินกว่าจะเข้าใจหรือคาดเดาในระบบความคิดตรงไปตรงมา
ประกอบกับเจอไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ร่วมกับประชาชนซึ่งรัฐบาลไม่สามารถจะขอความร่วมมือหรือสั่งการได้ทุกคนครบถ้วน
5
จึงเกิดการแพร่กระจายของเชื้ออย่างรุนแรง สุดท้ายมีผู้ติดเชื้อนับล้านคน และมีผู้เสียชีวิตนับแสนคน
3
สุดท้าย ก็ต้องย้อนกลับมาใช้มาตรการเข้มข้นสูงสุดคือ การล็อกดาวน์เมืองหลวง หรือล็อกดาวน์ทั้งประเทศ
5
การตัดสินใจออกมาตรการ ให้มีความเหมาะสมและเกิดดุลยภาพ ทั้งมิติเศรษฐกิจและมิติสาธารณสุข นับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก และต้องใช้พลังความคิดและพลังการทำงานอย่างสูงยิ่ง สมควรได้รับความเห็นใจและให้กำลังใจ
6
แต่อย่างไรก็ตาม ในการระบาดระลอกสามนี้ มาตรการต่างๆได้ออกมา โดยให้โอกาสและให้ความเห็นอกเห็นใจมิติทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ทำให้มิติทางสาธารณสุขได้รับผลกระทบทางลบที่เข้ามาอย่างมากมาย
4
แต่เมื่อมาถึงวันนี้ ถึงจุดที่ปรากฏชัดเจนแล้วว่า มิติทางสาธารณสุข ซึ่งเสียสละรับผล
กระทบทางลบมาโดยตลอด เพื่อให้มิติทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบน้อยลงหรือน้อยกว่านั้น
2
ปรากฏว่าไม่สามารถจะรองรับสถานการณ์ต่อไปได้อีกแล้ว (รับมือได้อีกเพียง 2-3 สัปดาห์) เมื่อระบบสาธารณสุขรองรับได้ไม่เต็มที่ การเจ็บป่วยการเสียชีวิตจะเกิดขึ้นอย่างมากแบบก้าวกระโดด
5
ที่สำคัญมากคือ ชีวิตจะไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ แตกต่างกับเศรษฐกิจที่เสียหายแล้ว ยังมีโอกาสที่จะฟื้นกลับขึ้นมา(แม้จะยากลำบากและต้องใช้เวลาก็ตาม)
15
ตลอดจนเมื่อมิติทางด้านสาธารณสุขรองรับไม่ไหว มีการติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สุดท้ายก็จะประสบปัญหาต้องออกมาตรการเข้มงวดสูงสุด
1
ซึ่งจะกระทบมิติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้มิติทางเศรษฐกิจอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงยิ่งกว่าและยาวนานกว่า กรณีออกมาตรการเข้มงวดและกระทบมิติเศรษฐกิจเสียตั้งแต่ต้นมือ
3
ดังนั้นเพื่อให้โอกาสมิติทางด้านเศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นโดยเร็วในภายหลัง จึงต้องตัดสินใจ ออกมาตรการที่กระทบมิติทางเศรษฐกิจเสียในตอนนี้ เพื่อให้มิติทางด้านสาธารณสุขรองรับสำเร็จ ไม่ให้เกิดการระบาดใหญ่ จะได้ไม่ต้องทำให้เกิดการล็อกดาวน์เข้มงวดสูงสุดทั้งประเทศ กินระยะเวลายาวนานหลายเดือน ซึ่งแม้จะทำในตอนนั้นแล้ว ผลของการควบคุมมิติทางสาธารณสุขก็อาจจะได้ไม่เต็มที่ ไม่ได้ผลเหมือนกับตัดสินใจทำเสียแต่บัดนี้
7
การตัดไฟแต่ต้นลม
การหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
5
จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรม ที่อยู่บนข้อมูลที่ครบถ้วน ตลอดจนเข้าใจผลกระทบต่อทุกมิติในสังคม และเมื่อพบว่าสถานการณ์ปัจจุบัน มีความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
4
