24 เม.ย. 2021 เวลา 14:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ไม่ได้เรียบจบสายคอมพิวเตอร์ แต่อยากทำงานสายโปรแกรมเมอร์ ต้องทำยังไงบ้าง
coding
ในยุคที่หลาย ๆ องค์กรต้องการนักพัฒนาและโปรแกรมเมอร์เป็นจำนวนมากนั้น ทำให้สายงานนี้โดดเด่นขึ้นมามากทั้งเรื่องของเงินเดือนและตำแหน่งงาน ถ้าหากเราไม่ได้เรียนจบสายคอมพิวเตอร์แต่อยากทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาต้องเริ่มเรียนอย่างไรกันบ้านไปดูกัน
1. Computer Fundamental การศึกษาการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มเรียนดเขียนโปรแกรมนั้นสิ่งแรกที่ควรศึกษาคือการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ว่าคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบอะไร มีการทำงานพื้นฐานอย่างไร ซึ่งจะทำให้เราเริ่มรู้จักและเข้าใจได้มากขึ้น
สิ่งที่เรียน : พื้นฐานคอมพิวเตอร์ , ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ภาษา : -
ความยาก : 3/10
2. Data Structure and Algorithms วิชาแรก ๆ ที่ควรจะเรียนหลังจากที่เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์แล้วก็คือวิชา โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม เป็นวิชาพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมที่เราจะช่วยให้เรารู้จักโครงสร้างข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้งานการพัฒนา Software ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก ๆ ในการต่อยอดในอนาคต
สิ่งที่เรียน : โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม , พื้นฐานการเขียนโปรแกรม
ภาษา : C , Python
ความยาก : 7/10
1
3. Problem Solving Programming มาถึงจุดที่วัดกันแล้วว่าเราเหมาะสมที่จะไปต่อทางด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่ นั่นก็คือวิชาการแก้ปัญหาด้วยโปรแกรมมิ่ง วิชานี้จะสอนให้เราแก้โจทย์ทางคณิตศาสตร์และโจทย์การเขียนโปรแกรม ด้วยการเขียนโค๊ดที่ออกแบบให้แก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งวิชานี้ต้องอาศัยความคิดในเชิงตรรกะที่สูงมากในการแก้โจทย์แต่ละข้อ
สิ่งที่เรียน : การแก้ปัญหาด้วยโปรแกรม . การออกแบบการแก้ปัญหา
ภาษา : C , Python , JAVA
ความยาก : 9/10
จบไปแล้วสำหรับ 3 วิชาพื้นฐานสำหรับการเขียนโปรแกรม ถ้าคุณผ่านสามวิชานี้ไปได้แล้ว ยินดีด้วยคุณคือ Coder ที่สามารถเขียนโค๊ดเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้แล้ว
1
ต่อไปจะเป็นการเรียนวิชาต่าง ๆ ที่เฉพาะเจาจงมากขึ้นซึ่งวิชาเหล่านี้เป็นพื้นฐานการพัฒนา Software ยุคปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูต่อกันเลย
Programming
5. Functional Programming การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน วิชานี้จะเริ่มเป็นการเขียนโปรแกรมในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เรานั้นสามารถออกแบบการเขียนโปรแกรมให้ง่ายต่อการพัฒนาต่อและทำให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพสูง
สิ่งที่เรียน : การเขียนฟังก์ชัน , การออกแบบฟังก์ชันเรียกตัวเอง
ภาษา : C , Python , JAVA
ความยาก : 7/10
6. Object-Oriented Programming การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ สุดยอดวิชาพื้นที่ในการสร้าง Software วิชานี้สอนให้เราเข้าใจการเขียนโปรแกรมในรูปแบบที่เขียนโค๊ดให้น้อย แต่ทำงานได้เยอะ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการพัฒนา Software ยุคใหม่
สิ่งที่เรียน : การสร้างคลาสและอ็อปเจ็ค , การอิมพลีเมนต์คลาสและอ็อปเจ็ค
ภาษา : Python , JAVA , JavaScript
ความยาก : 10/10
7.Database System วิชานี้คือวิชาระบบฐานข้อมูล วิชานี้จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ทั้งฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์และฐานข้อมูลแบบไม่มีความสัมพันธ์ ซึ่งมีความสำคัญมากในการพัฒนา Software
สิ่งที่เรียน : การจัดการฐานข้อมูล , การเชื่อมต่อฐานข้อมูล
ภาษา : SQL
ความยาก : 6/10
1
8. System Analysis and Design วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ หนึ่งในวิชาทำมาหากินของเหล่านักพัฒนาทั้งหลาย วิชานี้จะช่วยให้เราวิเคราะห์และออกแบบระบบให้ตรงกับความต้องการในภาคธุรกิจหากเข้าใจวิชานี้อย่างถ่องแท้การวามารถเป็นนักวิเคราะห์และพัฒนาระบบได้แล้ว
สิ่งที่เรียน : การวิเคราะห์ระบบ , การออกแบบระบบ
ภาษา : UML (หรืออื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละคอร์สเรียน ซึ่งหลากหลายมาก)
ความยาก : 8/10
จบไปแล้วสำหรับวิชาเรียนที่เกี่ยวกับการพัฒนา Software ในยุคนี้หากท่านเรียนจบทั้งหมดนี้ ยินดีด้วยท่านคือ โปรแกรมเมอร์และนักพัฒนา ที่สามารถตอบโจทย์ภาคธุรกิจได้แล้ว
กลุ่มวิชาต่อไปคือการต่อยอดความถนัดไปแต่ละสายงานถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย (วิชาในกลุ่มนี้จะไม่เรียนลำดับนะครับ เลือกศึกษาต่อตามใจได้เลย)
Team
- Web Application Development การพัฒนาเว็บไซต์ วิชานี้จะสอนให้คุณรู้จักการเขียนเว็ยไซต์ต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นด้วยมือเปล่าไปจนถึงใช้เฟรมเวิร์คในการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
สิ่งที่เรียน : การพัฒนาเว็บไซต์ , การทำงานของเว็บไซต์
ภาษา : HTML , JavaScript , PHP และ อื่น ๆ
เครื่องมือ : Lavavel , Vue , Angular , React และอื่น ๆ
- Mobile Application Department วิชาการพัฒนาโมบาย์แอพพลิเคชั่น วิชานี้จะทำให้เราสามารถเขียนแอพมือถือได้ทั้งแอนดรอยทั้งไอโอเอส สามารถเลือก เรียนกันได้เลย
สิ่งที่เรียน : การพัฒนาแอพพลิเคชั่นมือถือ
ภาษา : JAVA, Kotlin, Switf, Flutter
เครื่องมือ : Android Studio , Xcode
2
- วิชาทางเลือกอื่น ๆ ก็สามารถเรียนได้เช่นกันโดยวิช่เรียนเหล่านี้จะเป็นการประยุคศาสตร์ของการเขียนโปรแกรมเข้ากับศาสตร์อื่น ๆ เช่น
ถ้าถนัดการเขียนโปรแกรมและสถิติ ก็จะแนะนำวิชาทาง Data Science
ถ้าถนัดการเขียนโปรแกรมและหุ่นยนต์ ก็จะไปต่อทาง Robotic
ถ้าถนัดการเขียนโปรแกรมและระบบไฟฟ้าสื่อสาร ก็เรียนต่อ Computer Networks
ทั้งนี้แล้วในโลกของการเขียนโปรแกรมนั้นกว้างใหญ่มาก ผมเคยเปรียบเทียบโลกของการเขียนโปรแกรมและยุทธจักรไว้ในบทความนี้
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านในยุคโควิดนี้ขอบคุณครับ
1
โฆษณา