ก็จะต้องยกระดับมาตรการต่างๆดังกล่าว ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ตลอดจนธุรกิจเอกชนขนาดเล็กขนาดกลางทางด้านมิติเศรษฐกิจ
1
จะต้องวางแผน ออกแบบระบบที่จะเยียวยาอย่างสมเหตุสมผล ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด
2
ตลอดจนมีการสื่อสารที่จริงใจ เข้าใจง่าย มีตรรกะที่ทำให้ทุกคนยอมรับได้
6
เพราะเมื่อเกิดโรคระบาดที่รุนแรงแบบนี้ ทุกประเทศทั่วโลกจะอยู่ในสถานการณ์เดียวกันคือ ทุกฝ่ายทุกคนในสังคมจะได้รับผลกระทบทางลบด้วยกันทั้งสิ้น จึงไม่สามารถจะมองแต่ผลกระทบทางลบที่ตนเองได้รับเป็นรายปัจเจกได้
2
ต้องมองผลกระทบในภาพรวม มองในระยะยาว เพื่อให้เหตุการณ์วิกฤตผ่านพ้นไปให้ได้ โดยสูญเสียให้น้อยที่สุด
1
หลังจากนั้นจึงกลับมาร่วมแรงร่วมใจ จับมือกันพัฒนาเยียวยาฟื้นฟูประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
2
ข้อเสนอแนะในเบื้องต้นขณะนี้คือ
1) มาตรการที่จะหยุดหรือชะลอผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างมีนัยสำคัญคือ การประกาศล็อกดาวน์หรือประกาศเคอร์ฟิว ที่มีความแตกต่างเหมาะสมตามเขตพื้นที่ กล่าวคือ
 
1.1) ในเขตพื้นที่ ที่มีการติดเชื้อสูง คุมตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่อยู่ ระบบสาธารณสุขกำลังจะรับมือไม่ไหว ให้ประกาศล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิวเต็มรูปแบบ
4
1.2) ในเขตพื้นที่รองลงไป ให้ประกาศล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิวที่มีความเข้มข้นน้อยลงไป ตามความเหมาะสมและจำเป็น
2
1.3) อาจมีพื้นที่บางพื้นที่ ในระดับอำเภอและจังหวัด ไม่จำเป็นต้องประกาศล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิว
2
2) การรองรับผู้ติดเชื้อด้วยมาตรการเชิงรุกแบบบูรณาการ หลังจากออกมาตรการแล้ว ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไปอีกอย่างน้อย 7-14 วัน(ตามระยะฟักตัว) ทั้งในโรงพยาบาลหลักที่จะดูแลผู้ป่วยอาการปานกลางและอาการหนัก ตลอดจนโรงพยาบาลสนามที่จะดูผู้ติดเชื้ออาการเล็กน้อย (ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้เตรียมการไว้อย่างดีแล้ว)
7
3) มาตรการเชิงรุกในระยะปานกลาง จะต้องเร่งนำเข้าวัคซีน และกระจายวัคซีน เพื่อฉีดให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็วที่สุด (ซึ่งขณะนี้ก็ทยอยมีข่าวดี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ หรือวัคซีนของสหพันธรัฐรัสเซีย ที่จะเข้ามาอีก 10-20 ล้านโดส เพิ่มจากที่มีโควต้าอยู่แล้ว 63 ล้านโดส)
3
4) เร่งทำความเข้าใจ ทำการสื่อสารกับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มเติมจากที่ทำอยู่แล้ว และสร้างจิตสำนึกสาธารณะร่วมกันว่า ทุกคนได้รับผลกระทบหมด เพียงแต่จะต้องช่วยกันให้ประเทศเดินหน้าต่อไปให้ได้
1
จึงขอเรียกร้องและวิงวอนมายังผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้กรุณาพิจารณาดำเนินการ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ที่อยู่บนประโยชน์สาธารณะของทุกฝ่ายเป็นหลักต่อไปด้วยครับ
1
โฆษณา